COVID-19

พาสปอร์ตสุขภาพ ‘DHP’ ตัวช่วยเปิดประเทศปลอดภัย ยุค Travel Bubble

พาสปอร์ตสุขภาพ นวัตกรรมใหม่ เพื่อการเดินทางข้ามประเทศอย่างปลอดภัย หนึ่งในปัจจัยสำคัญ ของการทำ Travel Bubble ป้องกันระบาดรอบใหม่

จากนโยบายการเปิด Travel Bubble เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศ ที่สามารถจัดการโควิด – 19 ได้ดี หนึ่งในข้อกังวลที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบคือ ต้องไม่ให้เกิดการระบาดรอบใหม่ จากการเปิดประเทศ ซึ่ง พาสปอร์ตสุขภาพ หรือ DHP จะเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการป้องกัน

พาสปอร์ตสุขภาพ

หนังสือเดินทางสุขภาพ หรือ พาสปอร์ตสุขภาพ (Digital Helth Passport Application : DHP) เป็นนวัตกรรมที่นำมาใช้สำหรับตรวจสุขภาพผู้เดินทาง โดยจะทำหน้าที่ ดังนี้

  • บันทึกข้อมูลสุขภาพ
  • ช่วยในการเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยง
  • แจ้งระดับความเสี่ยง ยืนยันควมปลดภัยของผู้เดินทาง ออกมาเป็นสี เช่น สีเขียว-ปกติ, สีเหลือง-ความเสี่ยงน้อย, สีส้ม-ความเสี่ยงปานกลาง และสีแดง-ความเสี่ยงสูง
  • เสริมสร้างความมั่นใจให้ทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ
  • ไม่ละเมิดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
  • DHP

การใช้ หนังสือเดินทางสุขภาพ จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ในระดับหนึ่ง ในการเปิดประเทศ ที่ไทยจะเริ่มต้นด้วยการทำ Travel Bubble เนื่องจากผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ ต้องได้รับการตรวจหาเชื้อโควิด – 19 และยืนยันแล้วว่า มีผลการทดสอบโรคโควิด – 19 เป็นลบ พาสปอร์ตสุขภาพ จึงเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่รับรองสถานะสุขภาพของบุคคลว่า ปลอดโควิด – 19

วิธีการเบื้องต้นในการใช้ หนังสือเดินทางสุขภาพ ก่อนเข้าประเทศ ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น ที่มีข้อมูลการตรวจสุขภาพ หรือ หนังสือรับรองจากหน่วยงานในประเทศ และใบรับรองแพทย์ โดยเฉพาะการตรวจเชื้อโควิด – 19 หลังจากลงทะเบียนออนไลน์แล้ว ต้องจอง Test on Arrival และซื้อประกันโควิด-19

จากนั้น ในระหว่างการเดินทาง ต้องแสดงเอกสารได้แก่ ใบรับรองแพทย์ และหนังสือรับรองจากหน่วยงานไทย, สแกน คิวอาร์โค้ด เพื่อยืนยันข้อมูลสุขภาพ และรับการตรวจบนเครื่อง (Test on Arrival) เช่นการวัดอุณหภูมิ รวมทั้งยินยอมให้สามารถติดต่อได้ กรณีมีความเสี่ยง หรือพบการติดเชื้อ

ดังนั้น สรุปง่ายๆ ก็คือ หนังสือเดินทางสุขภาพ จะเป็นเครื่องบันทึกข้อมูลของนักเดินทาง ในด้านสุขภาพ ที่เน้นไวรัสโควิด – 19 และสามารถติดตามได้กรณีตรวจพบเชื้อ หรือพบความเสี่ยงที่จะติดเชื้อภายหลัง เช่น จากประเทศที่มา หรือบนเครื่องบินที่โดยสารมา เป็นต้น

DHP1

ปัจจุบัน มีรัฐบาลหลายประเทศ อยู่ระหว่างการเตรียมนำ หนังสือเดินทางสุขภาพ มาใช้ เพื่อพลิกฟื้นการเดินทาง และการท่องเที่ยว ตัวอย่างเช่น

  • ทางการของประเทศกรีซ อาจเปิดพรมแดนให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาด้วยพาสปอร์ตสุขภาพ โดยนักท่องเที่ยวจะต้องแสดงเอกสารบนสมาร์ทโฟน ก่อนขึ้นเครื่องบิน หรือเรือโดยสาร และจะถูกตรวจวัดอุณหภูมิเมื่อถึงจุดหมายปลายทาง
  • แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม เช่น เกาะซาร์เดญญา, เกาะคาปรี, เกาะอิสเคีย ในประเทศอิตาลี และหมู่เกาะแบลีแอริก ในประเทศสเปน อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทาง การนำพาสปอร์ตสุขภาพ มาใช้
  • รัฐบาลประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร กำลังพิจารณามาตรการยกเลิกการปิดเมือง ควบคู่ไปกับการหารือ ร่วมกับนักวิจัยและบริษัทเทคโนโลยี ถึงความเป็นไปได้ ในการพัฒนาพาสปอร์ตสุขภาพ ที่จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเข้าประเทศได้อย่างอิสระ

อย่างไรก็ตาม การนำพาสปอร์ตสุขภาพมาใช้ ยังมีข้อถกเถียง และข้อกังวล ถึงประสิทธิภาพ ของการตรวจสอบโรค โดยเฉพาะ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ที่ออกมาแสดงความเห็นว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่า ผู้ป่วยสามารถพัฒนาแอนติบอดี ที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัส ครั้งที่สอง หลังจากเข้ารับการรักษาโรคโควิด 19 จนหายดี

ดังนั้น WHO จึงมองว่า ยังไม่มีหลักฐานที่มากพอ เกี่ยวกับประสิทธิภาพทางทฤษฎี ของภูมิคุ้มกันแอนติบอดี ที่จะรับรองความถูกต้องแม่นยำของ หนังสือเดินทางสุขภาพ ขณะที่ประชาชน เข้าใจเอาเองว่า ตัวเองมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อครั้งที่สอง ทำให้อาจละเลยต่อคำแนะนำทางสาธารณสุข

WHO จึงเห็นว่า จำเป็นที่จะต้องมีการวิจัยมากขึ้น ก่อนที่จะนำพาสปอร์ตสุขภาพมาใช้ได้จริง ซึ่งแนวทางของการตรวจสุขภาพนี้ ควรใช้เป็นบรรทัดฐานเมื่อเดินทางโดยเครื่องบิน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo