Business

โฉมหน้าใหม่ อีคอมเมิร์ซ แข่งที่ความเร็ว สั่งชั่วโมงนี้ ส่งชั่วโมงถัดไป

โฉมหน้าใหม่ อีคอมเมิร์ซ รับยุค New Normal ใครเร็วกว่าได้ใจลูกค้า ตอบสนองความคาดหวังของผู้บริโภค ที่อยากได้รับสินค้าที่สั่งภายในชั่วโมงถัดไป

​สถานการณ์ระบาดของ เชื้อไวรัสโควิด-19 ผลักดันผู้บริโภคชาวไทย เปลี่ยนพฤติกรรม หันมาซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซมากขึ้น แทนที่การออกไปจับจ่ายสินค้า ตามสถานที่สาธารณะ เพื่อคงมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ส่งผลให้ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เติบโตอย่างต่อเนื่อง และเกิด โฉมหน้าใหม่ อีคอมเมิร์ซ รับยุค New Normal ขึ้น

แข่งที่ความเร็ว 01 scaled

ทั้งนี้ นอกเหนือจากการแพร่ระบาดของโควิด ที่ส่งผลเชิงบวก ให้แก่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซแล้ว ความคาดหวังต่อระยะเวลาในการขนส่งสินค้า ก็สั้นลงด้วยเช่นกัน เนื่องจาก ในช่วงก่อนโควิด หากผู้บริโภคต้องการสินค้าในทันที ก็สามารถออกไปซื้อสินค้าด้วยตนเองได้

แต่ในช่วงโควิด ซึ่งต้องซื้อสินค้าผ่าน ช่องทางอีคอมเมิร์ซ ผู้บริโภคที่ไม่อยากรอ ก็จะหาช่องทางที่ได้รับสินค้าเร็วที่สุด ทำให้เกิดการแข่งขัน เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว และส่งผลให้ รูปแบบของความคาดหวังของผู้บริโภค เริ่มเปลี่ยนไป

นั่นคือ จากเดิมที่ผู้บริโภคคาดว่า จะได้รับสินค้าภายในวันถัดไป (Next-day delivery) แต่ในปัจจุบัน ผู้บริโภคคาดหวังว่า จะได้รับสินค้าที่สั่งภายในชั่วโมงถัดไป (Next-hour delivery) โดยเฉพาะอาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภค

ภายใต้แนวโน้ม ความคาดหวังดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะกลายเป็น New normal หลังโควิด จึงส่งผลให้เกิด โฉมหน้าใหม่ อีคอมเมิร์ซ ซึ่ง ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ จึงจำเป็นต้องปรับปรุง และยกระดับการดำเนินงานในแต่ละจุด ของห่วงโซ่คุณค่าของตน เพื่อตอบโจทย์ และ ความคาดหวังดังกล่าว

ขนส่ง 1

นอกเหนือจากการเพิ่มเครือข่าย ศูนย์กระจายสินค้า และพัฒนาระบบขนส่งสินค้า ถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้ายแล้ว การบริหารโกดังสินค้า ให้มีประสิทธิภาพสูง ก็ถือเป็นส่วนสำคัญในการตอบโจทย์ เพิ่มขีดความสามารถ ในการขนส่งสินค้าได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ อีมาร์เก็ตเพลส และผู้ประกอบการค้าปลีก โมเดิร์นเทรด ซึ่งมักต้อง บริหารโกดังสินค้า ขนาดใหญ่ ควรนำระบบโกดังสินค้าอัตโนมัติ มาใช้ ซึ่งช่วยลดระยะเวลา การตอบสนองคำสั่งซื้อจากลูกค้า

นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันปัญหาขาดแคลนแรงงาน ที่ผู้ประกอบการประสบในปัจจุบัน จากการที่แรงงานรุ่นใหม่ มองว่างาน บริหารโกดังสินค้า เป็นงานยากลำบาก สะท้อนจากจำนวนผู้ใช้แรงงานหดตัวกว่าร้อยละ 6.5 ต่อปี ในช่วงสองปีที่ผ่านมา

เมื่อพิจารณาถึงเทคโนโลยี ที่เกี่ยวกับโกดังสินค้าอัตโนมัติ พบว่า ระบบชั้นวางสินค้าอัตโนมัติ (AS/RS) มักเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในโรงงานผลิตสินค้า

รับสินค้า

อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีดังกล่าว ก็มีข้อจำกัด ที่ต้องกำหนดโครงสร้างชั้นวาง และสายพานลำเลียงสินค้า ภายในโกดัง แบบเฉพาะเจาะจง และไม่สามารถขยายหรือเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ทำให้ขาดความยืดหยุ่น ที่จะใช้กับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งมีพลวัตรของการเปลี่ยนแปลง ความนิยมในตัวสินค้าแต่ละประเภทสูง เพื่อตอบสนองความต้องการในจุดนี้

เทคโนโลยีรถขนส่งอัตโนมัติ (Automatic Guided Vehicle: AGV) จึงเข้ามาเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่สำคัญ สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โดยใช้หุ่นยนต์รถบรรทุก ที่สามารถวิ่งค้นหา และหยิบสินค้าได้เองโดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดความยืดหยุ่นสูง ในการเปลี่ยนแปลงแบบแปลน โดยเฉพาะในชั้นวางสินค้า

สำหรับเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ ในแง่ของการลดระยะเวลาการค้นหา และหยิบสินค้าจากชั้นวาง ได้กว่าร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคน ในขณะเดียวกัน ก็สามารถทดแทนแรงงานคน ได้ราว 3.4 คน ต่อการใช้งานรถ AGV หนึ่งคัน ในระยะเวลาทำงานในโกดังสินค้าหนึ่งวัน

ปัจจุบัน ในประเทศไทยเอง เริ่มมีผู้ประก​อบการ ในอุตสาหกรรมขนส่ง ที่นำระบบ AGV เข้ามาใช้งาน ในภาคขนส่ง ประกอบกับ มีผู้จัดจำหน่าย AGV โดยเฉพาะ เกิดขึ้นหลายแห่ง รวมไปถึงเริ่มมีผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ วางแผนลงทุนเทคโนโลยีดังกล่าว ทำให้เทคโนโลยี AGV น่าจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอนาคตอันใกล้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo