COVID-19

รับผู้ป่วยนอกวิถีใหม่ ยึดหลัก 3 ประการ เน้นปลอดภัยทั้ง ผู้รับ – ผู้ให้บริการ

รับผู้ป่วยนอกวิถีใหม่ กรมการแพทย์ จับมือภาคีเครือข่าย พัฒนาระบบบริการ เน้นความปลอดภัย ลดการแออัด และ ลดความเหลื่อมล้ำ ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข

นายแพทย์ ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดี กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ในสถานการณ์การระบาดของ โรคโควิด-19 ทำให้มีความจำเป็นต้อง ปรับระบบบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ โดยเฉพาะแผนกผู้ป่วยนอก (OPD) ที่มีผู้ป่วยมาใช้บริการมากที่สุด เพื่อรับผู้ป่วยนอกวิถีใหม่

รับผู้ป่วยนอกวิถีใหม่

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมการแพทย์ ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย  ได้พัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอกวิถีใหม่ เพื่อความปลอดภัยของผู้มารับบริการและบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอย และลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค ได้รับบริการที่มีคุณภาพ เหมาะสมกับภาวะความเจ็บป่วยที่แตกต่างกันในแต่ละราย

สำหรับการ รับผู้ป่วยนอกวิถีใหม่ ดังกล่าว จะมุ่งเน้นหลัก 3 ประการ ได้แก่ 1. สร้างความปลอดภัยให้ประชาชน ที่มารับบริการที่โรงพยาบาล 2. ลดความแออัดในโรงพยาบาล และ 3. ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช
นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช

การดำเนินการด้านความปลอดภัยนั้น จะเน้นลดโอกาสติดเชื้อ ทั้งผู้มารับบริการ และบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน โดยจะมีการคัดกรองผู้ป่วย ก่อนมาโรงพยาบาล ผ่านแอปพลิเคชัน มีจุดคัดกรองที่โรงพยาบาล และจัดจุดบริการผู้ป่วยที่อาจติดเชื้อ แยกจากผู้ป่วยอื่น เมื่อไปพบแพทย์ที่ห้องตรวจ จัดสถานที่/ที่นั่งให้มีการเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร มีจุดล้างมือ/ แอลกอฮอล์เจล

นอกจากนี้ ผู้รับบริการและเจ้าหน้าที่ ต้องสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าตลอดเวลา ทำความสะอาดจุดเสี่ยงสัมผัสต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู ราวจับ เก้าอี้พักคอย ปุ่มลิฟต์ เครื่องวัดความดันโลหิต ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ฉากป้องกันขณะให้บริการ ปรับโครงสร้าง และระบบไหลเวียนอากาศ ให้ถ่ายเทตามมาตรฐานการควบคุมโรค แยกโซนบริการ ตามความเสี่ยงของผู้ป่วย และใช้ระบบลดการสัมผัส ต่าง ๆ เช่น ประตูอัตโนมัติ การจ่ายเงินผ่าน QR code

ผู้ป่วย1

ขณะที่ การลดความแออัด จะจำกัดจำนวนญาติ ไม่ควรเกิน 2 คน การลงทะเบียน/ตรวจสอบสิทธิ์/นัดเวลาตรวจ ออนไลน์ ก่อนมาโรงพยาบาล เมื่อมาถึงโรงพยาบาลแล้ว มีระบบตรวจรักษาทางไกล สำหรับผู้ป่วยเก่า ที่ควบคุมโรคได้ดี การรับยาผ่านช่องทางด่วน ในกรณีนัดที่ไม่ต้องพบแพทย์ การรับยาร้านยาใกล้บ้าน การส่งยาทางไปรษณีย์  หรือ อสม.ส่งยาถึงบ้าน เป็นต้น

ด้าน นายแพทย์ สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการ สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ กล่าวว่า สำหรับการแยกโซนบริการ ตามความเสี่ยง จะแบ่งเป็น 1. คลินิกทั่วไป ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่ำ (สีเขียว) เช่น คลินิกโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง

2. คลินิกที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อสูง (สีแดง) เช่น คลินิกโรคทางเดินหายใจ และ 3. คลินิกผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย (สีเหลือง) เช่น คลินิกโรคมะเร็ง คลินิกปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผู้ป่วยรับยากดภูมิคุ้มกัน ทุกโซนจัดการตามมาตรฐานการควบคุมโรค และจัดบริการที่แตกต่างกันตามสภาวะของผู้ป่วย

การจัดโซนนิ่งให้บริการที่แตกต่างกัน และมีมาตรการที่แตกต่างกัน เนื่องจาก กลุ่มที่สามารถควบคุมโรคดี อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลใกล้ชิดจากแพทย์  คนไข้ไม่จำเป็นต้องมา โรพยาบาล บ่อยๆ สามารถดูแลตัวเองได้ แต่ กลุ่มสีแดง จำเป็นต้องติดตามอาการ และการรักษาอย่างใกล้ชิด ซึ่งทำให้มีระบบการให้บริการต่างกัน

อย่างไรก็ตาม การจัดโซนนิ่ง ในการให่บริการดังกล่าว อาจจะไม่สามารถทำพร้อมกันหมด ในทุกโรงพยาบาล โดยขึ้นอยู่กับ ศักยภาพของแต่ละ โรงพยาบาล ที่ต้องค่อย ๆ ปรับไป” นายแพทย์ สกานต์ กล่าว

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo