Business

คลอดคู่มือ ‘อุตสาหกรรมไมซ์’ ประชุมปลอดภัย ไร้โควิด -19

อุตสาหกรรมไมซ์ หลังคลายล็อกดาวน์ สธ. จับมือ สสปน. จัดทำคู่มือ กำหนดมาตรการจัดประชุม นิทรรศการ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดี กรมอนามัย เปิดเผยว่า หลังจากประเทศไทยเข้าสู่การผ่อนคลายระยะที่ 5 ในกิจการ กิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมไมซ์ ทั้งการจัดประชุม นิทรรศการและแสดงสินค้า ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทยที่ได้รับความสนใจและช่วยสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

อุตสาหกรรมไมซ์
DCIM100MEDIADJI_0025.JPG

ดังนั้น สธ. จึงร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กำหนดมาตรฐานการจัดการด้านสุขอนามัย เพื่อยกระดับมาตรฐาน การจัดการ ด้านสุขอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ใน อุตสาหกรรมไมซ์ ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศไทย ที่ได้รับความสนใจและช่วยสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี

ทั้งนี้ จากผลการตรวจประเมิน เพื่อการเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาด ในกลุ่มกิจการโรงแรม ศูนย์ประชุม/ศูนย์แสดงสินค้า สถานที่จัดนิทรรศการในโรงภาพยนตร์หรือห้างสรรพสินค้า จำนวน 125 แห่ง ระหว่างวันที่ 22 -30 มิถุนายน 2563 พบว่า มีการปฏิบัติตามมาตรการหลัก และมาตรการเสริม ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร
แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร

ตัวอย่างเช่น การทำความสะอาด สวมหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ตรวจคัดกรองไข้ มีระบบระบายอากาศ จัดคิวจัดระเบียบ จัดให้มีรถรับส่ง และให้คำแนะนำ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยกันตรวจสอบอย่างเข้มข้นในมาตรการที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด 19

ด้านนายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน. )กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ร่วมมือกับ กระทรวงสาธารณสุข จัดทำแนวปฏิบัติ ด้านสุขอนามัย สำหรับอุตสาหกรรมไมซ์ โดยแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่

  • ก่อนเริ่มงาน

จัดตั้งจุดคัดกรอง และจุดลงทะเบียน จัดเตรียมห้องพยาบาล ฝึกอบรมและให้ความรู้ด้าน สุขอนามัย แก่พนักงาน สื่อสารแนวปฏิบัติให้กับผู้เข้าร่วมงานล่วงหน้า

  • ระหว่างงาน

มีการลงทะเบียนออนไลน์ผ่าน QR Code เพื่อลดจุดสัมผัส วางจุดแอลกอฮอล์ จัดพื้นที่ให้มีการเว้นระยะห่างทางกายภาพ จัดเตรียมอาหารร้อน และเป็นชุดอาหารเดี่ยว มีระบบจองคิวล่วงหน้า เพื่อลดความแออัด ทำความสะอาดจุดสัมผัสอย่างน้อย ทุก 1 ชั่วโมง

จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • หลังงาน

มีการตรวจสอบ และติดตามผู้เข้าร่วมงาน และรายงานผลต่อทางราชการ รวมถึงจัดการขยะที่เกิดขึ้นจากการจัดงาน อย่างถูกวิธีตามหลักสุขอนามัย

นอกจากนี้ ทีเส็บได้เตรียมแผนฟื้นฟูอุตสาหกรรมไมซ์ และสนับสนุนผู้ประกอบการสถานที่จัดงาน ให้มีความพร้อม ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ธุรกิจไมซ์ และผู้เข้าร่วมงาน และให้การจัดงานเดินหน้าต่อไปได้อย่างมั่นคง และปลอดภัยต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมไมซ์ ในปี 2562 ที่ผ่านมา พบว่า อุตสาหกรรมไมซ์ทั้งในและตลาดประเทศ ช่วยให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ กว่า 5.5 แสนล้านบาท สร้างอัตราจ้างงานกว่า 3 แสนอัตรา และจัดเก็บภาษีได้ 39,130 ล้านบาท

แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ในช่วงเกิดโควิด ธุรกิจไมซ์ ต้องยกเลิกไปกว่า 30 งาน และเลื่อนไปอีกกว่า 100 งาน โดยจากการสอบถาม โรงแรม ศูนย์ประชุม พบว่า มีงานที่เลื่อนและเลิกจองถึง 938 งาน ในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนนี้

ขณะเดียวกัน ธุรกิจไมซ์ ยังมีโอกาสใหม่จาก New Normal ด้วยการจัดงานระบบออนไลน์ สมาร์ทไมซ์ นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่มาใช้จัดงาน ก้าวข้ามข้อจำกัดการเดินทางเข้าร่วมงาน เช่น การประชุมเสมือนจริง ที่สำคัญคือ ต้องสร้างมาตรฐาน ด้านสุขอนามัย และความมั่นใจผู้ร่วมงาน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo