CEO INSIGHT

เปิดมุมมอง ‘ยุทธชัย จรณะจิตต์’ ซีอีโออิตัลไทย เดินหน้าฝ่ามรสุมโควิด-19

อิตัลไทย ฝ่าโควิด-19 “ยุทธชัย จรณะจิตต์” รับโรงแรมรายได้วูบ 60–70% แต่ยังเดินหน้าเปิด 12 โรงแรมตามแผน แนะรัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการยันสิ้นปี

นายยุทธชัย จรณะจิตต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอิตัลไทย เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทอิตัลไทย เป็นหนึ่งในผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 แต่ด้วยพอร์ตธุรกิจที่มีหลากหลายด้านทำให้ภาพรวมยังคงเดินหน้าไปต่อได้ โดยจะยังคงเดินหน้าธุรกิจของ อิตัลไทย ฝ่าโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง

อิตัลไทย ฝ่าโควิด-19
ยุทธชัย จรณะจิตต์

ทั้งนี้ จากวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้น บริษัทได้ประเมินผลกระทบแต่ละกลุ่มธุรกิจในระดับที่ต่างกันดังนี้

1. กลุ่มกระทบระดับปานกลาง ได้แก่ “ธุรกิจก่อสร้าง” โดย บริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม ที่ให้บริการรับเหมา งานวิศวกรรมงานระบบและก่อสร้าง แม้ในส่วนงานอาคารสูงหลายโครงการจะชะลอตัว แต่ก็ไม่ถึงกับหยุดชะงัก ขณะเดียวกัน ยังมีงานในตลาดกลุ่มอื่น ที่ได้รับผลกระทบน้อย เช่น งานสถานีไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมและปิโตรเคมี

2. กลุ่มกระทบระดับสูง ต้องยอมรับว่าหนีไม่พ้น “ธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ” เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ศูนย์การค้า

ตั้งแต่ทำธุรกิจกว่า 50 ปี ครั้งนี้ถือว่าหนักที่สุด การปิดโรงแรมชั่วคราว จากล็อกดาวน์ ทำให้รายได้ในเครือ ทั้งไทยและต่างประเทศ ลดลงเกือบ 60–70% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน แต่เพราะได้มีการกระจายพอร์ตธุรกิจโรงแรมและเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ทั้ง 4-5 ดาว ทำให้ยังมีรายได้จากผู้เช่าระยะยาวและแขกผู้ประสงค์พักช่วงโควิด-19 เข้ามาต่อเนื่อง”นายยุทธชัย กล่าวMask Group 160

พร้อมกันนี้ อิตัลไทย ยังใช้วิกฤติ เป็นโอกาส ด้วยการปิดปรับปรุงโรงแรมหลายแห่งในกรุงเทพฯ อาทิ อมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ, แมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ รวมถึงจัดอบรมพนักงาน ผ่านแพลทฟอร์มออนไลน์ พัฒนาทักษะ ให้พร้อมรับมือภาวะโควิด-19 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ล่าสุดได้จัดโปรโมชั่น กระตุ้นการท่องเที่ยวต่อเนื่อง รวมถึงการเปิดตัวโครงการ “ออนิกซ์ คลีน” เพื่อยกระดับมาตรการปฏิบัติการด้านสุขอนามัย และความปลอดภัย ที่ได้ประกาศใช้กับโรงแรมทุกแห่งในเครือ ภายใต้แบรนด์ อมารี โอโซ่ และชามา รวมถึง โรงแรมโอเรียนเต็ล เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ

ขณะเดียวกัน เครือออนิกซ์ ฮอสพิทาลิตี้ กรุ๊ป ยังคงเดินหน้าเปิดโรงแรมแห่งใหม่ อย่างน้อย 12 แห่งภายใน 12 เดือนข้างหน้า พร้อมขยายเครือข่ายทั่วเอเชียแปซิฟิกรวมถึงจีน เพราะมองว่าถึงอย่างไรในอนาคตการเดินทาง และ ธุรกิจท่องเที่ยว ก็ต้องกลับมา

ในส่วนของ ธุรกิจเครื่องจักรกล โดย บริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบมาก เช่นเดียวกับตลาดของกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

เครื่องจักร

ทั้งนี้ ได้ปรับกลยุทธ์ด้วยการจัดหาเครื่องจักรกลเข้ามาเพิ่มจากที่มี รถปูยางมะตอย แพลนท์ยางมะตอย รถปูคอนกรีตสำหรับกลุ่มงานถนน รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า และแท่นเจาะสำหรับกลุ่มงานเหมือง รวมถึงเสริมตลาดรอง เช่น ภาคการเกษตร นิคมอุตสาหกรรมด้วย และได้ขยายสาขาไปยังเชียงใหม่เพื่อรองรับตลาดทางภาคเหนือ ทั้งอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และภาคการเกษตร

นายยุทธชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า วิกฤติโควิด-19 เป็นความท้าทายใหม่ ที่ผู้ประกอบการทั่วโลก ต้องมาทบทวนทิศทางธุรกิจ ว่าจะตั้งรับ หรือ สู้อย่างไรให้อยู่รอด โดยกลุ่มธุรกิจที่มี Value Chain เกี่ยวข้องต่างประเทศ อาจยังมีอุปสรรคลากยาวถึงต้นปีหน้า ซึ่ง 3 ตัวแปรสำคัญ คือ “การควบคุมผู้ติดเชื้อ, นโยบายกระตุ้นของภาครัฐประเทศต่างๆ และความสำเร็จของวัคซีน”

ซีอีโอ อิตัลไทย ยังมองว่า หากไม่เกิดการระบาดรอบใหม่ที่รุนแรงมาก คาดว่าจะสามารถทยอยกลับมาฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2564 ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับดีมานด์ซัพพลายในประเทศ คาดกลับมาได้ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของธุรกิจท่องเที่ยว ในประเทศ แม้รัฐบาลจะคลายล็อกดาวน์ ก็อาจยังไม่กลับมาคึกคัก เพราะวิกฤตินี้ ส่งผลให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนโดยสิ้นเชิง ความสะอาด สุขอนามัยมีผลต่อการตัดสินใจมากขึ้น และการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ต้องเฝ้าระวังมากขึ้นด้วย เพราะถ้าเกิดระบาดรอบใหม่จะกลายเป็น worst case ฉุดเศรษฐกิจลงจุดต่ำสุดอีกครั้ง

Group 2361 1

“นโยบายภาครัฐและเอกชนคงต้องปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เอกชนต้องพร้อมปรับตามความต้องการลูกค้าระยะสั้นมากขึ้น แต่จะมีผลต่อแผนงานระยะยาวต่อไปด้วย โดย ธุรกิจท่องเที่ยว ทั่วโลกและธุรกิจสายการบิน ยังต้องใช้เวลาฟื้นตัวอย่างน้อย 12-18 เดือน หรือ จนกว่าจะมีวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19″ นายยุทธชัยกล่าว

สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ในประเทศไทย มองว่าอาจต้องใช้เวลาถึง 24 เดือน ถึงจะกลับมามีปริมาณเทียบเท่ากับเมื่อปี 2561 และเมื่อสถานการณ์เป็นปกติเศรษฐกิจโดยรวม ก็จะปรับตัวแบบก้าวกระโดด

ในฐานะผู้ประกอบการ จึงอยากเสนอให้รัฐบาลขยายมาตรการช่วยเหลือปัจจุบันให้มีผลถึง 31 ธันวาคม 2563 เช่น มาตรการลดอัตราเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้าง การนำค่าจ้างพนักงานมาหักรายจ่ายได้ 3 เท่า รวมถึงการออกนโยบายหักลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม สำหรับผู้เข้าพักในโรงแรมต่างๆ ทั่วประเทศไทยในปีภาษี 2563-2564

ส่วนมาตรการ “เราเที่ยวด้วยกัน และ กำลังใจ” ขอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเร็วขึ้น เพื่อผู้ประกอบการกลับมาประกอบกิจการได้อีกครั้ง รวมถึงพิจารณาเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาได้ โดยอาจเริ่มจาก Travel bubble ก่อน ภายใต้นโยบายการควบคุมทางสาธารณสุข เพื่อป้องกันการระบาดซ้ำในประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo