Business

ทำไมสาวจีนหลงใหลทุเรียนไทย! 4 เดือนส่งออกไปแล้ว 1.76 หมื่นล้าน

ส่งออกทุเรียนไทย กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2563 ปริมาณทุเรียนไทยที่ส่งออกไปตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบปีก่อน ในช่วงเวลาเดียวกัน ไทยค้าขายทุเรียนมูลค่ารวม 567 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.76 หมื่นล้านบาท) ให้แก่จีนเพิ่มขึ้นถึง 78% เมื่อเทียบปีก่อน

กลุ่มเกษตรกรเปิดเผยว่ายอด ส่งออกทุเรียนไทย ไปตลาดต่างประเทศยังไม่ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เนื่องจากความต้องการจากจีนที่เพิ่มสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2563 ปริมาณทุเรียนไทยที่ส่งออกไปตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 30% เมื่อเทียบปีก่อน ในช่วงเวลาเดียวกัน ไทยค้าขายทุเรียนมูลค่ารวม 567 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.76 หมื่นล้านบาท) ให้แก่จีนเพิ่มขึ้นถึง 78% เมื่อเทียบปีก่อน

ส่งออกทุเรียนไทย

 

เจ้าของสวนทุเรียนชาวไทยระบุว่า “พอโรคเข้ามา คนก็กลัวมากครับ กลัวราคาทุเรียนจะตกต่ำครับ แล้วพอผลไม้ออกกันจริงจัง พวกซื้อเขาก็ราคาสูงครับ สูง ราคาพอได้ครับ ก็เป็นตลาดใหญ่ ประเทศจีน ถ้าประเทศไทยไม่มีส่งจีนนี่ก็คงจะแย่แน่”

อาลีบาบา กรุ๊ป (Alibaba Group) ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซของจีน ร่วมมือกับรัฐบาลไทยช่วยผลักดันให้เกษตรกรไทยมีการเติบโตในต่างประเทศ ด้านกระทรวงพาณิชย์ของไทยเองก็หวังร่วมมือกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน เพื่อขยายยอดขายของสินค้าไทย

ทั้งนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของไทย เปิดเผยว่าก่อนเกิดวิกฤตการณ์โรคโควิด-19 ไทยเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดเมื่อปี 2019 ด้านกระทรวงพาณิชย์ ระบุ การส่งออกทุเรียนของไทยมีมูลค่าแตะ 817 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.53 หมื่นล้านบาท) เมื่อปีที่แล้ว

ฤดูกาลทุเรียนครั้งที่แล้ว เธอขายทุเรียนได้มากถึงราว 1,000 กิโลกรัมต่อวัน

หวงอิ๋นอิง ผู้ค้าทุเรียนกล่าวว่า ทุเรียนเป็นผลไม้รสหวาน ผู้คนจึงชอบเรียกมันว่า ‘ราชินีแห่งผลไม้‘ พวกผู้หญิงคลั่งไคล้มันมาก การรับประทานทุเรียน ทำให้พวกเธอมีรอยยิ้ม

ย้อนดูที่มา

เราติดตามการเดินทางของทุเรียนล็อตนี้ เพื่อดูว่าความหลงใหลในทุเรียนของชาวจีนมีส่วนช่วยกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาดอย่างไร

ส่งออกทุเรียนไทย เริ่มต้นที่จุดแรก ‘ท่าเรือ

ในเดือนมีนาคมปีนี้ ท่าเรือหนานซาของกลุ่มท่าเรือกว่างโจว ซึ่งเป็นท่าเรือหลักของส่วนกลางและท่าเรือตู้สินค้าคอนเทนเนอร์ที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของจีน ได้เปิดเส้นทางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ 5 เส้นทางเพื่อทำการค้ากับต่างประเทศ

เส้นทางเหล่านี้ดำเนินการโดยบรรดาบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการขนส่ง เช่น เมอร์ซ (Maersk) เอเวอร์กรีน มารีน (Evergreen Marine) เอสไอทีซี (SITC) และอื่นๆ

เส้นทางค้าใหม่ทั้งห้าสายนี้คาดว่าจะถูกใช้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือหนานซาของกลุ่มท่าเรือกว่างโจวไปยังกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เข้าร่วมแผนริเริ่ม ‘หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง‘ เช่น ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย

ผลไม้สดรวมถึงทุเรียน มะพร้าว และส้มโอ ล้วนเป็นสินค้านำเข้าอันดับต้นๆ

สำหรับไตรมาสแรกของปีนี้ มณฑลกว่างตงมีตัวเลขการค้ากับกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้น7.7%  เมื่อเทียบกับสถิติของปีก่อน ขณะที่ปริมาณการค้าต่างประเทศโดยรวมลดลงเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19

หลานลี่หนง รองผู้จัดการท่าบริการตู้สินค้ากว่างโจว เซาธ์ไชน่า โอเชียนเกต (Guangzhou South China Oceangate) กล่าวว่า “การขนส่งทางทะเลที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเรือเต็มไปด้วยสินค้า และมีลูกเรือเป็นส่วนน้อย ดูจะไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคสักเท่าไหร่

การเดินทางใช้เวลาไม่ถึง 4 ชั่วโมง และทุเรียนนำเข้าเหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากไทยก็จะถูกส่งไปยัง จุดถัดไป นั่นคือ ‘ตลาด

ตลาดผลไม้และผักเจียงหนานเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ของจีน และสามารถขับรถจากท่าเรือไปถึงในเวลาเพียง 90 นาที

“กัวกุ้ยเซิง” ขายทุเรียนมา 7 ปี เขารู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับทุเรียน

กัวกุ้ยเซิง ผู้ขายผักและผลไม้สด ให้สัมภาษณ์ว่าคนจีนชอบทุเรียนสายพันธุ์หมอนทอง” ที่สุด และทุเรียนดังกล่าวก็เป็นสินค้าส่งออกหลักของไทย ซึ่งผมคาดว่ามันจะทำยอดขายได้ถึง 30,000 ถึง 50,000 ลูกในฤดูกาลทุเรียนนี้ สูงกว่าสถิติเมื่อ 7 ปีที่แล้วถึง 10 เท่า ทุเรียนเป็นที่นิยมมากในภาคใต้ของจีน ขณะที่ชาวจีนในภาคเหนือก็มีความต้องการบริโภคสูงขึ้น เนื่องจากผู้คนจำนวนมากชื่นชอบรสชาติของทุเรียน ร้านอาหารและร้านเบเกอรีหลายแห่ง จึงเพิ่มทุเรียนเข้าไปในเมนูอาหารและของหวานของพวกเขา ด้วยหวังจะยั่วยวนสาวกทุเรียนให้เข้ามาลิ้มลอง ทว่าสำหรับประเด็นที่ว่าปีนี้จะเป็นปีทองของทุเรียนหรือไม่ ยังยากที่จะสรุป เนื่องจากเรายังไม่เห็นชัดเจนว่าโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุเรียนมากขนาดไหน และเรายังต้องคำนึงถึงปริมาณและคุณภาพของทุเรียนในไทยเช่นเดียวกับความต้องการในจีน ซึ่งผมหวังว่ามันจะเป็นปีที่ดี

ส่งออกทุเรียนไทย

ส่งออกทุเรียนไทย ดีมาจากความต้องการบริโภคทุเรียนของจีนเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 การส่งออกทุเรียนไปยังประเทศจีนมีมูลค่าสูงถึง 425 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.37 หมื่นล้านบาท)

สถิติจากกระทรวงพาณิชย์ของไทยยังชี้ให้เห็นถึงความนิยมที่พุ่งสูงเช่นกัน โดยในปี 2562 ไทยมีมูลค่ารวมของผลไม้สด ผลไม้แช่แข็ง และผลไม้แห้งที่ส่งออกไปยังจีน สูงถึง 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  (ราว 7.78 หมื่นล้านบาทโดยมีอัตราการเติบโตที่ 90.46%

ปัจจุบัน จีนกำลังร่วมมือกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 เป็นที่คาดว่าฤดูกาลทุเรียนในปีนี้จะช่วยกระตุ้นการค้าต่างประเทศ และฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาด ทั้งสำหรับจีนและประเทศอื่นๆ ในโลก

ที่มา:สำนักข่าวซินหัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight