Business

‘หนี้ครัวเรือนไทย’ พุ่งแตะ 90% สูงสุดในรอบ 18 ปี โจทย์ยากธนาคารพาณิชย์

หนี้ครัวเรือนไทย ขยับแตะกรอบ 88-90% เทียบจีดีพี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ โควิด-19 พ่นพิษหนัก ธนาคารพาณิชย์เร่งแก้โจทย์หิน ช่วยลูกค้า-ปรับโครงสร้างหนี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ สัดส่วน หนี้ครัวเรือนไทย ต่อจีดีพี อาจขยับสูงขึ้นไปอยู่ในกรอบประมาณ 88-90% ณ สิ้นปี 2563 ซึ่งนับเป็นระดับสูงที่สุดในรอบ 18 ปี (ข้อมูล ธนาคารแห่งประเทศไทย ย้อนหลังถึงปี 2546) เนื่องจากเศรษฐกิจหดตัวลงแรง

หนี้ครัวเรือนไทย

นอกจากนี้ สัญญาณช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยของสถาบันการเงิน ทั้งการลดภาระผ่อนต่อเดือนและการพักชำระหนี้ เพื่อลดภาระทางการเงินให้กับลูกหนี้ น่าจะมีผลทำให้ยอดหนี้คงค้างของครัวเรือน และลูกค้ารายย่อย ไม่ปรับลดลงตามแนวโน้มเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ จากข้อมูลของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ณ วันที่ 15 มิถุนายน 2563 พบว่า มีลูกหนี้รายย่อย ได้รับความช่วยเหลือแล้ว เป็นจำนวน 11.48 ล้านราย มูลหนี้รวม 3.8 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์หนี้ครัวเรือนในระดับสูงนี้ เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศในแถบเอเชีย ไม่ใช่เฉพาะกับประเทศไทย โดยภาพดังกล่าว สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้าง พร้อมๆ กับประเด็นที่ต่อเนื่อง ต่อคุณภาพของพอร์ตสินเชื่อรายย่อย ในระบบธนาคารพาณิชย์

ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์ จุงโจทย์ยากเฉพาะหน้าอยู่ 2 เรื่อง คือ การเร่งผลักดัน มาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย และลูกค้าบุคคล ให้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปก่อน และ การเร่งปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยดูแลความสามารถ ในการชำระหนี้ให้กับลูกหนี้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพสินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์เองเช่นกัน

ผลกระทบจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ประเด็นหนี้ครัวเรือน ที่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้างอยู่แล้ว มีความเปราะบางมากขึ้น โดยเฉพาะในมิติของสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี ที่เพิ่มขึ้นแตะระดับ 80.1% ในไตรมาส 1/2563 สะท้อนว่า ภาคครัวเรือนกำลังรับมือกับปัญหาการหดตัวของรายได้ ซึ่งเร็วกว่าการชะลอตัวของการกู้ยืม

ตกงานยากไร้ ๒๐๐๗๐๗

แม้ภาพดังกล่าว จะตอกย้ำปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่ไทยกำลังเผชิญ แต่ท่ามกลางแนวโน้มเศรษฐกิจ ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ทำให้โจทย์เฉพาะหน้า ของทางการและสถาบันการเงิน ยังต้องเน้นไปที่การช่วยเหลือ กลุ่มลูกหนี้รายย่อย เพื่อช่วยประคองให้ผ่านพ้นระยะวิกฤตินี้ไปให้ได้ก่อน

จากข้อมูลล่าสุด ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนของไทยในไตรมาส 1/2563 ลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีครึ่ง จากประมาณ 3,562 ล้านบาท มาอยู่ที่ 13.479 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียง กับยอดคงค้างหนี้ครัวเรือน ช่วงปลายปี 2562 ซึ่งอยู่ที่ 13.483 ล้านล้านบาท เนื่องจากครัวเรือน และกลุ่มลูกหนี้รายย่อย ยังคงมีการชำระคืนหนี้ตามปัจจัยฤดูกาล

ขณะที่ความกังวล เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้หนี้คงค้างกับบริษัทหลักทรัพย์ ปรับตัวลดลงมาก ตามการทรุดตัวครั้งใหญ่ของตลาดหุ้น เช่นเดียวกับ สินเชื่อในกลุ่มที่ไม่มีหลักประกัน ทั้งบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ภายใต้การกำกับ ที่หดตัวลงมากตามทิศทางการจับจ่ายใช้สอยของครัวเรือนที่เป็นไปอย่างระมัดระวัง

อย่างไรก็ดี หนี้ครัวเรือนไทย ยังคงอยู่ในระดับสูง และเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะยังเห็นการก่อหนี้ก้อนใหญ่ ทั้งเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย และเช่าซื้อรถยนต์ ที่เพิ่มขึ้นตามแคมเปญที่ผู้ประกอบการผลักดันออกมา เพื่อประคองตลาด สวนทางสัญญาณอ่อนแอ ของกำลังซื้อภาคครัวเรือน และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายๆ ส่วน

ขณะที่การก่อหนี้ เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจที่ขยับสูงขึ้น ก็เป็นทิศทางที่ตอกย้ำว่า ผู้ประกอบการรายเล็กๆ อาจเริ่มเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่อง มาตั้งแต่ในช่วงไตรมาสแรก ที่เศรษฐกิจชะลอตัว ก่อนหน้าที่จะมีผลกระทบจากโควิด-19 มาซ้ำเติมอีกระลอก

ประเด็นสำคัญที่ต้องจับตา อยู่ที่ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ที่มีต่อกระแสรายได้ และความสามารถ ในการชำระคืนหนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกหนี้รายย่อย ที่ไม่ได้มีรายได้ประจำ กลุ่มลูกหนี้บุคคล ซึ่งแต่เดิมมีปัญหาฐานะทางการเงิน ที่ค่อนข้างเปราะบาง และกลุ่มที่ถูกปรับลดชั่วโมงการทำงาน

ทั้งหมดนี้ ย่อมจะมีผลทำให้สัดส่วน สินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs) ในพอร์ตสินเชื่อรายย่อย ของระบบธนาคารพาณิชย์ มีโอกาสอาจขยับสูงขึ้นกว่าระดับ 3.23% ในไตรมาส 1/2563 ขณะที่การต่ออายุมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย และ มาตรการพักหนี้ ของสถาบันการเงิน จำนวนคนเข้าร่วมโครงการ และตัวแปรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คงจะทำให้ยากที่จะประเมินตัวเลข NPLs ที่ชัดเจนได้ในขณะนี้ฃ

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ปัญหาเฉพาะหน้าที่เร่งด่วนในเวลานี้ ของสถาบันการเงิน ทางการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะอยู่ที่การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ผ่านมาตรการลดภาระผ่อนต่อเดือน เลื่อนการชำระหนี้ พักชำระหนี้เงินต้น/เงินต้น+ดอกเบี้ย ตลอดจนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยประคองให้ลูกหนี้สามารถก้าวข้ามภาวะวิกฤตนี้ไปก่อน

หากเทียบกับสถานการณ์ในต่างประเทศจะพบว่า แนวทางช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ของ ธปท.ที่ออกมาทั้ง 2 เฟสนั้น เป็นทิศทางที่สอดคล้อง กับมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ของทั้งสิงคโปร์ และมาเลเซีย แม้ว่าระดับหนี้ครัวเรือนของทั้งสองประเทศ จะไม่สูงเท่าของไทยก็ตาม

สำหรับมาตรการพักชำระหนี้ของสิงคโปร์ พุ่งความสนใจไปที่สินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยให้ ลูกค้าธนาคารพาณิชย์ สามารถเลื่อนระยะเวลาการชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2563 ขณะที่มาตรการพักชำระหนี้ของมาเลเซีย เป็นการพักชำระหนี้สินเชื่อรายย่อยทุกประเภท ในระบบธนาคารพาณิชย์โดยอัตโนมัติ (ยกเว้นบัตรเครดิต) ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2563

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo