Economics

นักลงทุนจีนสนลงทุนอาคารผู้โดยสาร 3 สนามบินอู่ตะเภา

นักลงทุนจีนสนใจลงทุนอาคารผู้โดยสาร แห่งที่ 3 สนามบินอู่ตะเภา เหตุศักยภาพสูงรองรับผู้โดยสารได้กว่า 60 ล้านคนใน 15 ปีพร้อมรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินย่นเวลาเข้ากทม. 

152194

พลเรือตรีลือชัย ศรีเอี่ยมกุล ผู้อำนวยการท่าอากาศยานอู่ตะเภา เปิดเผยถึงโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา หนึ่งในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC ) ว่ามี 7 โครงการสำคัญที่จะพัฒนาบนพื้นที่ 6,500 ไร่ ประกอบด้วย

  1.  โครงการก่อสร้างเส้นทางวิ่ง (Runway) เส้นที่ 2 ขนาดความกว้าง 3.5 เมตร ยาว 60-70 เมตร
  2. โครงการอาคารผู้โดยสาร แห่งที่ 3 (Terminal 3  )
  3. ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน(MRO)
  4. ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรทางการบิน  (Aviation Training Center )
  5. การขนส่งทางอากาศ (Air Cargo)
  6. เขตการค้าเสรี (Free Trade Zone)
  7. ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway)

ในส่วนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากที่สุด ก็คือโครงการอาคารผู้โดยสาร แห่งที่ 3 เนื่องจากศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการบินของไทย

โครงการนี้มีเป้าหมายเบื้องต้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่สนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ รับนักท่องเที่ยวเต็มศักยภาพ 50 ล้านคนแล้ว และเริ่มแออัดไม่สามารถขยายพื้นที่รองรับนักท่องเที่ยวได้

อาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ของสนามบินอู่ตะเภาจะรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มได้อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ

ระยะแรกรองรับผู้โดยสาร 15 ล้านคน กำหนดจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2566 และขยายสู่ระยะ 2 รับเพิ่มได้เป็น 30 ล้านคน และ 60 ล้านคนภายใน15 ปี  จากปัจจุบันรองรับได้ 3-5 ล้านคน

โครงการนี้จะเป็นลักษณะหาผู้ร่วมทุนมาดำเนินการ ซึ่งนักลงทุนจีนเองก็ให้ความสนใจที่จะลงทุนโครงการนี้

152190

ส่วนโครงการก่อสร้างเส้นทางวิ่งเส้นที่ 2 เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานที่รัฐจะต้องลงทุนเอง เพื่อรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส ส่วนศูนย์ซ่อมอากาศยานซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว แต่มีขนาดเล็กต้องการขยายอีก 5-6 เท่าจากปัจจุบัน ซึ่งจะมีการคัดเลือกหาผู้ร่วมลงทุน โดยมีบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในนั้น และสายการบินต่างๆก็ให้ความสนใจ

ศูนย์ฝึกบุคลากรด้านการบิน รัฐบาลลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพของบุคลากรรองรับการขยายตัวของธุรกิจการบิน ในระยะแรกคงต้องได้รับความมือจากผู้ผลิตเครื่องบินในการส่งผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมและต่อไปเมื่อไทยเชี่ยวชาญแล้วก็จะทำการพัฒนาบุคลากรของเราเองได้

สำหรับเขตการค้าเสรี จะเป็นการจัดพื้นที่ปลอดภาษีสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น ส่วน Commercial Gateway เป็นการพัฒนาพื้นที่ให้สอดคล้องกับสนามบินยุคใหม่ที่จะมีทั้งโรงแรม ศูนย์การประชุม และห้างสรรพสินค้าอยู่ด้วยกัน

อีอีซี
คณิศ แสงสุพรรณ

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กล่าวว่าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา วงเงินลงทุน 6,000 ล้านดอลลาร์ จะเปิดทีโออาร์เพื่อให้เอกชนซื้อซองประมูลได้ในช่วงเดือนตุลาคมนี้ และคาดว่าจะประกาศผลคัดเลือกเอกชนที่เป็นผู้ลงทุนในโครงการนี้ในเดือน มกราคม ปี 2562

การลงทุนครั้งนี้จะครอบคลุมการบริหารจัดการเชิงพาณิชย์ได้ 40-50 ปี และจะเป็นศูนย์กลางการบินที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาจะทำให้การเดินทางมาอู่ตะเภา-กรุงเทพใช้เวลาเดินทางเพียง 45 นาทีเท่านั้น

Avatar photo