Business

กรณีศึกษา!! ‘หุ้น BAM’ โอกาสเติบโตในยุคหนี้ท่วม

กรณีศึกษาหุ้น BAM โอกาสเติบโตในยุคหนี้ท่วม ที่มาพร้อมกับจุดเด่น  ทั้งความสามารถในการทำกำไร และโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน

แม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 อาจคลี่คลายลง แต่ปัญหาหนี้สินยังเป็นเรื่อง ที่น่าเป็นห่วงอย่างมากต่อเศรษฐกิจไทยต่อจากนี้ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คาดการณ์ว่าในปี 2564 หนี้ครัวเรือน และหนี้เสียบุคคลธรรมดา มีโอกาสพุ่งสูงสุดในประวัติศาสตร์ หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 116.90% ต่อ GDP 

แต่ภายใต้วิกฤติแบบนี้ กลับมีหนึ่งธุรกิจที่ดูเหมือนจะ ได้ประโยชน์จากจำนวนหนี้เสีย (NPL) ที่พุ่งสูงขึ้น นั่นก็คือ กลุ่ม “บริหารสินทรัพย์” นั่นเอง ซึ่งมีโมเดลธุรกิจเป็นการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพต่างๆ มาบริหารจัดการ ต่อเพื่อทำกำไรในอนาคต เพราะว่าเมื่อมีหนี้ออกสู่ตลาดมากขึ้น ก็ยิ่งเป็นโอกาสที่ธุรกิจเหล่านี้ จะสามารถรับซื้อหนี้ในราคาที่มีส่วนลด นอกจากนี้ ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ยังจัดเป็นหุ้น ที่มีความปลอดภัย ได้รับผลดีทั้งในช่วงเศรษฐกิจขาลงและขาขึ้น

หุ้น BAM

ปัจจุบันมี หุ้นกลุ่มบริหารสินทรัพย์ จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วยกัน 3 ตัว ได้แก่ หุ้น BAM, หุ้น JMT และหุ้น CHAYO แต่ในวันนี้เราจะมาพาเจาะธุรกิจของ BAM ซึ่งเป็นเจ้าตลาดที่มีขนาด Market Cap. ใหญ่ที่สุดเกือบ 80,000 ล้านบาท 

เจาะธุรกิจ BAM

BAM หรือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และทรัพย์สินรอการขาย ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ด้วยส่วนแบ่งการตลาดกว่า 40% โดย BAM แบ่งธุรกิจหลักออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) 

เป็นการรับซื้อหนี้เสียจากลูกหนี้ที่ผ่อนไม่ไหว แล้วนำมาปรับมาปรับโครงสร้างหนี้ หรือขายทอดตลาด เพื่อทำกำไรทางธุรกิจ

2. บริหารจัดการสินทรัพย์รอการขาย (NPA) 

เป็นการเข้าไปช่วยฟื้นฟูสินทรัพย์ ที่มีศักยภาพที่มีโอกาสพัฒนาต่อได้ เช่น ที่ดินเปล่า อาทคารพาณิชย์ ที่อยู่อาศัย เพื่อรองรับควาต้องการของตลาดในอนาคต

ข้อมูล ณ ปี 2562 BAM มีสัดส่วนธุรกิจ NPL อยู่ที่ 73.3% และเป็นธุรกิจ NPA อยู่ที่ 26.5% ทั้งนี้ BAM จะซื้อหนี้ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าประเมินราว 40-50% และเน้นสินทรัพย์ที่มีหลักค้ำหลักประกันในสัดส่วนสูงถึง 95% ทำให้ BAM สามารถนำสินทรัพย์ไปขายทอดตลาด หรือนำมาพัฒนาต่อเพื่อสร้างกำไรที่สูงได้

บสก1

 

จุดเด่นของ BAM

1. ความสามารถในการทำกำไร

จะเห็นได้ว่าหนี้เสียที่ BAM ซื้อมานั้น มีต้นทุนต่ำมากเมื่อเทียบกับราคาประเมิน จึงเป็นโอกาสที่บริษัทจะทำกำไรจากส่วนต่างได้ง่าย โดยผลประกอบการปี 2562 BAM มีรายได้ 12,256 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.05% และมีกำไรสุทธิ 6,549 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.90% 

คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิสูงถึง 53.43% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมากๆ เมื่อกับอุตสาหกรรมอื่นๆ หรือคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันอย่างเช่น JMT ที่ทำได้ 26.99% และ CHAYO ที่ทำได้ 32.03%

2. โอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน

แม้ BAM จะแปลงสภาพเข้าตลาดหุ้น เป็นบริษัทมหาชนเต็มตัวแล้ว ต่การที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ถือหุ้นใหญ่อยู่ 45.79% ก็เป็นข้อได้เปรียบทำให้ BAM เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายและหลากหลายกว่าคู่แข่ง 

บสก2

นอกจากนี้ BAM มีอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ในระดับต่ำที่ 2.26 เท่า ทำให้บริษัทยังสามารถก่อหนี้เพิ่มเติมได้อีก เนื่องจากยังต่ำกว่าข้อกำหนดในสัญญาหุ้นกู้ที่กำหนดไว้ที่ 2.5 เท่า ซึ่งในธุรกิจบริหารสินทรัพย์ ยิ่งมีเงินทุนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นโอกาสสร้างการเติบโตในอนาคตได้มากเท่านั้น

อย่างไรก็ดี ช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้น BAM ก็ได้รับผลกระทบจากความเชื่อมั่นเช่นกัน โดยลงไปทำราคาต่ำสุดที่ 15.60 บาทในเดือนมีนาคม 2563 แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของโควิด-19 แต่อีกส่วนก็มีการมองกันว่ากำไรของบริษัทปีนี้ น่าจะยังไม่ได้โตโดดเด่นนั่นเอง 

แม้ปัจจุบันหุ้น BAM จะฟื้นจากจุดต่ำสุดมาแล้ว โดยวิ่งในช่วง 21 – 24 บาทตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา แต่ก็ถือว่ายัง Laggard จากกลุ่มอยู่มาก และยังมี Upside อีกพอสมควรเมื่อเทียบกับ ราคาเป้าหมายเฉลี่ยปี 2563 ของ IAA Consensus ที่ระดับ 30 บาท  นักลงทุนก็ต้องชั่งน้ำหนักดูว่าจะกล้าเข้าลงทุน เพื่อรอเวลารับผลประโยชน์ได้ไหม โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดเต็มไปด้วยข่าวร้ายแบบนี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo