World News

บทวิเคราะห์: โควิด-19 ระบาดหนักอาจเป็นลางร้ายของ ‘ทรัมป์’ ในการเลือกตั้งสหรัฐ

เมื่อไม่นานมานี้ สื่อสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในหลายรัฐทางตอนใต้พุ่งสูงขึ้น ซึ่งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญมองว่า เหตุการณ์นี้อาจเป็นลางร้ายสำหรับ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ที่กำลังหาหนทางคว้าชัยในการ เลือกตั้งสหรัฐ อีกครั้ง

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2563 รัฐฟลอริดาตรวจพบผู้ป่วยใหม่เพิ่ม 9,585 ราย ขณะที่เซาธ์แคโรไลนา เท็กซัส เนวาดา และจอร์เจีย ตรวจพบผู้ป่วยใหม่ในจำนวนที่ได้สร้าง หรือใกล้จะสร้างประวัติใหม่ เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ป่วยที่พุ่งสูงขึ้นอาจเป็นภาพสะท้อนของตัวเลขการทดสอบที่เพิ่มขึ้นก็เป็นได้

โดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญมองว่าจำนวนผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อโอกาสในการได้รับ เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ครั้งใหม่ของทรัมป์

เลือกตั้งสหรัฐ

ชนะ เลือกตั้งสหรัฐ ครั้งที่ 2 ส่อลำบาก

คริสโตเฟอร์ กาลด์เยรี (Christopher Galdieri) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากวิทยาลัยเซนต์แอนเซล เปิดเผยว่า “การตรวจพบผู้ป่วยเพิ่ม ส่งผลให้ประเด็นโควิด-19 ยังเป็นที่พูดถึงของผู้คน และอาจทำให้พวกเขาตั้งคำถามต่อการรับมือของรัฐบาลกลาง หากมีการปิดเมืองใหม่อีกครั้ง ผมคิดว่าประชาชนคงโกรธ และสงสัยว่าทำไมพวกเขาถึงต้องเผชิญการล็อกดาวน์รอบแรก ถ้าพวกเขาจะต้องเจอกับการล็อกดาวน์อีกครั้ง แน่นอนว่าหากกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งโกรธแค้น ย่อมไม่เป็นผลดีต่อผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี”

กาลด์เยรีกล่าวว่า “ประการที่สอง รัฐทางตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้หลายแห่งที่กำลังมีตัวเลขผู้ป่วยพุ่งสูงนั้น ล้วนเป็นรัฐที่ตรวจพบผู้ป่วยไม่มากนักเมื่อโรคเริ่มระบาดในเดือนมีนาคม 2563 ดังนั้นผู้คนที่เคยรู้สึกว่าตัวเองรอดพ้นจากสิ่งเลวร้ายที่สุด กลับต้องรู้สึกเหมือนถูกลงโทษอย่างรุนแรง และผมคิดว่าผลกระทบทางจิตวิทยาจากความรู้สึกนั้นไม่ใช่เรื่องดีสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี”

การระบาดของไวรัสในสหรัฐ ภายใต้การบริหารของทรัมป์ ทำให้เขาตกที่นั่งลำบากได้สบายๆ และประชาชนอาจจะตำหนิว่า เขาเป็นต้นเหตุที่ทำให้ยอดผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม

“ยิ่งผู้คนล้มตายกันมากเท่าใด โอกาสที่ทรัมป์จะโน้มน้าวให้ผู้คนลงคะแนนเสียงเลือกเขาในวาระที่ 2 ก็จะยิ่งยากขึ้นเท่านั้น” ดาร์เรล เวสต์ (Darrell West) นักวิชาการอาวุโสจากสถาบันบรูกกิงส์กล่าวกับซินหัว

“โจ ไบเดน” คะแนนนำ “ทรัมป์”

ผลสำรวจคะแนนนิยมของประธานาธิบดีสหรัฐ มักออกมาย่ำแย่เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะซบเซา “เศรษฐกิจตอนนี้ยังคงอ่อนแอ ซึ่งช่วยอธิบายว่าทำไม โจ ไบเดน (ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี) ถึงได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในตอนนี้” เวสต์กล่าวถึงผลการสำรวจซึ่งไบเดนทำคะแนนแซงหน้าทิ้งห่างจากทรัมป์

อัตราการว่างงานจำนวนมหาศาลของประเทศ ซึ่งจัดว่าสูงสุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เป็นผลพวงมาจากการบังคับใช้มาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาลซึ่งไม่เคยทำมาก่อน และเกิดขึ้นแม้แต่ในรัฐที่ตรวจพบผู้ป่วยโรคโควิด-19 น้อย

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมากขาดความมั่นใจในตัวทรัมป์แล้ว และยากที่จะมีอะไรมาเปลี่ยนแปลงมุมมองนั้นในช่วงเวลาอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า” เวสต์กล่าว

ฟอร์ด โอคอนเนล (Ford O’Connell) นักยุทธศาสตร์ฝ่ายรีพับลิกันและผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยที่พุ่งสูงนั้นเกิดขึ้นและจะหายไป แต่ยากจะคาดการณ์ว่ากรณีดังกล่าวจะส่งผลอย่างไรต่อการ เลือกตั้งสหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน 2563

ปัญหา 3 ด้าน ทั้งโรคโควิด-19 เศรษฐกิจที่อ่อนแอจากการระบาดใหญ่ และความไม่สงบทางสังคมเมื่อไม่นานมานี้ ได้ส่งผลกระทบต่อสถานะของทรัมป์ในแบบสำรวจความเห็น แต่แน่นอนว่าสถานการณ์ของทรัมป์ในอีกประมาณ 4 เดือนนับจากนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีก็เป็นได้” โอคอนเนลกล่าว

ด้านเคลย์ แรมเซย์ (Clay Ramsay) นักวิจัยอาวุโสจากศูนย์รัฐศาสตร์ระหว่างประเทศและความมั่นคงแห่งมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ เปิดเผยกับว่า “ปัญหาใหญ่ที่สุดของทรัมป์ในประเด็นโรคโควิด-19 คือเขาชอบเบี่ยงเบนประเด็นอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งสวนทางกับปัญหาไวรัส”

เลือกตั้งสหรัฐ

เจ้าหน้าที่หาเสียง เลือกตั้งสหรัฐ ติดโควิด

ในปลายเดือนมิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ตัวแทนจัดแคมเปญหาเสียง เลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ของโดนัลด์ ทรัมป์ ระบุว่า ตรวจพบเจ้าหน้าที่ของแคมเปญที่มีผลตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นบวกเพิ่ม 2 ราย โดยทั้งสองได้เข้าร่วมกิจกรรมหาเสียงที่เมืองทัลซา รัฐโอกลาโฮมาของสหรัฐ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2563 ด้วย

ผลตรวจใหม่นี้ ทำให้จำนวนเจ้าหน้าที่ในแคมเปญที่เมืองทัลซาของทรัมป์ซึ่งมีผลตรวจโรคโควิด-19 เป็นบวกเพิ่มขึ้นเป็น 8 ราย ในจำนวนดังกล่าวเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับ 2 ราย

สำหรับการแก้ไขปัญหาโควิด-19 นั้น ทรัมป์ได้รับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากทั้งพรรครีพับลิกันและเดโมแครต ในการเป็นตัวอย่างให้กับประเทศชาติเรื่องการสวมหน้ากากอนามัย ขณะที่ตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้น

มิทช์ แมคคอนเนลล์ แกนนำเสียงข้างมากของพรรครีพับลิกันในวุฒิสภา กล่าวว่า การสวมหน้ากากไม่อาจถูกมองว่าเป็นตราบาป พร้อมเรียกร้องให้ผู้คนใส่หน้ากากท่ามกลางภาวะระบาดใหญ่เช่นนี้

แอนดรูว์ คัวโม (Andrew Cuomo) ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์กของสหรัฐ ก็เรียกร้องให้โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อกำหนดให้ประชาชนชาวสหรัฐ ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่สาธารณะ เพื่อช่วยหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19

ประธานาธิบดีไม่จำเป็นต้องอนุมัติกฎหมายหรือเรียกประชุมสภาคองเกรส แค่ลงนามในคําสั่งฝ่ายบริหารกําหนดให้ประชาชนสวมหน้ากากอนามัยก็พอ” คัวโมกล่าวระหว่างการรายงานความคืบหน้าด้านการต่อสู้กับโรคโควิด-19 ของรัฐนิวยอร์ก

คัวโมระบุว่านิวยอร์กบังคับให้ประชาชนปิดคลุมจมูกและปากมาตั้งแต่ 2 เดือนก่อน ซึ่งเห็นผลแล้วว่าช่วยลดการแพร่ระบาดได้จริง พร้อมกล่าวว่าทำเนียบขาวควรดำเนินการให้ประชาชนชาวสหรัฐ ตระหนักว่าภัยของโรคโควิด-19 เป็นเรื่องจริง และประธานาธิบดีควรสวมหน้ากากอนามัย “เป็นตัวอย่าง” ให้กับประชาชน

ทรัมป์หนุนกฎ “ทุกคนใส่หน้ากาก” ยกเว้นตัวเอง

ในที่สุดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา โดนัลด์ ทรัมป์  กล่าวว่าเขาคิดว่ามาตรการที่กำหนดให้ “ทุกคนใส่หน้ากาก” มีประสิทธิภาพในการชะลอการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในสหรัฐอเมริกา แต่เสริมว่าเขาไม่จำเป็นต้องใส่

“ผมสนับสนุนให้ทุกคนใส่หน้ากาก และคิดว่ามันให้ผลดี” ทรัมป์ให้สัมภาษณ์กับช่องข่าวฟ็อกซ์บิสซิเนสและเสริมว่าเขาจะใส่หน้ากาก หากอยู่ในสถานการณ์ที่มีผู้คน “หนาแน่น”

แต่ประธานาธิบดีบอกว่า เขาไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากากเพราะคนรอบตัวเขาผ่านการทดสอบโรคโควิด-19 แล้ว

เมื่อถูกถามว่าเขาจะสวมหน้ากากขณะอยู่ในที่สาธารณะหรือไม่ ทรัมป์กล่าวว่า “ไม่มีปัญหา ที่จริงผมก็เคยใส่นะ และผมก็ค่อนข้างชอบภาพลักษณ์ตัวเองตอนใส่ด้วย”

ที่มาสำนักข่าวซินหัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo