World News

‘ไบเออร์’ ไกล่เกลี่ยคดี ‘ราวด์อัพ’ ยอมจ่ายกว่า 3 แสนล้าน ต้นเหตุโรคมะเร็ง

ไบเออร์  ไกล่เกลี่ยคดี ราวด์อัพ ยอมจ่ายเงินสูงสุดถึง 10,900 ล้านดอลลาร์ หรือมากกว่า 330,000 ล้านบาท เพื่อไกล่เกลี่ยคดีที่มีการกล่าวหาว่า “ราวด์อัพ” ผลิตภัณฑ์กำจัดวัชพืช ที่มีส่วนผสมของสารไกลโฟเซต เป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็ง

ไบเออร์  ไกล่เกลี่ยคดี ราวด์อัพ การยอมความข้างต้นเกิดขึ้น หลังจากที่มีผู้ยื่นคำฟ้อง ไบเออร์ ยักษ์ใหญ่ด้านเคมีภัณฑ์ โลก ในข้อกล่าวหาดังกล่าวราว 125,000 คดี ซึ่งไวซ์ แอนด์ ลูเซนเบิร์ก บริษัทกฎหมายในรัฐนิวยอร์ก สหรัฐ ระบุว่า บริษัท ในฐานะตัวแทนผู้ยื่นฟ้องเกือบ 10,000 คน บรรลุข้อตกลงกับไบเออร์แล้ว

ไบเออร์  ไกล่เกลี่ยคดี ราวด์อัพ

ด้านไบเออร์ ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้ โดยระบุว่า ไม่ได้กระทำผิดใดๆ แต่ที่ยอมจ่ายเงินเพื่อไกล่เกลี่ยคดี ก็เพื่อยุติ “ความไม่แน่นอน”

แต่เดิมนั้น ราวด์อัพ เป็นสินค้าของมอนซานโต บริษัทด้านเกษตรเคมี และเทคโนโลยีชีวภาพ รายใหญ่ของสหรัฐ ที่ ไบเออร์ เข้าซื้อกิจการมาเมื่อปี 2561 ซึ่งนับแต่ที่เปิดตัวสู่ตลาดเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว ราวด์อัพ กลายเป็นผลิตภัณฑ์กำจัดวัชพืช ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก

ภายใต้ข้อตกลงไกล่เกลี่ยคดีดังกล่าว ไบเออร์จะต้องจ่ายเงินมากถึง 9,600 ล้านดอลลาร์ เพื่อคลี่คลายการฟ้องร้องที่เกิดขึ้น และกันเงินสำรองไว้อีก 1,250 ล้านดอลลาร์ เพื่อรับมือกับคดีต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

หากข้อตกลงนี้ ได้รับความเห็นชอบจากศาลรัฐแคลิฟอร์เนีย ไบเออร์ จะจ่ายเงินตามข้อตกลงที่ทำไว้ 5,000 ล้านดอลลาร์ ในปีนี้ และจะจ่ายอีก 5,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2564

“ข้อตกลงครั้งนี้เป็นการกระทำที่ถูกต้องและถูกเวลาสำหรับไบเออร์ในการทำให้ความไม่แน่นอนที่ดำเนินมายาวนานนี้ยุติลง” นายเวอร์เนอร์ บาวแมนน์ ซีอีโอไบเออร์ แถลง

อย่างไรก็ตาม ไบเออร์ยังคงเผชิญข้อกล่าวหาจากโจกท์ อีกอย่างน้อย 25,000 รายที่ไม่ยอมรับในข้อตกลงยอมความครั้งนี้

นับแต่ไบเออร์เข้าซื้อกิจการของมอนซานโตเมื่อ 2 ปีก่อน ก็ต้องเผชิญกับคดีความที่กล่าวหาว่า ราวด์อัพเป็นผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งหลายหมื่นคดี

เมื่อเดือน พฤษภาคม 2562 คณะลูกขุนในรัฐแคลิฟอร์เนีย ตัดสินให้บริษัทไบเออร์ จ่ายค่าเสียหายมูลค่า 2,055 ล้านดอลลาร์ ให้แก่คู่สามีภรรยาที่ระบุว่า ผลิตภัณฑ์กำจัดวัชพืชราวด์อัพ ทำให้พวกเขาป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน

รู้จัก ไกลโฟเซต

ไกลโฟเซต เป็นสารเคมีที่บริษัทมอนซานโตเริ่มใช้ใน “ราวด์อัพ” ซึ่งออกจำหน่ายมาตั้งแต่ปี 2517  โดยโฆษณาว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชโดยที่ไม่ส่งผลเสียต่อพืชผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์นี้มีจำหน่ายในกว่า 160 ประเทศทั่วโลก รวมถึง ไทย

หลังจากสิทธิบัตรสารไกลโฟเซต ของมอนซานโตหมดอายุลงเมื่อปี 2543 ทำให้ปัจจุบันสารดังกล่าวถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ของบริษัทต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย

แม้สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในสหรัฐ (อีพีเอ) จะไม่ออกข้อจำกัดเรื่องการใช้สารไกลโฟเซต โดยชี้ว่ามีอันตรายต่ำ พร้อมออกคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม ที่ใช้ยากำจัดวัชพืชชนิดนี้เป็นเวลา 12 ชั่วโมงหลังการฉีดพ่น แต่งานวิจัยหลายชิ้นจากนานาชาติบ่งชี้ว่าไกลโฟเซตเป็นสาร ที่อาจก่อมะเร็งในมนุษย์ได้

เมื่อปี 2558 สำนักวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ ขององค์การอนามัยโลก สรุปผลการศึกษาว่า สารไกลโฟเซต “อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์” แต่รายงานร่วมระหว่างองค์การอนามัยโลก และสหประชาชาติในปี 2559 สรุปว่า ไกลโฟเซต “ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคมะเร็งในมนุษย์ ผ่านการบริโภคอาหาร”

มาทำความรู้จัก บริษัท ไบเออร์ เอจี

ไบเออร์ เอจี (Bayer AG) ออกเสียง ไบเออร์ แต่ตามต้นฉบับภาษาเยอรมัน และชาวต่างชาตินิยมออกเสียงเป็น เบเยอร์ เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมเคมีและยา บริษัทก่อตั้งในปี ค.ศ. 1863 สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองเลเวอร์คูเซิน ประเทศเยอรมนี บริษัทเป็นที่รู้จักดีว่าเป็นเจ้าของชื่อทางค้าว่า แอสไพริน

ไบเออร์ เอจี ก่อตั้งในเยอรมนี โดย เฟรดริช ไบเออร์ (Friedrich Bayer) และหุ้นส่วนของเขาชื่อ โจฮัน เฟรดริช เวสคอตต์ (Johann Friedrich Weskott) ในปี ค.ศ. 1863

จดทะเบียนชื่อการค้า แอสไพริน ชื่อผลิตภัณฑ์ยาหลักของบริษัทในขณะนั้น โดยยาตัวนี้มีชื่อเคมีว่ากรดอะซิทิลซาลิไซลิก (acetylsalicylic acid) ซึ่งผลิตมาจากกรดซาลิไซลิก (salicylic acid) หรือ ซาลิซิน (salicin) ในปี ค.ศ. 1899

มีการใช้สัญลักษณ์กากบาทไบเออร์ (Bayer cross) เป็นโลโก้ประจำบริษัทฯ ในปี ค.ศ. 1904

ไบเออร์ เอจี ซื้อไมลส์ แลเบอราตอรี่ (Miles Laboratories) เนื่องจากไมลส์ แลเบอราตอรี่ เป็นผู้ผลิตแอสไพรินมาตลอดหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งไบเออร์ถูกรวมกับบริษัทอื่นเป็นชื่ออีเก ฟาร์เบิน (IG Farben) และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไบเออร์ถูกแยกสลายอีกครั้งโดยทรัพย์สินไปอยูกับสเตอร์ลิ่งดรักส์ (Sterling Drugs) บริษัทในเครือสเตอร์ลิ่ง วินทรอป (Sterling Winthrop) และสิทธิในการผลิตแอสไพรินไปอยู่กับไมลส์ แลเบอราตอรี่ ในปี ค.ศ. 1978

ไบเออร์ เอจี ซื้อธุรกิจยา OTC (over the counter) เพื่อให้ได้สิทธิในโลโก้กากบาทไบเออร์คืนมา ในปี ค.ศ. 1994

ยาที่ไบเออร์ค้นพบและเป็นที่รู้จักกันดี

แอสไพริน (Aspirin) — ยาบรรเทาปวดยอดนิยม
เฮโรอีน (Heroin-diamorphine) — ยาเสพติดให้โทษ
เมตทาโดน (Methadone)
แก๊สมัสตาร์ด (Mustard gas) — อาวุธเคมี
ทาบุน (Tabun) — ก๊าซประสาท
ซิโปรโฟลซาซิน (Ciprofloxacin) — ยาปฏิชีวนะ ใช้รักษาโรคแอนแทรกซ์
ลีวิตร้า (Levitra) — รักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

Avatar photo