Economics

‘ซีพีเอฟ’ ย้ำคุมเข้มมาตรฐาน ‘สวัสดิภาพสัตว์’ สร้างหลักประกัน ‘เนื้อสัตว์-อาหาร’ ปลอดภัย

ซีพีเอฟ ยืนยัน ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล และใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบอย่างเคร่งครัด สนับสนุนการแสดงออกทางพฤติกรรมตามธรรมชาติ ทั้งสัตว์บก และสัตว์น้ำ สร้างหลักประกันเนื้อสัตว์ และอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต

น.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล ประธานคณะกรรมการด้านสวัสดิภาพสัตว์ และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างมีความรับผิดชอบ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทพัฒนา และยกระดับการเลี้ยงสัตว์ตามแนวปฏิบัติสวัสดิภาพสัตว์สากลภายใต้  “หลักอิสระ 5 ประการ” หรือ “Five Freedoms” อย่างต่อเนื่อง

anni

เพื่อป้องกันความหิว และกระหาย ความไม่สบายกาย ความทุกข์ทรมาน การบาดเจ็บ และสนับสนุนการแสดงออก ทางพฤติกรรมตามธรรมชาติของสัตว์ในฟาร์มไก่เนื้อ ไก่ไข่ เป็ด สุกร และสัตว์น้ำ สำหรับกิจการในทุกประเทศและฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับสัตว์ทุกชนิดควบคู่กับการบริหารจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ ให้สัตว์ได้เติบโตตามสภาพแวดล้อมของสัตว์อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเติบโตและสุขภาพที่ดีของสัตว์

ปัจจุบัน ธุรกิจสุกรเป็นการเลี้ยงตามหลัก 3’Ts (No Testicles, No Teeth Clipping and No Tail Docking) โดยเน้นการเลี้ยงในโรงเรือนระบบปิด ที่มีการระบายอากาศได้ดี และพยายามลด ละ เลิก การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสุกรในรูปแบบของการทำหมัน (เพื่อลดกลิ่นตัวของสุกรเพศผู้) การตัดหรือกรอฟัน (เพื่อลดการกัดหัวนมแม่สุกร และการกัดหางของตัวอื่น) และการตัดหาง (ลดการกัดกันเองจนเกิดแผลอักเสบ)

1592967920001

ในปี 2562 ธุรกิจสุกรในประเทศไทยได้ยกเลิกการตอนลูกสุกรกว่า 700,000 ตัว ยกเลิกการตัดเขี้ยวลูกสุกรมากกว่า 2 ล้านตัว และริเริ่มยกเลิกการตัดหางลูกสุกรกว่า 3,000 ตัว รวมถึงยกเลิกตัดใบหูมากกว่า 3 ล้านตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสุกรของบริษัท ในมาเลเซีย และไต้หวัน ไม่มีการตัดหรือกรอฟันแล้ว 100%

ขณะที่กิจการ ซีพีเอฟ ที่มีธุรกิจไก่เนื้อ เป็นการเลี้ยงไก่โดยไม่ตัดจะงอยปาก (No Beaking Trimming) 100% มีการเพิ่มวัสดุสำหรับจิกเล่นในโรงเรือน ไก่ได้คุ้ยเขี่ยตามพฤติกรรมทางธรรมชาติ ส่วนไก่พ่อแม่พันธุ์เพศผู้ และไก่ไข่ บริษัทใช้เทคโนโลยีอินฟราเรด (Infrared Beak Treatment) เพื่อทดแทนการตัดจะงอยปาก ซึ่งทำให้ไก่ไม่มีการบาดเจ็บ

Cage free egg

นอกจากนี้ ในปี 2561 ยังได้เริ่มโครงการนำร่องเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระ (cage-free farm) ในโรงเรือนระบบปิด ซึ่งเป็นการเลี้ยงตามแนวทาง Biosecurity Hi-Tech Farming มีการเลี้ยงตามหลักอิสระ 5 ประการ แม่ไก่มีอิสระ ทำให้สุขภาพดี ทั้งร่างกายและจิตใจ จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

สำหรับธุรกิจสัตว์น้ำ เป็นการเลี้ยงแม่พันธุ์กุ้ง โดยไม่ตัดก้านตา (Female Non Eystalk Ablation) ซึ่งซีพีเอฟ นำนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ในธุรกิจเพาะฟัก และอนุบาลลูกกุ้ง ทำให้แม่พันธุ์กุ้งสร้าง และวางไข่ได้เองตามธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นต้องตัดก้านตา

น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ยังได้ดำเนินการวัดผลการส่งเสริมสวัสดิภาพของสัตว์ (Welfare Outcome Measures :WOMs) เน้นการประเมินสุขภาพสัตว์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งสัตว์ที่ได้รับสวัสดิภาพขั้นสูงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ จะสัมพันธ์กับลักษณะทางกายภาพ อารมณ์ และพฤติกรรมที่ดีของสัตว์ ซึ่งบริษัทใช้วิธีวัดผลดังกล่าวทั้งในประเทศไทย และกิจการต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยหลัก คือ อัตราการเลี้ยงรอด อัตราการเติบโต อัตราการสูญเสีย ปริมาณและคุณภาพซาก การแสดงออกพฤติกรรมทางธรรมชาติ เป็นต้น

“หลักอิสระ 5 ประการ และการเลี้ยงสัตว์ ในโรงเรือนระบบปิด ที่มีการบริหารจัดการฟาร์มตามมาตรฐานสากล ทำให้สัตว์ได้อยู่ในสภาพแวดล้อม และการปฏิบัติที่ดี ทำให้สัตว์สุขภาพดี ไม่เครียด ไม่ป่วย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยา ส่งผลดีต่อคุณภาพเนื้อสัตว์ และการผลิตอาหารคุณภาพดี ปลอดภัยอย่างยั่งยืน” น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าว

Cage Freeพฤติกรรมหลักอิสระ 5 ประการ

ซีพีเอฟ ยังยึดมั่นตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบ และสมเหตุผล ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติหนึ่งเดียวของธุรกิจปศุสัตว์ในกิจการทุกประเทศ ทั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของบริษัท และฟาร์มของเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ โดยไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะ ที่ผ่านการรับรองให้ใช้เฉพาะในคนเท่านั้น (Human-Only Anitbiotics) ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะที่ผ่านการรับรองให้ใช้ทั้งในคน และสัตว์ (Shared-Class Antibiotics) เพื่อวัตถุประสงค์เร่งการเจริญเติบโต และไม่ใช้ฮอร์โมน เพื่อวัตถุประสงค์เร่งการเจริญเติบโต (Growth Promoter)

“บริษัทให้ความสำคัญกับการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบ และสมเหตุผลในระดับสูงและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ของบริษัทฯ ในประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา และตุรกีไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะชนิด Shared-Class Antibiotics เพื่อการเร่งโตแล้ว” น.สพ. พยุงศักดิ์ กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo