Business

หุ้นเด่นร้านอาหาร ‘เอ็มเค vs อาฟเตอร์ยู’ เวลานี้เป็นยังไง?

 จับตาหุ้นเด่นร้านอาหาร เอ็มเค vs อาฟเตอร์ยู เวลานี้ หลังจากธุรกิจร้านอาหารโดยรวมได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มาถ้วนหน้า 

ต้องบอกว่าโมเมนตัมของธุรกิจร้านอาหารในเวลานี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน แม้ขณะนี้สถานการณ์โดยรวมจะเริ่มคลี่คลายลงแล้ว แต่ก็ยังไม่ใช่ภาวะปกติอยู่ดี

เหมือนที่เราจะเห็นว่า Chain Restaurant จำนวนมากต้องปิดตัวลงในช่วงวิกฤติ COVID-19 และธุรกิจร้านอาหารที่มีหน้าร้าน ก็ต้องพยายามเปลี่ยนไปเป็น Delivery มากขึ้น หรือหามุมขายใหม่ๆ มาตอบโจทย์ลูกค้า

อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนกลับไปในช่วงปี 2558 – 2561 ธุรกิจร้านอาหาร คือ กลุ่มที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาทานอาหารนอกบ้านจนเป็นวิถีชีวิตปกติ โดยในตลาดหลักทรัพย์ไทย (SET และ mai) มีบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับอาหาร 56 บริษัท มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม 1 ล้านล้านบาท หรือ 6.5% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด 

เอ็มเคvsอาฟเตอร์ยู

และเมื่อเจาะลึกลงไปในธุรกิจร้านอาหารแล้ว ผลสำรวจจาก SET Well-Being Index พบว่า มีหุ้นไทย 2 ตัวที่ ติดอันดับ Top50 ของโลก ได้แก่ AU และ M นั่นเอง ดังนั้น วันนี้เราจะมาเจาะโครงสร้าง และรายละเอียดของหุ้นทั้ง 2 ตัว กันว่าในช่วง COVID-19 พวกเขาเป็นอย่างไรบ้าง ได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน ?

AU : บริษัท อาฟเตอร์ ยู จำกัด (มหาชน)

ดำเนินธุรกิจหลักจำหน่ายขนมหวาน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) ธุรกิจร้านขนมหวาน ภายใต้ชื่อ “อาฟเตอร์ ยู” และ “ร้านเมโกริ” (2) ธุรกิจบริการจัดงานนอกสถานที่และการรับจ้างผลิต

สรุปผลประกอบการไตรมาส 1/2563 

รายได้รวม : 220.02 ล้านบาท ลดลง 31.53% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 289.41 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) : 118.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.61% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 116.54 ล้านบาท

อัตรากำไรขั้นต้น : 62.18% ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 65.07%

กำไรสุทธิ : 13 ล้านบาท ลดลง 78% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 59.68 ล้านบาท

ภาพรวมรายได้ของบริษัทที่ลดลง เพราะได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจากยอดขายต่อสาขา (SSSG) ที่ลดลงสองไตรมาสติดแล้ว เนื่องจากสาขาของ AU ส่วนใหญ่อยู่บนห้าง และพึ่งพานักท่องเที่ยวพอสมควร 

ขณะเดียวกัน จะเห็นว่า SG&A ไม่ได้ลดตาม แต่กลับเพิ่มด้วยซ้ำทั้งที่ช่วงปลายมีนาคมเปิดสาขาไม่ได้ ซึ่งน่าจะมาจากค่าธรรมเนียมการใช้บริการของแพลตฟอร์มส่งอาหารต่างๆ อย่าง Grab, Food Panda , Line Man

เอ็มเค vs อาฟเตอร์ยู

M : บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ธุรกิจร้านอาหาร “เอ็ม เค สุกี้” ร้านอาหารญี่ปุ่น “ยาโยอิ” “ฮากาตะ” และ “มิยาซากิ” ร้านอาหารไทย “ณ สยาม” และ “เลอสยาม” ร้านกาแฟ/เบเกอรี่ “เลอ เพอทิท”

สรุปผลประกอบการไตรมาส 1/2563 

รายได้รวม : 3,876.78 ล้านบาท ลดลง 14.95% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 4,456.42 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) : 2,187.50 ล้านบาท ลดลงขึ้น 1.35% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 2,217.53 ล้านบาท

อัตรากำไรขั้นต้น : 65.14% ลดลงจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 66.84%

กำไรสุทธิ : 340.18 ล้านบาท ลดลง 108.63% จากงวดเดียวกันของปีก่อนที่ทำได้ 709.75 ล้านบาท

การปิดห้างกะทันหันทำให้ยอดขายต่อสาขา (SSSG) ของเอ็มเค หายไปพอสมควร แม้ SG&A จะลดลงได้ แต่ก็เป็นจำนวนที่เล็กน้อย เพราะลักษณะของธุรกิจมี Fixed Cost จำนวนมาก กระทบมาถึงกำไรสุทธิที่หายไปกว่า 100% ทีเดียว 

อย่างไรก็ดี เอ็มที เป็นบริษัทที่มีกลยุทธ์ปรับตัวรวดเร็ว และชัดเจนที่สุดแห่งหนึ่ง อย่างการตลาดสุกี้หม้อเดี่ยว อาหารจานเดียว เป็นต้น 

สุดท้ายก็ต้องบอกว่าทุกบริษัทได้รับผลกระทบถ้วนหน้า แต่ทั้ง M และ AU ถือเป็นบริษัทที่มีโครงสร้างงบแข็งแรง ยังทำกำไรได้ แม้ว่าจะลดลง และจุดสำคัญคือยังมีอัตรากำไรที่สูงอยู่ ซึ่งตอนนี้ร้านอาหารกลับมาเปิดกันแล้วด้วยรูปแบบใหม่ แม้จะต้องจำกัดจำนวนคนนั่งต่อโต๊ะ เพิ่มมาตรการดูแลเรื่องความสะอาดมากขึ้น ก็ต้องมาติดตามกันต่อว่า รายได้ที่เข้ามาจะเพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหรือเปล่า

Avatar photo