Politics

2 ส.ส.พลังประชารัฐกทม. ห่วงความเดือดร้อนประชาชน!

2 ส.ส. พลังประชารัฐกทม. เรียกร้องผู้ว่าฯกทม. ผ่อนปรนเวลาค้าขายพ่อค้า-แม่ค้า ตลาดนัดจตุจักร คลายความเดือดร้อน ขณะที่ “ส.ส.ภาดาท์”ขอให้สผ. พิจารณามาตรการป้องกันผลกระทบจากการสร้างอาคารแห่งใหม่ด้วย

นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ส.ส.กทม พรรคพลังประชารัฐ หารือประธานสภาฯถึงความเดือดร้อนของพ่อค้า แม่ค้า ในตลาดนัดจตุจักร กทม. ทั้งในส่วนของร้านเสื้อผ้าและต้นไม้ สืบเนื่องมาจากเวลาทำการเดิมของตลาดนัดจตุจักร ปิดในเวลา19.00 น. แต่ได้เลื่อนการปิดมาเป็นเวลา 18.00 น. ต้องเป็นไปตามการผ่อนปรนมาตรการจากการระบาดเชื้อโควิด-19 ทำให้พ่อค้า แม่ค้าได้รับเดือดร้อน

กษิดิ์เดช

โดยเฉพาะในส่วนของตลาดต้นไม้ เดิมทีในวันอังคาร ปิดตอนเที่ยงคืน แต่ตอนนี้ต้องปิดเวลา 18.00 น ทำให้การค้าขายเกิดความลำบาก ดังนั้นจึงขอฝากไปยังผู้ว่าฯ กทม.พิจารณาผ่อนปรนการเปิด-ปิด ตลาดให้เป็นรูปแบบเดิม

นอกจากนี้ ยังขอสอบถามไปยังการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ถึงความคืบหน้าในการก่อสร้างระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N 2 เชื่อมระหว่างรอบนอกด้านตะวันออก และส่วนทดแทน N1 หรือรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลว่ามีความคืบหน้าไปถึงขั้นตอนใดแล้ว

 นางสาวภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม.พรรคพลังประชารัฐ หารือประธานสภาฯ ผ่านไปยัง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ. ) ว่าจากการที่ได้ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากประชาชนในพื้นที่พญาไท ทราบว่าประชาชนมีความกังวลเรื่องการก่อสร้างอาคาร สผ. แห่งใหม่ ที่จะมีการรื้อถอน และก่อสร้างใหม่ในพื้นที่เดิม โดยเป็นการก่อสร้างอาคาร 2 อาคาร พร้อมที่จอดรถ 200 คัน อาคารนี้ไม่ต้องเข้าสู่การพิจารณา ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA เนื่องจากเป็นอาคารก่อสร้างของรัฐ

ภาดาท์

ดังนั้นจึงมีความกังวลจากประชาชน เกี่ยวกับผลกระทบหลายอย่าง ที่จะตามมาจากการก่อสร้าง ตั้งแต่ขั้นตอนการรื้อถอน จนถึงการก่อสร้างอาคารจนเสร็จ และปัญหาการสัญจรของรถบรรทุกที่ใช้ก่อสร้าง เนื่องจากสภาพกายภาพของถนน เป็นถนนที่กว้างประมาณ 4 เมตร รวมถึงปกติก็จะมีตลาดนัด  ประชาชนสัญจรลำบากอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ยังกังวลถึงการรื้อถอนและการก่อสร้าง ที่อาจจะก่อให้เกิดการทรุดตัวของที่พักอาศัยบริเวณรอบอาคาร รวมถึงความกังวล เกี่ยวกับมลภาวะต่างๆ ที่จะตามมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องฝุ่น PM 2.5 / pm10 เรื่องการก่อสร้างอาคารนอกเวลา และเรื่องเสียงดัง ดังนั้นจึงฝากประธานสภาฯไปยังสผ. ถึงการพิจารณามาตรการป้องกันผลกระทบต่างๆอย่างเคร่งครัด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight