General

‘ดาวหางนีโอไวส์’ เยือนโลก ไทยรอชม 20 – 23 กรกฏาคมนี้ ชัดสุด

ดาวหางนีโอไวส์ เยือนโลก มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เดือนกรกฏาคมนี้ 20-23 ชัดสุด หลังจากออกห่างจากดวงอาทิตย์พอสมควร และเป็นช่วงคืนเดือนมืด

เพจไทยคู่ฟ้า ชวนชม ดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) ที่มาเยือนโลก โดยระบุว่า

ดาวหางนีโอไวส์

“ช่วงเดือน ก.ค. นี้ ทั่วโลกต่างเฝ้าชมดาวหางนีโอไวส์ หรือ C/2020 F3 (NEOWISE) ซึ่งเป็นดาวหางคาบยาว มีความสว่างจนสามารถมองเห็นด้วยได้ตาเปล่า

สำหรับประเทศไทยสามารถสังเกตได้เช่นกัน แต่ยังอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้มองเห็นได้ยากเนื่องจากมีเมฆ

สำหรับช่วงเวลาชมดาวหาง มีดังนี้

  • วันที่ 1 – 16 กรกฎาคม 2563 สามารถสังเกตได้ในช่วงเช้ามืดใกล้เส้นขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าจะไม่สามารถมองเห็นได้
  • หลังวันที่ 18 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป สามารถสังเกตได้ในช่วงหัวค่ำ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า แต่ความสว่างจะลดลงเรื่อย ๆ
  • วันที่ 20 – 23 กรกฎาคม 2563 เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการชมดาวหางนีโอไวส์ที่ดีสุด โดยเฉพาะวันที่ 23 ก.ค. เป็นวันที่ดาวหางนีโอไวส์เข้าใกล้โลกที่สุด

ขณะที่ เพจ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยแพร่ภาพ ดาวหางนีโอไวส์ สุดชัดจากยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ โดยระบุว่า

ดาวหางนีโอไวส์

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2563 ยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ ยานสำรวจดวงอาทิตย์ที่โคจรอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดของนาซา จับภาพของดาวหางนีโอไวส์ หรือดาวหาง C/2020 F3 (NEOWISE) ในห้วงอวกาศเอาไว้ได้ เผยให้เห็นดาวหางในมุมมองที่ไม่เหมือนใคร และเห็นหางทั้งสองของดาวหางอย่างชัดเจน

ภาพซ้าย คือภาพถ่ายที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ส่วนภาพทางขวา เป็นภาพที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ด้วยการเพิ่มคอนทราสและลดแสงที่ไม่จำเป็น ทำให้เห็นรายละเอียดของดาวหางมากขึ้น

หางส่วนล่างคือ “หางฝุ่น” มีลักษณะเป็นแถบกว้างฟุ้ง ๆ สะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี เกิดจากอนุภาคฝุ่นที่ฟุ้งกระจายจากนิวเคลียสขณะเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ปรากฏเป็นทางโค้งสว่างที่มีทิศทางสัมพันธ์กับเส้นทางการโคจร

หางส่วนบนคือ “หางไอออน” มักมีความยาวกว่าหางฝุ่นแต่สว่างน้อยกว่า เกิดจากแก๊สที่อยู่รอบ ๆ ดาวหางแตกตัวออกเป็นไอออนเนื่องจากได้รับพลังงานจากลมสุริยะ เกิดเป็นแนวแก๊สเรืองแสงที่มีทิศทางชี้ออกจากดวงอาทิตย์อย่างชัดเจน

ดาวหางนีโอไวส์

 

นอกจากนี้ ภาพจากยานพาร์กเกอร์ โซลาร์ โพรบ ยังเผยให้เห็นว่าหางไอออน ยังแยกออกอีกเป็นสองส่วน นั่นหมายความว่า ดาวหางนีโอไวส์มีหางไอออนถึงสองหางด้วยกัน อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์และยืนยันความเป็นไปได้

สำหรับช่วงนี้ ดาวหางนีโอไวส์สว่างจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากบนโลก ใครที่อยากเห็นดาวหางดวงนี้กับตาตัวเอง ตามไปอ่าน “3 เทคนิคหาตำแหน่งดาวหางนีโอไวส์” กันได้ที่ https://www.facebook.com/…/a.14830893189…/3299131640150427/…

สิ่งสำคัญของการตามล่าหา #ดาวหาง เพื่อบันทึกภาพเก็บไว้ในความทรงจำ
นอกจากฟ้าจะต้องใสแล้ว เราจะต้อง “หาตำแหน่งให้เจอ”

วันนี้ อาจารย์แจ็ค ขอแนะนำ 3 เคล็ดวิชา #ล่าดาวหาง ดังนี้ครับ

1. เทคนิคการหาตำแหน่งดาวหาง จากโปรแกรม Stellarium รายละเอียดตามลิงก์ : https://bit.ly/2CcgdPi

2. เทคนิคการวางแผนถ่ายภาพดาวหาง รายละเอียดตามลิงก์ : https://bit.ly/2ZOjqwW

3. เว็บไซต์ตรวจสอบตำแหน่งแบบ Real Time ตามลิงก์ : https://bit.ly/38vluO6

ดาวหาง1

ดาวหางนีโอไวส์ถูก ค้นพบ โดย ยานอวกาศ NEOWISE อดีตกล้องโทรทัศน์อวกาศ WISE (The Wide-field Infrared Survey Explorer) ที่ถูกส่งขึ้นไปในเดือนธันวาคมปี 2009 เข้าสู่ภาวะจำศีลในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2011 ก่อนที่จะถูกปลุกขึ้นในเดือนกันยายนปี 2013 ภายใต้ชื่อใหม่คือ NEOWISE ในภารกิจการช่วยเหลือ NASA สำรวจวัตถุใกล้โลก

ข้อมูลจาก สมาคมดาราศาสตร์ไทย ระบุ ดาวหางนีโอไวส์ ถูก ค้นพบ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2563 โดย ค้นพบ จากภาพถ่ายในโครงการค้นหาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก (NEOWISE ย่อมาจาก Near-Earth Object Wide-field Infrared Survey Explorer) ขณะ ค้นพบ ดาวหางสว่างที่โชติมาตร 17 และมีรายงานการสังเกตการณ์จากพื้นโลกเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563 ก่อนดาวหางจะหายไปจากท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ

จนกระทั่งวันที่ 22-28 มิถุนายน 2563 ดาวหางนีโอไวส์ปรากฏในภาพถ่ายจาก ยานโซโฮ (SOHO) ซึ่งเป็นยานสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์และสภาพแวดล้อมรอบดวงอาทิตย์ มีรายงานว่าในช่วงดังกล่าว ดาวหางมีความสว่างเพิ่มขึ้นจากราวโชติมาตร 4 ไปที่ 2 ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีกว่าที่คาดไว้ ก่อนที่ดาวหางจะปรากฏในภาพถ่ายจากยานโซโฮ

ภาพถ่ายจาก ยานโซโฮ แสดงให้เห็นว่า ดาวหางยังคงอยู่ในสภาพดี ไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนว่าดาวหางกำลังแตกสลาย มีความสว่างมากกว่าที่คาดไว้ และสว่างเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้มีความหวังว่าจะสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อดาวหางเคลื่อนห่างจากดวงอาทิตย์มากพอให้สังเกตได้ บนท้องฟ้าเวลากลางคืน

อ่านข่าวเพิ่มเติมที่

Avatar photo