Business

เว้นค่าธรรมเนียม ‘เยียวยาผู้ประกอบการ’กว่า 3 หมื่นราย รวมมูลค่ากว่า 210 ล้าน

เยียวยาผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 ครม. ไฟเขียว  ยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ ของ สมอ. รวมกว่า 3 หมื่นราย มูลค่ากว่า 210 ล้านบาท

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ล่าสุด (23 กรกฏาคม 2563) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบมาตรการ เยียวยาผู้ประกอบการ ที่ขออนุญาต มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และขอรับรองระบบงานตามมาตรฐาน ISO โดยให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม ใบอนุญาต มอก. ค่าธรรมเนียม ใบรับรองระบบงาน และค่าธรรมเนียม การตรวจสอบโรงงาน

เยียวยาผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ เป็นไปตามที่ กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอเข้า ครม. เพื่อเยียวยาผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโควิด 19 โดยสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ กว่า 30,000 ราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 210 ล้านบาท

การดำเนินการดังกล่าว ยังเกิดผลดีต่อภาคอุตสาหกรรม เพื่อรักษาขีดความสามารถ ในการแข่งขัน และพยุงภาคอุตสาหกรรม ให้มีการประกอบการ และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนลดภาระค่าใช้จ่าย ของผู้ประกอบการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน จากโควิด 19 และ การชะลอตัว ของภาคเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สำหรับมาตรการความช่วยเหลือ ภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย มาตรการยกเว้น ค่าตรวจสอบโรงงาน และ ค่าตรวจสอบ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ มาตรการผ่อนปรน การอนุญาตให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าที่ สมอ. ควบคุม เป็นการเฉพาะครั้ง มาตรการปรับเปลี่ยน ระบบการขอใบอนุญาต ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

savings 2789112 1280

พร้อมกันนี้ ได้เปิดให้บริการ ยื่นขอใบอนุญาต มอก. ทางออนไลน์ ซึ่งผู้ประกอบการ สามารถดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ได้ที่ www.tisi.go.th ทั้งการยื่นขอใบอนุญาต มอก. ผ่านระบบ e-License ที่ผู้ประกอบการ สามารถยื่นขอได้ ทุกมาตรฐาน จำนวนทั้งสิ้น 2,284 มาตรฐาน และการตรวจติดตามผล ผู้ได้รับใบอนุญาต ผ่านระบบ e-Surveillance โดยการรับรองตนเอง  แทนการออกตรวจติดตาม โดยเจ้าหน้าที่ เพื่อเพิ่มความสะดวก

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการ อำนวยความสะดวก และลดค่าใช้จ่าย ในการต่อใบอนุญาต โดยการขยายอายุใบรับรองระบบงาน จาก 3 ปี เป็น 5 ปี ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการต่อใบอนุญาต ในรอบการประเมิน รายละ 1 แสนบาท ถือเป็นการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ อีกทางหนึ่งด้วย

ด้าน นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการ สมอ. กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากนี้ สมอ. จะเริ่มดำเนินการทันที เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ที่ได้รับผลกระทบ และสร้างบรรยากาศในการลงทุน ซึ่งคาดว่าจะสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจ ให้เข้าสู่สภาวะปกติได้ในไม่ช้า โดยมาตรการดังกล่าว จะดำเนินการยกเว้น จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2564

ก่อนหน้านี้ นายสุริยะ กล่าวถึงภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักของไทย ที่ได้รับ อานิสงส์โควิด-19 ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เวชภัณฑ์และ เคมีภัณฑ์รักษาโรค และอาหาร ที่ขยายตัว ตามความต้องการ ที่เพิ่มขึ้นจากทั่วโลก

ทั้งนี้เนื่องจาก ทั้ง 3 อุตสาหกรรมหลักดังกล่าว สามารถตอบสนอง ความต้องการสินค้า ภายใต้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ประกอบกับ แนวโน้มจากการเพิ่มขึ้น ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้ทั้งสามอุตสาหกรรมหลัก สามารถขยายตัวได้เต็มที่

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo