COVID-19

แจงทุกเม็ด!! โครงการ ‘กำลังใจ’ ล้างข้อกล่าวหาส่อทุจริต ยันมุ่งฟื้นท่องเที่ยว

โครงการกำลังใจ ล้างข้อกล่าวหาทุจริต ปลัดกระทรวงท่องเที่ยวฯ ตอบชัดทุกข้อ หลังถูกกระแสข่าวซัด อสม.ไม่ได้ประโยชน์ ตั้งบริษัททัวร์เฉพาะกิจ 

นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกันชี้แจง กรณีมีการวิพากษ์วิจารณ๋ โครงการ กำลังใจ ว่าส่อไปในทางทุจริต รวม 3 ประเด็น โดยโพสต์ชี้แจงผ่าน เพจเฟซบุ๊ก “กรมการท่องเที่ยว Department of Tourism” โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

โครงการกำลังใจ

ตามที่ นางสาวสรัสนันท์ อรรณพพร ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ในฐานะ กมธ.ท่องเที่ยว กล่าวถึง “โครงการกำลังใจ” เพื่อตอบแทน เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยให้แพกเก็จท่องเที่ยว เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่ได้รับผลกระทบจาก โรคระบาดโควิด-19 ว่าอาจส่อไปในทางทุจริต ใน 3 ประเด็น ได้แก่

1. การนำสิทธิ์แพกเก็จท่องเที่ยวมาผูกให้เจ้าหน้าที่ อสม. นั้น ผู้ประกอบการและ อสม.ต่างไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

2. อสม. ถูกเรียกเก็บบัตรประชาชน เพื่อนำไปจองสิทธิ์ที่ในวันที่ 25 ก.ค.นี้ และพบว่ามีการตั้งบริษัททัวร์ขึ้นมาเฉพาะกิจ เพื่อผูกขาดรับงาน โดยอาศัยความสัมพันธ์พิเศษ กับผู้มีอำนาจ

3. สมาคมผู้ประกอบการทัวร์เห็นว่า โครงการนี้ไม่ได้สะท้อนความเป็นไปได้ หรือเปิดโอกาสรับฟังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แถมยังเอื้อประโยชน์ให้คนเฉพาะกลุ่ม

ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขอชี้แจงข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่า โครงการ “กำลังใจ” จะเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1. กรณี ข้อกล่าวหา การนำสิทธิ์แพกเก็จท่องเที่ยวมาผูกให้เจ้าหน้าที่ อสม. นั้น ผู้ประกอบการและ อสม.ต่างไม่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ชี้แจงว่า วัตถุประสงค์ของโครงการ “กำลังใจ” เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ให้แก่บุคลากรสมาชิก อสม. รพ.สต. และ อสส. ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี และมีบทบาทสำคัญยิ่ง ด้วยการทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์ พยาบาล ยกระดับงานสาธารณสุข ให้สามารถทำงานเชิงรุกควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19

SiteMinder 01 2

รวมทั้ง โครงการ “กำลังใจ” เป็นการกระตุ้นการเดินทางจากภาครัฐโดยตรง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่ง ในการเยียวยาผู้ประกอบการและบุคลากร ด้านการท่องเที่ยว ที่ได้รับผลกระทบ ให้สามารถประคองธุรกิจ และประกอบอาชีพได้ โดยรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณ สำหรับการศึกษาดูงาน (2 วัน 1 คืน) คนละ 2,000 บาท เดินทางโดยใช้บริการของบริษัทนำเที่ยวในประเทศ ที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย กับ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

2. อสม. ถูกเรียกเก็บบัตรประชาชน เพื่อนำไปจองสิทธิ์ที่ในวันที่ 25 ก.ค.นี้ และพบว่ามีการตั้งบริษัททัวร์ขึ้นมาเฉพาะกิจ เพื่อผูกขาดรับงาน โดยอาศัยความสัมพันธ์พิเศษ กับผู้มีอำนาจ

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า

  • ความรัดกุมของการดำเนินการ

– ขั้นตอนแรก บริษัทนำเที่ยวจะต้องจดทะเบียนผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 เท่านั้น เพราะเป็นธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์จริง ไม่สามารถจัดตั้งบริษัทใหม่มาผูกขาดได้

– ขั้นตอนที่สอง บุคลากร อสม. รพ.สต. อสส. ต้องเปิดแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ของธนาคารกรุงไทย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการยืนยันเดินทางกับแอปพลิเคชั่น “ถุงเงิน” ธนาคารกรุงไทยของบริษัทนำเที่ยว

– สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวพิจารณาตรวจสอบคุณภาพของรายการนำเที่ยว ทั้งนี้ เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว บริษัทไม่สามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยวได้

fig 30 04 2020 10 31 39 e1588242732522

– เมื่อรายการนำเที่ยวผ่านการตรวจสอบ และบริษัทลงทะเบียนแอปพลิเคชั่นถุงเงินเรียบร้อยแล้ว จึงจะนำรายการนำเที่ยวขึ้นเสนอใน www.เที่ยวปันสุข.ไทย ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2563

– ในช่วงวันที่เดินทางจริง (ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม 2563) บริษัทนำเที่ยวจะต้องใช้แอปพลิเคชันถุงเงิน สแกน QR Code ของแอปพลิเคชันเป๋าตังของคณะเดินทางทุกคน (อสม. รพ.สต. และ อสส.) เพื่อยืนยันพิกัดการเดินทางจำนวน 2 ครั้ง ในวันแรกและวันที่สอง และใช้เป็นหลักฐานสำคัญประกอบการเบิกค่าใช้จ่าย

– บริษัทนำเที่ยวจะต้องเก็บหลักฐานการเดินทางของคณะในรูปแบบเอกสาร เป็นระยะเวลา 1 ปี และสามารถนำมาแสดงในกรณีที่ได้รับการตรวจสอบเพิ่มเติมได้ อาทิ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว,รายการนำเที่ยว ไม่น้อยกว่า 2 วัน 1 คืน รายชื่อผู้เข้าพักรับรองโดยทางโรงแรม ประกันอุบัติเหตุและภาพถ่ายหมู่ของคณะจำนวน 4 ภาพ

ดังนั้น การกำหนดคุณสมบัติของบริษัทนำเที่ยว ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมเสนอรายการนำเที่ยว ในโครงการกำลังใจ ว่าต้องเป็นบริษัทนำเที่ยว ที่จดทะเบียนผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว กับกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ก่อนวันที่ 1 มกราคม 2563 เนื่องจากเป็นเครื่องยืนยันว่า เป็นผู้ประกอบการนำเที่ยวที่แท้จริง และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดช่องโหว่ในกรณีที่จะมีหน่วยงานในระดับตำบลหรือจังหวัด หรือในท้องถิ่นตั้งบริษัทนำเที่ยว เป็นการเฉพาะ เพื่อแสวงหาประโยชน์ในโครงการนี้

ส่วนการยืนยันตัวตน และการเดินทาง จะใช้ระบบสแกนแอปพลิเคชั่น ของธนาคารกรุงไทยทุกคน โดยไม่ได้ใช้เพียงบัตร หรือรายชื่อเท่านั้น

3. สมาคมผู้ประกอบการทัวร์เห็นว่า โครงการนี้ไม่ได้สะท้อนความเป็นไปได้ หรือเปิดโอกาสรับฟังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง แถมยังเอื้อประโยชน์ให้คนเฉพาะกลุ่ม

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า

ททท. ทำงานร่วมกับภาคเอกชน สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวต่าง ๆ รวมทั้งในเชิงระบบกับธนาคารกรุงไทย โดย ททท. ได้มีการร่วมประชุมกับผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง

ที่ผ่านมา ททท. ได้รับฟังเสียงของผู้เกี่ยวข้องในโอกาสต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทั้งกลุ่ม อสม รพ.สต อสส ผ่านผู้แทนกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สธ. ผู้แทนกรุงเทพมหานคร ต้นสังกัดของบุคลากรต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประโยชน์สูงสุด ในการสร้างขวัญกำลังใจครั้งนี้

ขณะเดียวกัน ททท. ร่วมกับธนาคารกรุงไทย ได้ประชุมรับฟัง และวางแผนงานกับกลุ่มผู้ประกอบการ ทั้ง สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆ ในหลาย ๆ วาระ เพื่อกำหนดคุณภาพ มาตรฐานการบริการ การตรวจสอบการเดินทางจริงให้รัดกุมที่สุด

ในการประชุมร่วมครั้งล่าสุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรวบรวมบุคลากร ไปยังธุรกิจรายใดรายหนึ่ง ได้มีข้อตกลง ที่จะร่วมกันกำหนดจำนวนบุคลากรมากสุด ที่แต่ละบริษัทจะสามารถรับไปดำเนินการได้ แต่ต้องไม่เกินจำนวนดังกล่าว เพื่อให้เกิดการกระจายโอกาสอย่างแท้จริง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo