Business

ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม! ถือ ‘บัตรคนจน’ รับเงินเยียวยาโควิด 3 พันบาทอัตโนมัติ

อยู่เฉยๆ ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม! ผู้ถือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ-บัตรคนจน” 1.1 ล้านคนที่ไม่เคยได้เงินเยียวยา เตรียมรับเงินช่วยเหลือโควิด-19 อัตโนมัติ จำนวน 1 พันบาท นาน 3 เดือน

 

บัตรคนจน-เราไม่ทิ้งกัน-อาชีพอิสระ-เกษตรกร

เมื่อวานนี้ (16 มิ.ย. 63) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติโครงการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนจากผลกระทบไวรัสโควิด-19 ภายใต้ พ.ร.ก.กู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาทเพิ่มเติม จำนวน 4 โครงการ สำหรับ 4 กลุ่ม คือ

  • ผู้ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ลงทะเบียนโครงการเราไม่ทิ้งกัน
  • กลุ่มเปราะบาง
  • เกษตรกร

บัตรคนจน บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

บัตรคนจน รับเงิน 3 พันบาท

โครงการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 สำหรับ ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน จำนวน 1,164,222 คน ที่ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการอื่นๆ ของภาครัฐมาก่อน

ผู้ถือ บัตรคนจน ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่มเติม โดยจะได้รับเงินผ่านบัตรคนจนเดือนละ 1,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563 แบบอัตโนมัติ รวมแล้ว 3,000 บาท ซึ่งใช้กรอบงบประมาณรวมกว่า 3 พันล้านบาท

นอกจากวงเงินเยียวยาโควิด-19 จำนวน 3,000 บาทดังกล่าวแล้ว ผู้ถือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังได้รับสิทธิ์ประโยชน์ 7 ด้านในปัจจุบัน ได้แก่

สิทธิ์ที่ 1 วงเงินซื้อสินค้าอุปโภค-บริโภค คนละ 200-300 บาทต่อเดือน

สิทธิ์ที่ 2 ส่วนลดสำหรับการซื้อก๊าซหุงต้มกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ

สิทธิ์ที่ 3 ค่าเดินทาง/รถโดยสารสาธารณะ

สิทธิ์ที่ 4 เงินพิเศษผู้สูงอายุ

สิทธิ์ที่ 5 เงินคืนภาษี VAT 5%

สิทธิ์ที่ 6 ส่วนลดค่าไฟ

สิทธิ์ที่ 7 ส่วนลดค่าน้ำประปา

เงินเยียวยาเราไม่ทิ้งกัน

เก็บตกโครงการเราไม่ทิ้งกัน

โครงการช่วยเหลือเยียวยาสำหรับ ผู้ลงทะเบียนเราไม่ทิ้งกันไม่สำเร็จ โดย กระทรวงการคลัง รวบรวมข้อมูลได้ 302,000 คน ใช้กรอบวงเงินงบประมาณไม่เกิน 906 ล้านบาท

ทั้งนี้ ต้องตรวจสอบว่า ประชาชนกลุ่มนี้ไม่เคยได้รับการเยียวยาจากหน่วยงานอื่นๆ ได้แก่ กระทรวงการคลัง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และไม่ใช่ผู้ประกันตนในระบบสังคมมาตรา 33

โดยที่ประชุม ครม. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ไปจัดทำรายละเอียดและกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน จากนั้นเสนอให้คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการใช้เงินกู้ 1 ล้านล้านบาทฯ พิจารณาให้แล้วเสร็จใน 1 เดือน

อย่างไรก็ตาม นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กลุ่มตกหล่นมาตรการ “เราไม่ทิ้งกัน” กว่า 3 แสนราย จะไม่ได้เงิน 5,000 บาท 3 เดือน หรือ 15,000 บาทต่อคน เหมือน 15.1 ล้านคนก่อนหน้านี้ เพราะลักษณะกับคุณสมบัติแตกต่างกันแล้ว และสามารถกลับมาค้าขายได้เหมือนเดิมแล้ว

ส่วนจะได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาเป็นเท่าไหร่นั้น ให้ สศค. ไปพิจารณาความเหมาะสมอีกครั้ง เพื่อเสนอขอใช้เงินกู้จากคณะกรรมการกลั่นกรอง โครงการเลขาสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นประธาน

กลุ่มเปราะบาง ๒๐๐๖๑๗ 0001

กลุ่มเปราะบาง โอนเงินเดือนนี้

โครงการเยียวยา กลุ่มเปราะบาง ตามที่ ครม. เคยเห็นชอบในหลักการมาแล้ว โดยเมื่อตรวจสอบไม่ให้ซ้ำซ้อนกับการเยียวยามาตรการ อื่นๆ พบกลุ่มเปราะบางเข้าข่ายได้รับการเยียวยา จำนวน 6.7 ล้านคน แบ่งเป็น

  • เด็กแรกเกินถึง 6 ปี จากครอบครัวยากจน 1.3 ล้านคน
  • ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 4 ล้านคน
  • ผู้พิการ 1.3 ล้านคน

ทั้งนี้ การจ่ายเงิน จะจ่ายให้รายละ 1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2563  โดยเพิ่มเติมจากเงินอุดหนุนเดิมที่เคยได้รับ ได้แก่ เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด, เบี้ยความพิการ และเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ช่องทางการจ่ายเงินเยียวยามี 2 ช่องทางคือ 1.กรมบัญชีกลาง โอนเงินช่วยเหลือเยียวยาโดยตรงไปยังบัญชีธนาคารของกลุ่มเป้าหมาย ที่เคยได้รับเงินอุดหนุนรายเดือนผ่านบัญชีธนาคารอยู่เดิม หรือ 2. กรมบัญชีกลาง โอนเงินไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะนำจ่ายเป็นเงินสด ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ที่แต่เดิมรับเงินอุดหนุนรายเดือนเป็นเงินสดอยู่แล้ว

เงินจะโอนเข้าเดือนมิถุนายน 2 งวด รวม 2,000 บาท และเดือนกรกฎาคม 1 งวด อีกจำนวน 1,000 บาท รวมต้องใช้กรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท

ตรวจสอบสถานะโอนเงินเยียวยาเกษตรกร

ขยายเวลาลงทะเบียน เยียวยาเกษตรกร

โครงการช่วยเหลือ เกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพิ่มเติม จากที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จ่ายไปแล้ว 7 ล้านรายในงวดแรก

  • ครม. เห็นชอบเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย “เกษตรกรที่ด้อยโอกาสและยังไม่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร” จำนวน 137,093 ราย โดยต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และยังไม่เคยได้รับการเยียวยาซ้ำซ้อนจากมาตรการอื่นๆ โดยเกษตรกรกลุ่มนี้ จะอยู่ในภายใต้กลุ่มเป้าหมายการเยียวยาเกษตรกร 10 ล้านคนที่กระทรวงเกษตรฯ เคยวางไว้
  • ครม. เห็นชอบขยายเวลาการจ่ายเงินให้เกษตรกร สำหรับ “เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบโควิด-19 แต่ไม่สามารถขึ้นทะเบียนและปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรได้สมบูรณ์ทันกำหนดในวันที่ 15 พฤษภาคม 2563” จำนวน 120,000 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรในฤดูกาลที่แล้ว แต่ฤดูกาลนี้ขึ้นทะเบียนไม่ทันวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 จึงให้ขยายเวลาการลงทะเบียนกลุ่มนี้ไปจนถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo