Politics

‘ศักดิ์สยาม’ แจงงบ 64 ดูแลภาคใต้เต็มที่ ปั้นแผนแม่บทผุด ‘มอเตอร์เวย์คู่รถไฟ’

“ศักดิ์สยาม” แจง งบ 64 พัฒนาถนนภาคใต้เต็มที่ ลุยปั้นแผนแม่บท “มอเตอร์เวย์คู่รถไฟ” 8 เส้นทาง เชื่อมพื้นที่เศรษฐกิจทุกภูมิภาคกับด่านชายแดน

ในการอภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ได้มีข้อสงสัยเกี่ยวกับภารกิจของกระทรวงคมนาคม ในประเด็นของนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส. นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า กระทรวงคมนาคมไม่เอาใจใส่ในการดูแลปัญหาความเดือดร้อนของประชนในพื้นที่ภาคใต้

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ งบปี 64

คมนาคมแจง งบ 64

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม ชี้แจงประเด็นนี้ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่า การพัฒนาโครงข่ายทางหลวงในพื้นที่ภาคใต้ จะแบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ

1.การบำรุงรักษาทางหลวงภาคใต้ ซึ่งมี 3 เส้นทาง ทางหลวงหมาย 4 (ถนนเพชรเกษม), ทางหลวงหมายเลข 41 และทางหลวงหมายเลข 42 ซึ่งมีการตั้งงบประมาณในการบำรุงรักษาตั้งแต่ปี 2558 จำนวน 7,055.91 ล้านบาท และงบประมาณซ่อมบำรุงทางหลวงสายหลัก ภาคใต้เพิ่มขึ้นทุกปี

ปี 2563 ตั้งงบไว้ถึง 14,059 ล้านบาท ปี 2564 ได้เพิ่มเป็น 16,808 ล้านบาท เพื่อซ่อมบำรุงผิวถนน ทางหลวงสายหลักเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกและมีความปลอดภัย ในการสัญจร ซึ่ง

  • ทางหลวงหมาย 4 (ถนนเพชรเกษม) จากจังหวัดเพชรบุรี- สงขลา 1,183 กิโลเมตร งบประมาณซ่อมบำรุง ปี 2561-2564 จำนวน 2,901 ล้านบาท
  • ทางหลวงหมายเลข 41 (ชุมพร-พัทลุง) งบประมาณซ่อมบำรุง ปี 2561-2564 จำนวน 974 ล้านบาท
  • ทางหลวงหมายเลข 42 (สงขลา-นราธิวาส) ระยะทาง 262 กิโลเมตร งบประมาณซ่อมบำรุง ปี 2561-2564 จำนวน 689 ล้านบาท

หลังการซ่อมบำรุงถนน จะมีการทดสอบสภาพ ซึ่งพบว่า มีค่าเฉลี่ยความเรียบถนนทั่วประเทศอยู่ที่ 78% แต่ถนนในภาคใต้มีค่าเฉลี่ยความเรียบสูงกว่า โดยอยู่ที่ 93.1% โดยทางหลวงหมายเลข 41 มีมาตรฐานความเรียบดีกว่าเกณฑ์ ที่ 89.5% ซึ่งอาจจะมีผิวทางบางช่วงที่มีสภาพไม่เรียบร้อย โดยกระทรวงคมนาคม ไม่ได้นิ่งนอนใจในการจัดสรรงบประมาณไปดูแล

ขณะที่งบประมาณการซ่อมบำรุงทางหลวงทั่วประเทศนั้น ในภาคใต้จะได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 4,519 ล้านบาท ภาคเหนือ ได้รับ 3,555 ล้านบาท ภาคกลาง ได้รับ 6,750 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ได้รับ 4,715 ล้านบาท เป็นสิ่งยืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ทอดทิ้งประชาชนภาคใต้และไม่ได้ทอดทิ้งประชาชนในทุกภาคเช่นกัน โดยมีการบริหารงบประมาณเพื่อดูแลสภาพถนนทุกสายให้ประชาชนได้ใช้สัญจรอย่างปลอดภัย

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ งบ 64

2.การพัฒนาโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ในพื้นที่ภาคใต้ ขณะนี้ มี 2 โครงการได้แก่ มอเตอร์เวย์สาย นครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กิโลเมตร ขนาด 4 ช่องจราจร วงเงิน 79,006 ล้านบาท

โดยคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) ได้เห็นชอบแล้ว สำรวจที่ดินและทรัพย์สินเวนคืนแล้ว โดยเป็นเส้นทางที่เชื่อมกับมอเตอร์เวย์ สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนทบทวนการศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)

และมอเตอร์เวย์สาย หาดใหญ่ – ชายแดนไทย/มาเลเซีย (M84) ระยะทาง 71 กิโลเมตร ขนาด 4 ช่องจราจร วงเงิน 40,620 ล้านบาท ปัจจุบันออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้ว และรายงาน EIA ผ่านคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ (คชก.) แล้ว การศึกษา PPP เสร็จแล้ว

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ งบปี 64

นายกฯ สั่งศึกษาเชื่อมมอเตอร์เวย์

นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวอีกว่า จากปัญหาการออกแบบและก่อสร้างถนน ที่ผ่านมา เส้นทางไม่สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายที่สมบูรณ์ซึ่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ให้ กระทรวงคมนาคมศึกษามอเตอร์เวย์ที่สามารถเชื่อมต่อทั่วประเทศ ภายใต้กรอบ 5 เรื่อง ได้แก่

  1. ถนนแนวตรงเพื่อให้เกิดการสัญจรสะดวก ลดอุบัติเหตุ
  2. ไม่ผ่านเข้าชุมชน เพื่อไม่ซ้ำแนวถนนเดิมและมีปัญหาเวนคืน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
  3. พัฒนาความเจริญสู่พื้นที่ใหม่
  4. สร้างชุมชนเมืองใหม่
  5. แยกการจราจรในเมือง (Local Traffic) ออกจากการเดินทางระหว่างเมือง (Through Traffic)

โดยกระทรวงคมนาคมเห็นว่า การแยกศึกษามอเตอร์เวย์อย่างเดียวจะมีปัญหา เนื่องจากระบบโลจิสติกส์ทางบก มีเส้นทางรถไฟด้วย ซึ่งนโยบายต้องการใช้ระบบรางในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร รวมถึงการเชื่อมต่อการเดินทางของอาเซียนตามภูมิศาสตร์ของประเทศไทย

S 48414970

แผนแม่บทมอเตอร์เวย์-ทางคู่

จากการศึกษาการแก้ปัญหาแบบบูรณาการโดยการพัฒนาโครงข่ายร่วมกันระหว่างทางรถไฟกับมอเตอร์เวย์ ได้พัฒนาเป็น แผนแม่บทมอเตอร์เวย์ –รถไฟทางคู่ (MR-MAP) รวม 8 เส้นทาง เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจทุกภูมิภาคของประเทศกับด่านชายแดน ประเทศเพื่อนบ้าน คือ

  1. แนวเหนือ – ใต้ จำนวน 3 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,620 กิโลเมตร ได้แก่ N1 เชียงราย (ด่านแม่สาย) – สงขลา (ด่านสะเดา) ระยะทาง 1,60 กิโลเมตร, N 2 – หนองคาย- แหลมฉบัง ระยะทาง 490 กิโลเมตร, N 3 บึงกาฬ – สุรินทร์ (ด่านช่องจอม เพื่อเชื่อมประเทศกัมพูชา) ระยะทาง 470 กิโลเมตร
  2. แนวตะวันออก – ตะวันตก จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,310 กิโลเมตร ได้แก่ W1 ตาก (ด่านแม่สอด) – นครพนม ระยะทาง 710 กิโลเมตร, W2 กาญจนบุรี (ด่านเจดีย์สามองค์) – อุบลราชธานี ระยะทาง 830 กิโลเมตร ,W3 กาญจนบุรี – สระแก้ว ระยะทาง 310 กิโลเมตร, W4 กาญจนบุรี (ด่านบ้านพุน้ำร้อน) – ตราด ระยะทาง 220 กิโลเมตร , W5 ชุมพร-ระนอง (ด่านบ้านดอน) ระยะทาง 120 กิโลเมตร ,W6 ภูเก็ต – สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 190 กิโลเมตร

ในปี 2564 จะเป็นการศึกษาแผนแม่บท โดยใช้งบประมาณจากกองทุนมอเตอร์เวย์ ซึ่งประโยชน์จากการบูรณาการพัฒนามอเตอร์เวย์ – ทางรถไฟ คือ 1. ลดผลกระทบต่อชุมชน 2. สร้างความคุ้มค่าในการลงทุน 3. กระจายความเจริญเข้าสู่ทุกภูมิภาค 4. ส่งเสริมการพัฒนาเมือง 5. พัฒนาเศรษฐกิจ 6. พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน นอกจากนี้ยังลดการลงทุนภาครัฐ ด้านค่าเวนคืนและลดการลงทุนโดยเปิดให้เอกชนต่างชาติเข้ามาลงทุน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo