Politics

เปิดคำสั่งศาลปกครองสูงสุด! จบมหากาพย์ ‘โฮปเวลล์’ เตรียมจ่ายค่าโง่

เปิดคำสั่งศาล ปกครองสูงสุดฉบับเต็ม! จบมหากาพย์ “โฮปเวลล์” เตรียมจ่ายค่าโง่ 2.5 หมื่นล้านบาท ให้กับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด

เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2563 ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้น ไม่รับคำฟ้องของกระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ยื่นขอให้รื้อคดี ที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้ “กระทรวงคมนาคม” และ “รฟท.” ต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาด ของอนุญาโตตุลาการที่ให้ทั้งสองหน่วยงาน ต้องคืนเงินค่าตอบแทนที่ที่ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด ชำระและใช้เงินในการก่อสร้าง โครงการพร้อมดอกเบี้ยเกือบ 2.5 หมื่นล้านบาทให้กับ บริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด

เปิดคำสั่งศาล

เปิดคำสั่งศาล ปกครองสูงสุด ระบุ เหตุผลว่า ที่ “กระทรวงคมนาคม” และ “รฟท.” อ้างว่า ศาลปกครองสูงสูดฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดคลาดเคลื่อน ในประเด็นเกี่ยวกับระยะเวลา ในการเสนอข้อพิพาทและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนั้น เห็นว่า การกำหนดประเด็นแห่งคดี และปัญหาทั้งหลายที่ต้องวินิจฉัย ตลอดจนการวินิจฉัยปัญหา เกี่ยวกับระยะเวลาในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามที่อ้างนั้น ล้วนแต่เป็นการใช้ดุลยพินิจของศาล ในการกำหนดประเด็นแห่งคดีและวินิจฉัยปัญหาตามรูปเรื่องข้อเท็จจริงแห่งคดี

ข้ออ้างดังกล่าว จึงมีลักษณะโต้แย้งดุลยพินิจ ในการพิจารณาพิพากษาของศาล ไม่ใช่เป็นกรณีที่ศาลฟังข้อเท็จจริงผิดพลาด หรือทำการให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดี กลายเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณา ที่มีข้อบกพร่องสำคัญ ที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม

ส่วนที่อ้างว่า การที่ศาลปกครองสูงสุด ไม่ย้อนสำนวนให้ศาลปกครองชั้นต้น พิจารณาในเนื้อหาแห่งคดี ถือเป็นข้อบกพร่องสำคัญในการกระบวนการพิจารณาพิพากษา ที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรมนั้น เห็นว่า ที่กำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาอุทธรณ์คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น โดยศาลปกครองสูงสุด ไม่ใช่บทบังคับเด็ดขาด ที่ให้ศาลปกครองสูงสุด ต้องมีคำสั่งยกคำพิพากษา หรือ คำสั่งของศาลปกครองชั้นต้น ที่ไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายว่า ด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองแล้วส่งสำนวนคืน ไปยังศาลปกครองชั้นต้น เพื่อให้พิพากษา หรือ มีคำสั่งใหม่ทุกกรณี แต่ให้เป็นดุลพินิจของศาลปกครองสูงสุดตามที่เห็นว่า มีเหตุสมควรเท่านั้น จึงจะให้ส่งสำนวนคืนไปที่ศาลปกครองชั้นต้น เพื่อให้พิพากษาหรือมีคำสั่งใหม่

เมื่อคำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขแดงที่ อ.221-223/2562 ศาลเห็นว่า ก่อนที่ศาลปกครองชั้นต้น มีคำพิพากษา ได้ดำเนินการในชั้นการแสวงหาข้อเท็จจริงโดยคู่กรณีได้ทราบข้อเท็จจริงและชี้แจงโต้แย้งแล้ว คดีจึงมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลปกครองสูงสุดจะพิจารณาพิพากษาหรือชี้ขาดคดีต่อไปได้

จึงเป็นกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดใช้ดุลยพินิจเห็นว่า ไม่มีเหตุสมควรที่จะส่งสำนวนคดีคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้น ดังนั้นการที่ศาลปกครองสูงสุดไม่ส่งสำนวนคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้น เพื่อให้พิจารณาประเด็นแห่งคดีใหม่ จึงไม่ใช่ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการดำเนินกระบวนการพิจารณา ที่จะถือว่า เป็นข้อบกพร่องสำคัญ ในกระบวนการพิจารณาพิพากษา ที่ทำให้ผลของคดีไม่มีความยุติธรรม

สำหรับประเด็นที่อ้างว่า พบพยานหลักฐานใหม่ว่า บริษัท โฮปเวลล์ ในขณะเข้าทำสัญญา เป็นการดำเนินการของบุคคลต่างด้าว ที่ฝ่าฝืนประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 เห็นว่า ไม่ว่าข้อเท็จจริง เกี่ยวกับความสามารถ หรือ คุณสมบัติของ บริษัท โฮปเวลล์ ตามหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล หรือ การเข้าประกอบกิจการ ก่อนที่จะได้รับหนังสือรับรองจากอธิบดีกรมทะเบียนการค้าในขณะนั้น จะเป็นจริงดังที่อ้างหรือไม่ก็ตาม แต่เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่ ตั้งแต่ขณะเข้าทำสัญญา ซึ่งหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล เป็นเอกสารที่ทุกคนสามารถเข้าขอตรวจสอบจากราชการได้ และหนังสือดังกล่าวก็ต้องยื่นประกอบการลงนามในสัญญา

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ได้บรรยายฟ้องว่า คณะกรรมการรฟท. มีมติให้ รฟท. มีอำนาจลงนามในสัญญา ร่วมกับกระทรวงคมนาคม และให้ บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) มีอำนาจเข้าดำเนินการก่อสร้าง พัฒนาที่ดินของ รฟท. ซึ่ง บริษัท โฮปเวลล์ โฮลดิ้ง จำกัด (ฮ่องกง) ได้จดทะเบียนจัดตั้ง บริษัทโฮปเวลล์ ( ประเทศไทย) จำกัด ขึ้นตามกฎหมายไทย กรณีดังกล่าวบ่งชี้ว่า กระทรวงคมนาคม ทราบดีว่า บริษัทโฮปเวลล์ (ประเทศไทย) มีบริษัทแม่เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศ

ข้อโต้แย้งเรื่องความสามารถ (เป็นต่างด้าว) ของ บริษัท โฮปเวลล์ ขณะเข้าสัญญา ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะปฏิวัติฯ นั้น รมว.คมนาคม ซึ่งเป็นผู้ลงนามในสัญญา เป็นบุคคลที่อยู่ร่วมใน ครม. ย่อมต้องรู้ว่า บริษัท โฮปเวลล์ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากครม.

อีกทั้ง กระทรวงคมนาคม ยอมรับในคำขอพิจารณาคดีใหม่ว่า บริษัท โฮปเวลล์ ได้รับการส่งเสริมตามกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนให้ประกอบธุรกิจ ประเภทที่กำหนดไว้ในบัญชี ค.ท้ายประกาศคณะปฏิวัติฯ และกรณีนิติบุคคลต่างด้าว จะประกอบกิจการตามที่ลงนามในสัญญา จะต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมทะเบียนการค้าก่อน จึงเป็นข้อบัญญัติกฎหมายที่ กระทรวงคมนาคม จะปฏิเสธว่าไม่รู้ไม่ได้ แต่ควรต้องตรวจสอบ เรื่องความสามารถของคู่สัญญาก่อนลงนาม

อีกทั้งร่างสัญญา จะต้องผ่านการตรวจจากกรมอัยการขณะนั้น ก่อนลงนาม การที่ กระทรวงคมนาคม และ รฟท. ไม่ตรวจสอบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และไม่เคยยกข้อเท็จจริงนี้ขึ้นต่อสู้มาก่อน ทั้งในชั้นเสนอข้อพิพาทต่อคณะอนุญาโตตุลาการ และในชั้นศาลปกครองเลย จึงเป็นความบกพร่องของ กระทรวงคมนาคม และ รฟท. เอง จึงไม่อาจถือได้ว่า ทั้งสองไม่ทราบถึงความมีอยู่ของพยานหลักฐานนั้น ในการพิจารณาคดีครั้งที่แล้วมา โดยมิใช่ความผิดของ กระทรวงคมนาคม และ รฟท. ดังนั้นเอกสารที่ทั้งสองกล่าวอ้างจึงไม่ใช่พยานหลักฐานใหม่ ที่จะทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นที่ยุติแล้วเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ”

และที่อ้างว่า ศาลปกครองชั้นต้น ไม่มีอำนาจพิจารณา หรือมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น เห็นว่า คำขอพิจารณาคดีใหม่เป็นคำฟ้องตามนัยมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 แต่โดยกฎหมายไม่ได้กำหนดว่า การยื่นขอพิจารณาคดีใหม่ ต้องยื่นศาลปกครองใด จึงต้องเป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไปว่า ด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองตามนัยข้อ 5 วรรคสอง แห่งระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการ ในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2543 ดังนั้นคำขอพิจารณาคดีใหม่ในคดีนี้ จึงอยู่ในอำนาจของศาลปกครองชั้นต้น

เปิดคำสั่งศาล เปิดคำสั่งศาล News 220720 152232 003

อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุดฉบับเต็มที่นี่

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo