Business

‘รถไฟฟ้า BTS’ ขัดข้องต้องปิด 9 สถานี ใช้เวลาร่วม 6 ชั่วโมงแก้ไขเสร็จ

“รถไฟฟ้า BTS ขัดข้อง” ตั้งแต่ตี 5 ต้องปิด 9 สถานีสายสุขุมวิท ล่าสุดใช้เวลา 6 ชั่วโมงแก้ไขเสร็จ “กรมรางฯ” รับไร้อำนาจลงโทษผู้ประกอบการ ต้องจี้ “กทม.” ช่วยเข้มงวด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เช้าวันนี้ (17 ก.ค. 63) ระบบรถไฟฟ้า BTS เกิดความ ขัดข้อง ส่งผลให้ต้องปิดสถานีรถไฟฟ้าบางแห่งและการให้บริการในภาพรวมเกิดความล่าช้า

โดยโลกออนไลน์แชร์ข้อมูลว่า ในสถานีรถไฟฟ้าหลายแห่งเกิดปัญหาผู้โดยสารแออัดและต่อคิวกันยาวเหยียด โดยเฉพาะสถานีรถไฟฟ้าแบริ่ง สยาม และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

BTS ขัดข้อง

 

“ผลงานของ @BTS_SkyTrain เช้านี้ค่ะ เข้างาน 7.30 แต่เวลานั้น X ยังต่อแถวอยู่ที่ถนนอยู่เลยจ้า ยืนรอตั้งแต่ 7 โมงเหมือนคนโง่อะ”

BTS ขัดข้อง
                                                       ขอบคุณภาพจากทวิตเตอร์
BTS ขัดข้อง 2
                                                             ขอบคุณภาพจากทวิตเตอร์

 

อหหหหหหห เกิดอะไรขึ้นเนี่ย BTS แบริ่ง คนยิ่งรีบๆ ไปทำงานอยู่ จะถึงกี่โมง เหตุขัดข้องในการเดินรถ #BTSskytrain”
BTS ขัดข้อง 3
ขอบคุณภาพจากทวิตเตอร์

 

“BTS อนุเสาวรีย์ เช้านี้เวลา08.00 น. แถวยาวมากจ้า @BTS_SkyTrain
BTS ขัดข้อง
ขอบคุณภาพจากทวิตเตอร์

ชี้แจงกรณี BTS ขัดข้อง

ล่าสุด ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว แจ้งว่า การแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วเสร็จ และสามารถกลับมาเปิดให้บริการได้ตามปกติในเวลาประมาณ 11.20 น. หรือใช้เวลาแก้ไขปัญหาประมาณ 6 ชั่วโมง

สำหรับปัญหาดังกล่าวเกิดจาก ระบบควบคุมการเดิน รถไฟฟ้า BTS ขัดข้อง เมื่อเวลา 05.00 น. ของวันนี้ (17 ก.ค. 63) ทำให้ขบวนรถไฟฟ้าไม่สามารถให้บริการได้ ตั้งแต่ สถานีสำโรง, สถานีปู่เจ้า, สถานีช้างเอราวัณ, สถานีโรงเรียนนายเรือ, สถานีปากน้ำ, สถานีศรีนครินทร์, สถานีแพรกษา, สถานีสายลวด และสถานีเคหะฯ รวม 9 สถานี รถไฟฟ้า BTS จึงจำต้องปิดสถานีชั่วคราว ทำให้มีผู้โดยสารตกค้าง และสะสมบริเวณชั้นชานชาลา

ในขณะที่เกิดปัญหา บริษัทได้ปรับรูปแบบการเดินรถแบบชั่วคราว ดังนี้

  • สายสุขุมวิท ผู้โดยสารสามารถเดินทางจาก สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ ถึง สถานีแบริ่ง สามารถใช้บริการได้ตามปกติ
  • สายสีลม ใช้บริการได้ตามปกติ

อีกทั้งบริษัทได้เพิ่มจำนวนขบวนรถไฟฟ้า และเพิ่มความถี่ในการให้บริการ เพื่อรองรับผู้โดยสารที่ตกค้างบนชั้นชานชาลา

ทั้งนี้ บริษัทได้แจ้งเหตุดังกล่าวไปยังกรุงเทพมหานคร (กทม.) ทันที  และได้ประสานไปยังกรมการขนส่งทางราง (ขร.) โดยทางกรมการขนส่งทางรางได้ขอความร่วมมือไปยังองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดรถโดยสารที่มาจากอู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ให้เพิ่มความถี่ในการนำรถเข้ามาเสริม เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนช่วง สถานีเคหะฯ ถึงสถานีสำโรง

ทั้งนี้ BTS กรมรางฯ และขสมก. ได้ร่วมกันบูรณาการในการแก้ไขสถานการณ์เหตุฉุกเฉินเพื่อความสะดวกผู้โดยสาร จากเหตุการณ์ดังกล่าวตามนโยบายของกระทรวงคมนาคม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในการเดินทางของประชาชน เป็นครั้งแรกในทันทีที่มีเหตุฉุกเฉินเร่งด่วน

บริษัทต้องขออภัยผู้ใช้บริการทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย และเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้โดยสาร บริษัทจะเร่งดำเนินการแก้ไขให้ระบบกลับมาให้บริการเป็นปกติได้อย่างรวดเร็วที่สุด และขอขอบพระคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในครั้งนี้

S 1384487

“กรมรางฯ” ไร้อำนาจลงโทษ จี้ “กทม.” เข้มงวด BTS

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่เกิดขึ้น กรมรางฯ ได้ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ดังนี้

1.แก้ไขปัญหา

  • กรมรางฯ บูรณาการกับ ขสมก. เพื่อจัดรถเมล์ทันที
  • กั้นแถวปล่อยผู้โดยสารเข้าสถานีและใช้บริการเป็นกลุ่มๆ (Group release) ไม่ให้ผู้โดยสารมีปริมาณหนาแน่นจนเกินไป
  • ลงพื้นที่ร่วมสังเกตการณ์ และแนะนำรถไฟฟ้า BTS พร้อมประสานงานทุกฝ่าย

2.ตรวจสอบ กรมรางฯ และรถไฟฟ้า BTS จะร่วมกันตรวจสอบข้อเท็จจริง เพื่อประเมินและออกมาตรการ ควบคุมมิให้เกิดเหตุซ้ำ

3.ออกมาตรการ กรมรางฯ ได้รายงานคณะกรรมการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในระบบรถไฟฟ้าที่มีรองปลัดกระทรวงคมนาคม ด้านขนส่ง เป็นประธาน เพื่อออกมาตรการต่างๆ โดยจะมีการประชุมในวันที่ 24 กรกฎาคม 2563 และจะป้องกันระวังมิให้ผู้ประกอบการเกิดเหตุซ้ำ

เมื่อสอบถามถึงมาตรการลงโทษผู้ประกอบการจากปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น นายสรพงษ์กล่าวว่า “ในอนาคตควรจะต้องมี แต่ในขณะนี้ กรมรางฯ มีหน้าที่ในการกำกับดูตามกฎหมาย แต่อำนาจจะอยู่ที่ร่าง พ.ร.บ.ขนส่งทางราง ที่ยังไม่ออกมา วิธีการคือเราจะทำหนังสือถึง กทม. ให้เข้มงวด ตรวจสอบ รวมถึงตักเตือน เพื่อใช้รายงานคณะกรรมการจัดระบยการจราจรทางบกในครั้งหน้า เพื่อกำชับผู้ประกอบการ”

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

Avatar photo