Politics

‘วิษณุ’ แจงฝ่ายต้าน ขยาย ‘พ.ร.ก.ฉุกเฉิน’ ไม่มีอะไร แค่สนธิ 4 หมื่นคนสู้โควิด

กรุณาเข้าใจด้วย! “วิษณุ” แจงฝ่ายต้าน ขยาย “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ไม่มีอะไร แค่บูรณาการเจ้าหน้าที่ 4 หมื่นคนแก้ปัญหาโควิด-19 ยืนยันเสรีภาพเกือบเต็มขั้น

จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติขยายระยะเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ออกไปอีก 1 เดือน ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 โดยฝ่ายค้านและกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกการบังคับใช้นั้น

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็กรุณาเข้าใจ และเห็นใจซึ่งกันและกัน รัฐเองเข้าใจ อาจจะมองว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ แต่ถ้าดูให้ดีแล้ว สิทธิเสรีภาพที่เคยถูกจำกัด เพราะการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ขณะนี้ถูกผ่อนคลายไปจนเกือบหมดแล้ว

00กห5ด1กหด

ขอย้ำอีกครั้งว่า ในมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ให้อำนาจรัฐ 6 อย่างคือ

1.เคอร์ฟิว มีการยกเลิกแล้ว

2.ห้ามชุมนุมในทางที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาด เรื่องนี้ยังมีอยู่ แต่อยู่ในนามของมาตรการรักษาระยะห่าง จึงไม่ทำให้คนเดือดร้อน การชุมนุมเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ว่าอะไรหากรักษาระยะห่าง

3.เรื่องเกี่ยวกับสื่อ ที่ห้ามเฉพาะสื่อที่ไปบิดเบือนความจริงเกี่ยวกับการแพร่ระบาด ไม่ได้ห้ามการแสดงความคิดเห็นในเรื่องอื่น

4.การห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือสถานที่ที่เกี่ยวกับการขนส่ง ตอนนี้ไม่ได้ห้ามแล้ว เราเปิดสนามบินแล้ว

5.การห้ามเข้าไปในสถานที่ต่างๆ ตอนนี้เราไม่ได้ห้าม มีการเปิดหมดแล้ว แต่ต้องรักษาความปลอดภัย หากเจ้าหน้าที่ไปตรวจแล้วพบว่าไม่ปลอดภัยสามารถสั่งปิดได้ แต่จะเปิดเฉพาะสถานที่นั้นๆ จะไม่สามารถไปสั่งปิดห้างสรรพสินค้าทุกแห่งเหมือนที่ผ่านมาได้

6.การอพยพคน ซึ่งยังไม่เคยใช้เลย

“รวมความแล้วผลของการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ก็มีอยู่แค่นี้ และไม่มีอะไรอีก หากใครไปอ่านข้อกำหนด คำปรารถ ข้อความ คำนำข้างหน้าที่ยาวๆ ซึ่งคนไม่ค่อยสนใจของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพราะไปสนใจว่าเปิดหรือปิดอะไรเท่านั้น ให้ช่วยอ่านว่า สิ่งที่เหลืออยู่คู่กับการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จนถึงวันนี้คือ การบูรณาการอำนาจเจ้าหน้าที่ ซึ่งใน พ.ร.บ.โรคติดต่อ ไม่สามารถเปิดให้บูรณาการแบบนี้ได้ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข หรืออธิบดีกรมควบคุมโรค ไม่มีอำนาจไปสั่งเจ้าหน้าที่ ตม. ตำรวจ แต่ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นายกฯ สามารถสั่งได้ โดยนายกฯ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่กว่า 4 หมื่นคนมาสนธิกำลังทำงานร่วมกัน” นายวิษณุกล่าว

S 78774287

เมื่อถามถึงการแก้ไข พ.ร.บ.โรคติดต่อ เพื่อเพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่ในการทำงานนั้น นายวิษณุ กล่าวว่า ในส่วนนี้ยังต้องทำต่อไป แต่ยังต้องใช้เวลา ขณะนี้เรากำลังถอดบทเรียน เหมือนกรณีของถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนว่ามีอะไรบ้างที่

โดย พ.ร.บ.โรคติดต่อเพิ่งออกมาเมื่อปี 2558 ซึ่งไม่ทันสมัยแล้ว ตัวแพทย์ที่ร่างกฎหมายก็ออกมายอมรับว่าร่างเพื่อใช้ในการรองรับในการแพร่ระบาดระดับเล็ก แต่พอมาเจอการระบาดใหญ่ที่ไปทั่วโลกกฎหมายฉบับนี้ไม่สามารถรับมือได้

ตนได้เคยพูดไปแล้วว่า เมื่อเปิด พ.ร.บ.โรคติดต่อ ตั้งแต่มาตราแรกจนถึงมาตราสุดท้าย ไม่มีที่ไหนสั่งบังคับให้คนสวมหน้ากากอนามัย ไม่มีที่ไหนสั่งให้คนกักตัว ไม่มีที่ไหนสั่งให้รักษาระยะห่าง แต่เราต้องยอมรับว่านี่คือมาตรการป้องกันโรคสมัยใหม่ โดยเมื่อปี 2558 เขาไม่ได้นึกถึง

อีกทั้งรัฐธรรมนูญปี 2560 ระบุไว้ว่าหากมีโรคระบาด เราจะต้องให้การรักษาพยาบาลโดยไม่คิดมูลค่า แต่ ใน พ.ร.บ.โรคติดต่อระบุไว้ว่า ให้เก็บค่าใช้จ่ายจากสายการบินที่นำเข้ามา ซึ่งไม่มีใครยอม จึงต้องแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ได้สั่งการให้กรมควบคุมโรคเรียนรู้ดูสถานการณ์วันต่อวัน

วันนี้ตนยังได้แจ้งกับอธิบดีกรมควบคุมโรคว่า ให้เตรียมร่างการแก้ไข พ.ร.บ.โรคติดต่อ เพื่อให้วันหลังจะได้ไม่ต้องมีการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใช้เพียง พ.ร.บ.โรคติดต่อก็พอ

เมื่อถามว่า จะใช้ระยะเวลาการแก้ไขนานเท่าไร นายวิษณุ กล่าวว่า คงไม่ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นขณะนี้ กว่าจะเข้าสภาผู้แทนราษฎร กว่าจะเข้าวุฒิสภา กว่าจะทูลเกล้าฯ กว่าจะประกาศใช้ วันนี้ทำเพียงเก็บข้อมูลว่าจะต้องแก้อะไร รวมถึงต้องดูว่าจะมีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นมาอีกหรือไม่ ขณะนี้ได้เริ่มกระบวนการแก้ไขไปประมาณ 50% แล้ว  คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 1 ปี

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

เมื่อวานนี้ (30 มิ.ย. 63) นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน มีมติขยายเวลาการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ออกไปอีก 1 เดือน 31 กรกฎาคม 2563 มีผลตั้งแต่วันพรุ่งนี้ (1 ก.ค. 63) เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. เห็นชอบการผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 5 ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เห็นชอบเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2563 เพราะต้องมีการควบคุมการเดินทางเข้า-ออก การบูรณาการอย่างเป็นทำภาพรวม โดยไม่ได้คง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อประโยชน์อื่นใด นอกจากเรื่องสาธารณสุข

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo