Business

‘ประกันสังคม’ เปิดรายละเอียดผู้ประกันตน 3 ประเภท รวม 16 ล้านราย

“ประกันสังคม” เปิดรายละเอียดผู้ประกันตน 3 ประเภท รวม 16 ล้านคนทั่วประเทศ โดยมาตรา 33 มีมากสุดกว่า 11 ล้านราย

จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาดและสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลให้ประชาชนหันมาสนใจสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะ “ประกันสังคม” ซึ่งเป็นระบบสวัสดิการที่สำคัญของวัยทำงาน

ประกันสังคม ผู้ประกันตน

ประกันสังคม 3 ประเภท

ล่าสุด สำนักงานประกันสังคม ได้ออกมาเปิดเผย ยอดรวมผู้ประกันตนทั่วประเทศ เดือนมิถุนายน 2563 รวมอยู่ที่ 16,407,409 ราย แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  • มาตรา 33 จำนวน 11.3 ล้านคน

มาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์และอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ มีผู้ประกันตนในระบบจำนวนมากที่สุด 11,295,514 คน

ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี ดังนี้ เจ็บป่วย เสียชีวิต ว่างงาน คลอดบุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร

  • มาตรา 39 จำนวน 1.7 ล้านคน

มาตรา 39 คือ เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน โดยออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน มีผู้ประกันตนในระบบจำนวน 1,737,744 คน

โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้ เจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

  • มาตรา 40 จำนวน 3.4 ล้านคน

มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ทำอาชีพอิสระ ไม่มีนายจ้าง มีผู้ประกันตนในระบบจำนวน 3,374,151 คน

โดยผู้ประกันคนมาตรา 40 จะได้รับความคุ้มครอง 3-4-5 ขึ้นอยู่กับทางเลือก ดังนี้ เงินทดแทนการขาดรายได้ ทุพพลภาพ ชราภาพ (บำเหน็จ) สงเคราะห์ และเสียชีวิต

ประกันสังคม ผู้ประกันตน

สมทบกองทุนไม่ถึง 6 เดือน ได้เยียวยา 1.5 หมื่นบาท

ล่าสุดวันนี้ (21 ก.ค. 63) น.ศ.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. อนุมัติการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือลูกจ้างสถานประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และยังจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่ครบ 6 เดือน

สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการจ่ายเงินเยียวยา 3,000 บาท ให้ผู้มีสิทธิ์จำนวน 59,776 คน เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2563 รวม 15,000 บาท โดยจะรวบจ่ายเพียงครั้งเดียว แต่ยังไม่ได้ระบุวันเวลาการจ่ายเงินที่ชัดเจน สำหรับงบประมาณในการดำเนินโครงการนี้จะอยู่ที่ 896.64 ล้านบาท

 

คาดจ่ายเงินได้ไม่เกินเดือน

ก่อนหน้านี้ นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการใช้เงินกู้ตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท มีมติเห็นชอบโครงการจ่ายเงินเยียวยาโควิด-19 สำหรับกลุ่มผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน หรือเพิ่งตกงานในประมาณเดือนเมษายน 2563 ที่ผ่านมา จำนวนเกือบ 60,000 คน

เนื่องจากผู้ประกันตนกลุ่มนี้ ไม่ได้รับเงินทดแทนจากกองทุน ประกันสังคม ในกรณีว่างงานหรือถูกเลิกจ้าง เพราะจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ ไม่ถึง 6 เดือนตามเงื่อนไข รวมถึงไม่ได้รับเงินเยียวยาโควิด-19 จากโครงการเราไม่ทิ้งกัน

กระทรวงแรงงานจึงเสนอให้จ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท แก่ผู้ประกันตนกลุ่มนี้เป็นเวลา 3 เดือน หรือรวมแล้ว 15,000 บาทต่อคน คิดเป็นการใช้งบประมาณราว 900 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณส่วนนี้จะนำมาจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ในส่วนของแผนงานด้านสาธารณสุขและแผนงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

เมื่อที่ประชุม ครม.  เห็นชอบตามที่เสนอ กระทรวงแรงงานเสนแล้ว ก็ต้องส่งเรื่องให้สำนักงานบริหารนี้สาธารณะ (สบน.) กู้เงิน จากนั้นเสนอเรื่องให้สำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติกรอบวงเงิน และรอให้กรมบัญชีกลางโอนเงินให้ผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิ์

เบื้องต้นคาดว่า ขั้นตอนหลังจาก ครม. เห็นชอบแล้ว น่าจะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จึงสามารถโอนเงินให้ผู้มีสิทธิ์ได้

fig 24 03 2020 03 35 09

ยังไม่เคาะเติมเงินชดเชย 

สำหรับผู้ประกันตนที่มีเงินเดือนไม่ถึง 8,100 บาท ส่งผลให้ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมไม่ถึง 5,000 บาทต่อเดือน ซึ่งกระทรวงแรงงานเสนอให้รัฐบาลเติมเงินชดเชยให้ครบเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน เท่ากับโครงการเราไม่ทิ้งกันนั้น

นายลวรณกล่าวว่า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2563 คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการใช้เงินกู้ฯ ยังไม่ได้อนุมัติวงเงินส่วนนี้ และขอให้กระทรวงแรงงานกลับไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนนำกลับมาเสนออีกครั้ง

เนื่องจากกระทรวงแรงงานเสนอให้จ่ายเยียวยาแบบเหมาไปเลย คนละ 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งไม่สามารถดำเนินการได้ โดยกระทรวงแรงงานต้องแจกแจงว่า ผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม แต่ละรายได้รับชดเชยไปแล้วเท่าไหร่และต้องเติมเงินอีกเท่าไหร่ จึงจะครบ 5,000 บาทต่อเดือน เช่น บางรายได้รับเงินชดเชย 3,800 บาทต่อเดือน ภาครัฐก็จ่ายเพิ่มอีก 1,200 บาท เพื่อให้ครบ 5,000 บาท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo