Business

ค้าปลีก New Normal แข่งออนไลน์เดือด ซัด อีมาร์เก็ตเพลส ขาดทุนต่อเนื่อง

ค้าปลีก New Normal ส่งผลผู้ประกอบการ หันมาแข่งขันบนโลกออนไลน์ดุเดือด แต่กำลังซื้อผู้บริโภคไม่ฟื้นตัว พ่นพิษอีคอมเมิร์ซโต แต่ชะลอตัว ที่ 8-10%

​ผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคเกิดการปรับตัว มาซื้อสินค้าทางออนไลน์กันมากขึ้น จนเกิดเป็นสภาวะ ค้าปลีก New Normal ในช่วงที่มีการกักตัวหรืองานอยู่ที่บ้าน

ค้าปลีก New Normal

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการค้าปลีก ต่างก็ต้องเร่งปรับตัว ให้ทันกับพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อหาช่องทางสร้างรายได้ ด้วยข้อจำกัดในเรื่องของการออกไปใช้จ่ายนอกบ้าน และความกังวลในเรื่องของ สุขภาพ ส่งผลให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์ มีการขยายตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการค้าปลีก ต่างเผชิญการแข่งขันที่รุนแรง และยากลำบากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ อีมาร์เก็ตเพลส (E-Market place) ต่างชาติ ซึ่งเน้นจำหน่ายสินค้าฟุ่มเฟือย หรือสินค้าไม่จำเป็น เช่น สินค้าแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน อุปกรณ์ไอที ของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า อีมาร์เก็ตเพลส ต่างชาติ ต้องเผชิญความท้าทาย และแรงกดดันรอบด้าน ทั้งจากกำลังซื้อที่ยังอ่อนแรง และไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้เร็ว การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ในกลุ่มสินค้า Non-food กับ กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าปลีก กลุ่มสินค้าเฉพาะ ที่มีเว็บไซต์ หรือ แบรนด์ของตนเอง อีกทั้งยังต้องแข่งขันกับ กลุ่มโมเดิร์นเทรด และโซเชียล คอมเมิร์ซ ที่โหมเจาะตลาดสินค้า กลุ่มอาหาร และอุปโภคบริโภค

ค้าปลีก New Normal

จากสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้คาดว่า หลังวิกฤติโควิด-19 บทบาทของ อีมาร์เก็ตเพลส ต่างชาติ ในตลาดรวมของ อีคอมเมิร์ซไทย น่าจะเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่มีความได้เปรียบ และมีบทบาทมาก โดยในระยะข้างหน้า ต้องเผชิญการแข่งขัน ที่มีแนวโน้มรุนแรง จากปัจจัยที่กล่าวไปข้างต้น

นอกจากนี้ ยังต้องทำการอัดโปรโมชั่น เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการใช้จ่าย บนแพลตฟอร์มของตนเอง จึงคาดว่าผลประกอบการ จะยังคงขาดทุนต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 30-40% ต่อปี และถือเป็นการขาดทุนมาโดยตลอด เฉลี่ย 46% ต่อปี นับตั้งแต่ปีที่ผู้ประกอบการ อีมาร์เก็ตเพลส กลุ่มดังกล่าว เริ่มเข้ามาลงทุนแพลตฟอร์ม และทำตลาดค้าปลีกออนไลน์ในไทย

แม้ว่าโควิด-19 จะช่วยกระตุ้นให้ตลาดค้าปลีกออนไลน์ เติบโตขึ้นจากการเข้าสู่สภาวะ New normal แต่อีกส่วนหนึ่ง ก็กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคที่หดตัว  จึงทำให้ผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและประหยัด

shopping

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงประเมินว่า ตลาดค้าปลีกออนไลน์ B2C E-Commerce ในปี 2563 จะยังคงขยายตัวราว 8-10% แต่ก็เป็นอัตราที่ชะลอลง เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ที่ขยายตัวราว 20% โดยกลุ่มสินค้าอาหาร และของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวัน น่าจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้น

ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยอย่างกลุ่มแฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า น่าจะได้รับผลกระทบ จากกำลังซื้อที่อ่อนแรง และคงใช้เวลาในการฟื้นตัวที่นานกว่า

ด้านข้อมูลจาก “Priceza”  เครื่องมือค้นหาสินค้า และบริการ เปรียบเทียบราคา ระบุว่า ปัจจุบัน ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย มีมูลค่าเพียง 3% จากตลาดค้าปลีกทั้งหมดในประเทศ จึงเห็นได้ว่า ยังมีโอกาสอีกมาก ที่ ตลาดอีคอมเมิร์ซ ในประเทศไทย จะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์จากข้อมูล ETDA พบว่า สัดส่วนมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซไทย เฉพาะ B2C (Business-to-Consumer) และ C2C (Consumer to Consumer) ในปี 2562 มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยพบว่าช่องทาง อีมาร์เก็ตเพลส เป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้ ในการซื้อของออนไลน์ ในสัดส่วนมากขึ้น จากปี 2561 อยู่ที่ 35% เติบโตมาเป็นสัดส่วนมากถึง 47% ในปี 2562

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo