The Bangkok Insight

เช็คก่อน จะได้ไม่รอเก้อ!! ใครบ้างไม่ได้ ‘เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง’ 3,000 บาท

เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง 3,000 บาท รัฐเตรียมโอนให้ 3 กลุ่มไม่เกินวันที่ 20 กรกฎาคมนี้ แต่ทั้งนี้ อาจจะมีคนที่เข้าข่ายกลุ่มเปราะบางจำนวนหนึ่ง ที่จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้ 

หลังจากเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้สำนักงานปลัด กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ ดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น

เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง

ตามข้อมูลของ กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ จะมีผู้ที่เข้าข่ายได้รับสิทธิ เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง นี้ มีทั้งสิ้น 6,781,881 ราย โดยเป็นการจ่ายเงินเยียวยา โดยตรงรายละ 1,000 บาทต่อเดือน เพิ่มเติมจากเงินอุดหนุน เพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เบี้ยความพิการ และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม 2563 รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

อย่างไรก็ดี จะมีคนที่เข้าข่ายกลุ่มเปราะบางจำนวนหนึ่ง ที่จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้ ซึ่งข้อมูลล่าสุด จากเฟซบุ๊กเพจ สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 กรมประชาสัมพันธ์ ระบุไว้ว่า ในส่วนของกลุ่มเด็กแรกเกิดนั้น ผู้ที่จะได้รับสิทธิเงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง จะต้องอยู่ใน กลุ่มที่ได้รับเงินอุดหนุน เพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ในงวดเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาด้วย ถ้าหากว่ายังไม่ได้รับเงินในงวดดังกล่าว หรืออยู่ในขั้นตอนของการลงทะเบียน ก็จะไม่ได้รับเงินในส่วนนี้ 

นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ผู้สูงวัย ได้ไปลงทะเบียนใช้สิทธิ ในโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” รับเงินเยียวยา 5,000 บาท 3 งวดแล้วนั้น จะไม่มีสิทธิรับเงินเยียวยา กลุ่มเปราะบาง 3,000 บาทแต่อย่างใด

เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง

หลักเกณฑ์รับสิทธิเงินเยียวยา กลุ่มเปราะบาง

1. ต้องเป็นผู้ที่ยังไม่เคยได้รับสิทธิการช่วยเหลือเยียวยาจากมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงแรงงาน (สำนักงานประกันสังคม)

2. เป็นกลุ่มที่อยู่ในฐานข้อมูลของกระทรวงฯซึ่งได้รับเงินอุดหนุนรายเดือนอยู่แล้ว จึงไม่ต้องมีการลงทะเบียนในการขอรับสิทธิอีก

หากได้รับเงินอุดหนุนในเดือน พฤษภาคม 2563 จากช่องทางการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร หรือในรูปแบบเงินสด ถือว่ามีสิทธิตามมาตรการช่วยเหลือเยียวยา ของกระทรวงฯ ซึ่งได้ดำเนินการเตรียมความพร้อม ในการจ่ายเงินเยียวยา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น

ทั้งนี้ พม.จะเร่งดำเนินการพิจารณาจ่ายเงินเยียวยาเดือนละ 1,000 บาท รวม 3 เดือน คิดเป็นเงิน 3,000 บาท (ตั้งแต่เดือนพ.ค.–ก.ค.) ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้

เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง

การจ่าย เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง แบ่งเป็น 2 ช่องทาง 

  • ช่องทางที่ 1

กรมบัญชีกลางโอนเงินช่วยเหลือเยียวยาโดยตรงไปยังบัญชีธนาคารของกลุ่มเป้าหมายที่เคยได้รับเงินอุดหนุนรายเดือนผ่านบัญชีธนาคารอยู่เดิม

  • ช่องทางที่ 2

กรมบัญชีกลางโอนเงินไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะนำจ่ายเป็นเงินสด ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่รับเงินอุดหนุนรายเดือนเป็นเงินสดอยู่เดิม

การได้รับเงิน

  • กลุ่มเด็กแรกเกิด

กลุ่มนี้ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการ “เงินอุดหนุน เด็กแรกเกิด” เดือนละ 600 บาท ถ้าหากได้รับ เงิน เยียวยากลุ่มเปราะบาง ก็จะได้รับเงินรวมกันในเดือนกรกฎาคม เป็น 3,600 บาท

  • กลุ่มผู้สูงอายุ

กลุ่มนี้ปกติจะได้รับเงินช่วยเหลือในโครงการ “เบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ” จำนวน 600-1,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับอายุ หากได้รับ เงินเยียวยา ด้วย ก็จะได้รับเงินรวมกันในเดือนกรกฎาคม 3,600 – 4,000 บาท

เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง

  • กลุ่มคนพิการ

กลุ่มนี้ ปกติจะได้รับเงินช่วยเหลือ “เบี้ยยังชีพผู้พิการ” 800 บาทต่อเดือน หากได้รับ เงิน เยียวยากลุ่มเปราะบาง ด้วย ก็จะรับเงินในเดือนกรกฎาคม รวมกับเงินช่วยเหลือเดิมที่ได้อยู่แล้วเป็น 3,800 บาท

นอกจากนี้ กลุ่มคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการอีก 1.99 ล้านราย จะได้รับเงินอีก 1,000 บาท จากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ แบ่งเป็น

  • คนพิการ ที่รับเบี้ยความพิการผ่านบัญชีธนาคาร

กรมบัญชีกลาง โอนเงิน 1,000 บาท เข้าบัญชีคนพิการโดยตรง จำนวนกว่า 1,600,000 คน  ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2563

  • คนพิการ ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล และ อบต.) จ่ายเป็นเงินสด ให้กับคนพิการจำนวนกว่า 300,000 คน  จ่ายแล้วเสร็จภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2563

ส่วนคนพิการ ที่ไม่ได้รับเบี้ยความพิการ กว่า 60,000 คนทั่วประเทศ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ได้โอนเงินเข้าบัญชีคนพิการโดยตรง หรือจ่ายเป็นเงินสดให้กับคนพิการแล้ว

ในกรณีที่ไม่ได้รับสิทธิ เงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง หรือมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทุกจังหวัด หรือ ศูนย์ช่วยเหลือสังคมสายด่วน พม. โทร. 1300 บริการฟรี 24 ชั่วโมง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo