General

มาแล้ว!! โรคชิคุนกุนยา สธ.แนะกำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

โรคชิคุนกุนยา เริ่มระบาด พบผู้ป่วยแล้ว 3,258 ราย จาก 56 จังหวัด สธ.แนะกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หลังฝนตกหลายพื้นที่ ทำยุงลายออกอาละวาดหนัก

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า จากการเฝ้าระวัง ของกรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือ โรคชิคุนกุนยา ในปี 2563 พบผู้ป่วยแล้ว 3,258 ราย จาก 56 จังหวัด ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

โรคชิคุนกุนยา

ทั้งนี้ กลุ่มอายุที่พบว่าเป็น โรคชิคุนกุนยา มากที่สุด 3 อันดับ คือ 25-34 ปี สัดส่วน 18.17% อายุ 35-44 ปี สัดส่วน 7.46% และ อายุ 45-54 ปี สัดส่วน 16.02% ส่วนภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สำหรับจังหวัด ที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน สูงสุด 5 อันดับแรกคือ จันทบุรี อุทัยธานี ลำพูน ระยอง ตราด ตามลำดับ โดยจากโปรแกรมตรวจสอบข่าว การระบาดในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่ามีการรายงานผู้ป่วยรายใหม่ ในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ และลำปาง

ขณะที่การพยากรณ์โรค และภัยสุขภาพประจำสัปดาห์นี้ คาดว่าในช่วงนี้ มีโอกาสจะพบผู้ป่วย โรคไข้ปวดข้อยุงลาย เพิ่มขึ้น จากการที่มีฝนตกในหลายพื้นที่ ของประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันการพบผู้ป่วยโรคนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่ภาคใต้ แต่สามารถพบผู้ป่วยในภาคอื่น ๆ ได้เช่นกัน

00000DDC 10B 61 80
นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดต่อนำโดยแมลง ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการไข้สูง ปวดข้อ ข้อบวมหรือข้ออักเสบร่วมกับมีอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่น หรืออ่อนเพลีย

การป้องกันการแพร่กระจายของโรค ที่ดีที่สุด คือ การ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ด้วยมาตรการ “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค” คือ เก็บบ้าน เก็บขยะ และเก็บน้ำ เพื่อ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคชิคุนกุนยา นอกจากนี้ ควรป้องกัน ไม่ให้ถูกยุงลายกัด ด้วยการทายากันยุง และกำจัดยุงในบ้าน

อธิบดีกรมควบคุมโรค แนะนำว่า สถานพยาบาล ที่แม้ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ควรมีการเฝ้าระวังโรคไข้ปวดข้อยุงลาย เนื่องจากยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำโรค สามารถพบได้ทุกจังหวัด โดยการคัดกรองผู้ป่วย ที่มาด้วยอาการไข้ ปวดข้อ มีผื่น หรือมีอาการ คล้ายไข้เลือดออก แต่เกล็ดเลือด อยู่ในระดับปกติ และเมื่อพบผู้ที่มีอาการสงสัย ให้รีบแจ้งหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อดำเนินการควบคุมโรคอย่างรวดเร็ว

สำหรับประชาชน ให้ช่วยกันร่วมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และ ป้องกันไม่ให้ถูกกัด หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

“ชิคุนกุนยา” เป็นภาษามากอนดี หมายถึงอาการงอตัว สื่อถึงอาการของโรคชิคุนกุนยา ที่มักแสดงออกด้วยอาการปวดข้อจนตัวงอ

โรคชิคุนกุนยาเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยสามารถติดต่อได้จากยุงลายสวน (Aedes albopictus) และยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ปัจจุบันมีการแพร่ระบาดไปยังทวีปแอฟริกา เอเชีย ยุโรป อินเดีย และแถบมหาสมุทรแปซิฟิก

ครั้งแรกที่พบเชื้อไวรัสก่อโรคชิคุนกุนยาคือปี พ.ศ. 2556 ซึ่งพบในทวีปอเมริกา ที่หมู่เกาะแคริบเบียน และในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวัคซีน เพื่อป้องกันโรคดังกล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo