Digital Economy

เปิดใจ รมว.ดีอีเอส ผลงานที่ภูมิใจตลอด 1 ปี ‘ควบรวม ทีโอที-กสทฯ’

รมว.ดีอีเอส พร้อมเปิดใจ การปรับ ครม. เป็นอำนาจนายกรัฐมนตรี ยินดีสานงานต่อถ้าได้รับโอกาส เผยผลงานสุดภูมิใจ ควบรวม ทีโอที-กสทฯ

นายพุทธิพงษ์ ปุณกันต์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า การ ปรับครม. เป็นอำนาจการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทรโอชา แต่ถ้าได้รับโอกาสก็ยินดีทำงานต่อไป แต่ถ้าไม่ได้อยู่ต่อ ก็ไม่รู้สึกเสียใจ โดย ผลงานที่ภูมิใจตลอด 1 ปี ควบรวม ทีโอที-กสทฯ ที่เตรียมขอขยายเวลาควบรวมอีก 6 เดือน จากโควิด-19

ควบรวม ทีโอที-กสทฯ 

“การทำงานในฐานะรัฐมนตรี ดีอีเอส ที่ผ่านมาไม่เคยโทษข้าราชการ ไม่โทษกระทรวงดีอีเอส ผมพูดเสมอว่าใช้ผมให้เป็นประโยชน์ ตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ผมประเมินตัวเองไม่ได้ “นายพุทธิพงษ์ กล่าว

สำหรับผลงานที่รู้สึกภูมิใจ ในการเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา คือ การควบรวม บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) หรือ ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ได้สำเร็จ ซึ่งภายในเดือนกรกฏาคมนี้ เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอขยายเวลาการควบรวม เพื่อจัดตั้งบริษัท NT ออกไปอีก 6 เดือน

การขยายเวลาออกไปอีก 6 เดือน เนื่องจากมีปัญหาและอุปสรรค ในช่วงที่ผ่านมาเกิดสถานการณ์โควิด การจ้างที่ปรึกษา มีบริษัทจากต่างประเทศที่ต้องเข้ามาเจรจา และมีแผนธุรกิจที่จะต้องเข้ามาวิเคราะห์ จึงไม่สามารถทำอะไรได้ และการควบรวมจะต้องแจ้งเจ้าหนี้เพื่อให้รับทราบ

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของกฏหมายซึ่งนี่เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีเรื่องของพ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจเข้ามากระบวนการต่างๆ จะต้องผ่านขั้นตอนทั้งหมด ทำให้การประชุมทั้งหมดหยุด และปัญหาด้านเทคนิค”

อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ในช่วง 6 เดือน โครงสร้างต่างๆ ของบริษัท NT ทั้งเรื่องธุรกิจ และการจัดตั้งคณะกรรมการ จะมีไทม์ไลน์ออกมาให้เห็นชัด วิธีคัดเลือกหน่วยงาน ทั้ง ทีโอที และกสทฯ มีจุดแข็งที่ต่างกัน วิธีการบริหารการจัดการ พยายามทำให้ทีโอที เป็นบริษัท แม่ เป็นโฮลดิ้ง คัมปะนี ซึ่งในอนาคตจะแยกบริษัทมีประมาณ 4-5 บริษํท เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับ ทีโอทีและกสทฯ

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงจาก บมจ.ทีโอที กล่าวว่า ในการประชุมครม.เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 มีมติให้เริ่มควบรวมให้เสร็จภายใน 6 เดือน โดยบริษัท NT จะมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งผ่านไป 6เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ก็ยังไม่สามารถจัดตั้งบริษัทได้ เนื่อง่จากติดปัญหาทั้งทีโอทีและกสทฯ ไม่อยากนำทรัพย์สินมารวมกัน

ทั้งนี้เพราะ การควบรวมทั้ง 2 บริษัท หมายถึงการรวม 2 บริษัทที่มีทรัพย์สินรายละกว่า 1.4 แสนล้านบาทเข้าด้วยกัน อีกทั้งแต่ละฝั่ง ยังมีข้อพิพาทที่มีทั้งระหว่างกัน และข้อพิพาทกับเอกชนภายนอก โดย ทีโอที เป็นจำเลยในคดีสำคัญมีมูลค่ารวมราว 3 หมื่นล้านบาท

ส่วน กสท โทรคมนาคม มีคดีที่ตกเป็นจำเลย มูลค่าคดีราว 4 หมื่นล้านบาท รวมถึงการต้องรักษาสถานะการจ้างงานของพนักงานทั้งหมดกว่า 2.4 หมื่นคน แบ่งเป็น ทีโอที 1.9 หมื่นคน และแคท 4,000 คน

ควบรวม ทีโอที-กสทฯ 

แหล่งข่าวระดับสูงจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ปัญหาการควบรวม ทีโอทีและกสทฯ จะเป็นเรื่องใหญ่มากในเรื่องของการใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) คลื่นความถี่ 5G

ทั้งนี้เนื่องจาก ทีโอทีได้ไลเซ่นส์ 5G ย่านความถี่ 26.4-26.8GHz. จำนวน 4 ใบ และกสทฯ ได้ไลเซ่นส์ 5G ย่านความถี่ 700 MHz ใบจำนวน 2 ซึ่งกรณีนี้ กสทช.ยังไม่มีการออกประกาศเรื่องกฏหมายการควบรวมธุรกิจ จึงทำให้ไม่สามารถโอนย้ายไลเซ่นส์ที่เป็นคลื่นความถี่ได้

“ทีโอทีและกสทฯ เจอโจทย์นี้ การโอนอะไรที่ไม่ใช่คลื่นจะไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าเกี่ยวข้องกับคลื่นความถี่เป็นปัญหาใหญ่แน่นอน เนื่องจาก กสทช.ยังไม่มีการออกประกาศหรือกฏหมายเกี่ยวกับการออกไลเซ่นส์หลังการควบรวมกิจการ”นายพุทธิพงษ์ กล่าว

ปัญหานี้ ทรูมูฟฯ กำลังจะเป็นเคสตัวอย่าง หลังจากที่ เรียลมูฟ และทรูมูฟเอช รวมธุรกิจกัน การโอนคลื่นความถี่ไม่สามารถโอนกันได้ ทรู มูฟ ไม่ได้รับการจัดสรรมา แทน เรียลมูฟ ที่ขอใช้บริการ MVNO จาก กสทฯ เนื่องจากคลื่นความถี่ย่าน 850 MHz เป็นของ กสทฯ

ดังนั้น ทรู มูฟ ไม่มีสิทธิในการบริหารจัดการคลื่นความถี่ของ บมจ. กสทฯ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน และการรวมธุรกิจทำให้ทรัพย์สินและหนีสิ้นทั้งหมด รวมไปถึงสิทธิต่างๆ ของบริษัท เรียล มูฟฯ จะต้องหมดไปด้วยเช่นกัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo