Sme

‘อเมซอน’ แนะ ปลดล็อก อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน รับวิถี ‘New Normal’

อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน ทางออกธุรกิจฝ่าวิกฤติโควิด-19 อเมซอน แนะ คว้าโอกาสจาก New Normal จับจ่ายออนไลน์พุ่ง หาลู่ทางส่งออกออนไลน์

เบอร์นาร์ด เทย์ ผู้อำนวยการ อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดเผยว่า อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน นับเป็นโอกาสในวิกฤติ ของผู้ประกอบการ เจ้าของแบรนด์สินค้า ในยุคโควิด – 19 ที่ส่งผลให้ เกิด วิถีใหม่ ของผู้บริโภค ที่ขยับขยายจากช่องทางการซื้อสินค้าแบบออฟไลน์ สู่ออนไลน์จะเป็นแนวโน้มต่อเนื่องในระยะยาว

อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน

ทั้งนี้เนื่องจาก ผู้บริโภคยุคโควิด -19 มองว่า ช้อปปิ้งออนไลน์ เป็นช่องทางที่ปลอดภัยกว่า ในการซื้อสินค้าจำเป็นต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เห็นได้จากในสหรัฐ ที่ความถี่ในการช็อปปิ้งออนไลน์พุ่งสูงขึ้นถึง 14% ในสินค้าทุกประเภท

นอกจากนี้ จากการสำรวจล่าสุด ในพื้นที่การค้าสำคัญของโลกอย่าง สหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ก็พบว่า มีผู้บริโภคจำนวนมาก ที่มีแนวโน้มที่จะยังคงซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ต่อไป แม้หลังจากผ่านช่วงการระบาดของโควิด-19 ไปแล้วก็ตาม

ขณะเดียวกัน ธุรกิจต่าง ๆ ก็กำลังขยับตัวสู่บริการ และช่องทางดิจิทัลมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบจากโควิด-19 และให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ความจำเป็นในการปฏิวัติดิจิทัล จึงเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับบริษัทที่ทำการค้าในต่างประเทศที่จะเสริมความแกร่งให้ผู้ค้า และปรับตัวสู่ New Normal

รายงานล่าสุดของ องค์การการค้าโลก เผยว่า การระบาดของโควิด-19 ส่งผลอย่างชัดเจน ให้เห็นว่า อีคอมเมิร์ซมิได้เป็นเพียงเครื่องมือและโซลูชั่นสำคัญ สำหรับผู้บริโภคในภาวะวิกฤติเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สำหรับทั้งการสร้างการเติบโตภายในประเทศ และการค้าระหว่างประเทศ และช่วยส่งเสริมธุรกิจเอสเอ็มอี

Amazon Pic 1

ในช่วงที่ผ่านมา จึงเห็นได้ว่า หลายประเทศ ได้ออกนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในภาคธุรกิจต่าง ๆ สำหรับในประเทศไทย หน่วยงานราชการต่าง ๆ ได้ออกมาตรการ ทั้งด้านการเงินและด้านภาษี เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ด้วยจำนวนผู้ค้าจากภาคเอสเอ็มอี ที่มีมากมายในปัจจุบัน จึงมีการประเมินว่า ภาคธุรกิจ อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน ของไทย จะเติบโตในอัตราที่สูงในปี 2563 นี้ และโตต่อเนื่องไปอีกหลายปี

ตัวเลขดังกล่าว สอดคล้องกับประมาณการอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด ของตลาดอีคอมเมิร์ซรวมของไทยจาก 5,000 ล้านดอลล่าร์ ในปี 2562 เป็น 18,000 ล้านดอลล่าร์ในปี 2568

ขณะเดียวกัน จากจุดแข็งของประเทศไทย ในภาคการผลิตทางอุตสาหกรรม และการเกษตร มีสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทั้งในระดับอุตสาหกรรมใหญ่ และระดับวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่น ไทยจึงมีข้อได้เปรียบ ในการพัฒนาต่อยอดภาคธุรกิจเหล่านี้ เพื่อลดผลกระทบจาก โควิด-19 ธุรกิจไทยที่กำลังมองหาหนทางในการขยายสู่ต่างประเทศน่าจะต้องการทำอะไรบางอย่างเพื่อโอกาสในการฟื้นฟูธุรกิจ

Amazon Pic 2

จะเห็นได้ว่า มีผู้ค้าหลายราย สามารถอยู่รอดได้ในช่วง โควิด-19 ระบาด เพราะอาศัยความกล้า ในการแสวงหาและฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ แต่ในการสร้างความสำเร็จในระยะยาว ผู้ค้าควรจะคิดและรู้เท่าทันกระแสโลก และมุ่งให้ความสำคัญ กับการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคได้ทั่วโลก

“โอกาสสามารถเกิดขึ้นจากวิกฤติได้เสมอ เราเชื่อมั่นว่าทุกคนจะก้าวพ้นความท้าทายครั้งนี้ได้ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนจะเป็นตัวผลักดันให้เกิดโอกาสการเติบโตครั้งใหม่ เราหวังว่าจะเดินเคียงข้างผู้ค้าเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าร่วมกัน” เทย์ กล่าว

สำหรับ อเมซอนมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนานวัตกรรม และส่งเสริมให้ผู้ค้า สร้างธุรกิจบนแพล็ตฟอร์มอเมซอน เพื่อความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการค้าระดับโลก โดยเฉพาะการจับโอกาสจาก อีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง

นับแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 อเมซอน ได้ออกมาตรการและบริการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ค้าให้รับมือกับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายและแนวทางสำหรับผู้ค้าในเครือข่ายอเมซอนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เช่น ยกเว้นค่าธรรมเนียมบางส่วนสำหรับการจัดเก็บสินค้าในบริการ Fulfillment by Amazon การให้คำแนะนำในการจัดส่งสินค้าจากผู้ขายไปยังลูกค้าโดยตรง เป็นต้น

ตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา อเมซอน โกลบอล เซลลิ่ง ได้ให้ข้อมูลและความรู้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งเจ้าของแบรนด์สินค้า และผู้ผลิตชาวไทยเกี่ยวกับโอกาสในการส่งออกสินค้าออนไลน์ และช่วยเหลือผู้ค้าไทยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ข้อมูล และความรู้แก่ผู้ค้าชาวไทยในการขยายโอกาส และพัฒนาศักยภาพ ด้านอีคอมเมิร์ซอย่างต่อเนื่อง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo