Business

EIC มอง เศรษฐกิจโลก ผ่านจุดต่ำสุด เชื่อทยอยฟื้นครึ่งปีหลัง

เศรษฐกิจโลก ผ่านจุดต่ำสุด EIC (Economic Intelligence Center) ประเมินผลกระทบ โควิด-19 จากนี้จะทยอยฟื้นตัว โดยมีมาตรการทางการคลังและการเงิน เป็นแรงหนุน

EIC (Economic Intelligence Center) ธนาคารไทยพาณิชย์ คาด เศรษฐกิจโลก ผ่านจุดต่ำสุด เชื่อครึ่งปีหลัง จะเริ่มฟื้นตัว อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจโลก ผ่านจุดต่ำสุด

1. จากการปิดเมืองและการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สู่การทยอยเปิดเมือง และการฟื้นตัว แบบค่อยเป็นค่อยไป

การระบาดของ โควิด -19 และการใช้มาตรการปิดเมือง (lockdown) ที่เข้มงวด ในช่วงไตรมาสแรก-ครึ่งแรกของไตรมาสที่ 2 ของหลายประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหดตัวรุนแรง

อย่างไรก็ดี หลังภาครัฐออก มาตรการการเงินและการคลัง ขนาดใหญ่ และเริ่มมีการทยอยเปิดเมือง กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวจากจุดต่ำสุด แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติโควิด -19

ทั้งนี้ EIC ประเมินว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จะมีลักษณะเป็นไปอย่าง “ค่อยเป็นค่อยไป” และมีความแตกต่างในแต่ละภาคส่วน (U-shaped and Uneven recovery) ผู้บริโภคจึงจะยังระมัดระวังในการใช้จ่าย และมีพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการลงทุนภาคเอกชน ที่จะถูกกดดันจากยอดขายที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ งบดุลที่เปราะบางมากขึ้น และความไม่แน่นอนในระดับสูง

เศรษฐกิจโลก ผ่านจุดต่ำสุด

2. ผลของ มาตรการทางการคลัง ขนาดใหญ่ และมาตรการทางการเงิน ในรูปแบบที่ไม่ปกติ มีส่วนช่วยประคับประคองเศรษฐกิจ และลดความผันผวนในตลาดการเงิน

ภาครัฐได้ออก มาตรการทางการคลัง และ การเงิน เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ และรักษาเสถียรภาพของ ระบบการเงิน โดย นโยบายการคลัง สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. นโยบายที่สนับสนุนการดำเนินธุรกิจ เช่น โครงการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ 2. นโยบายที่สนับสนุนภาคครัวเรือน เช่น การให้เงินสนับสนุนแก่ผู้ว่างงาน และ 3. นโยบายเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐทั่วไป

สำหรับนโยบายการเงินนั้น ธนาคารกลางส่วนใหญ่ ต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ลงสู่ระดับที่ต่ำที่สุด ในประวัติศาสตร์ และออกมาตรการการเงินแบบไม่ปกติ (unconventional measures) ที่หลากหลายมากขึ้น เช่น การเข้าซื้อสินทรัพย์ทางการเงิน การปล่อยสินเชื่อแก่ภาคส่วนที่ได้รับความเดือดร้อน การสนับสนุนสภาพคล่องแก่ภาคธุรกิจ และการผ่อนคลายกฎเกณฑ์กำกับดูแล ธนาคารพาณิชย์

รูป2กิจกรรม

3. จากภาวะวิ่งเข้าหาเงินสด สู่ความเชื่อมั่นของนักลงทุน และ มูลค่าสินทรัพย์ทางการเงิน ที่ปรับตัวดีขึ้น

การแพร่ระบาดของ โควิด -19 และ มาตรการปิดเมือง ทำให้เกิดการหยุดชะงัก ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเกิดภาวะวิ่งเข้าหาเงินสด (dash for cash) ขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์สำคัญของโลก ปรับลดลงมากที่สุดราว 30-40% ทั่วโลก

อย่างไรก็ดี หลังภาครัฐ ออก มาตรการทางการคลัง และ อัดฉีดสภาพคล่องขนาดใหญ่ และเริ่มมีการทยอยเปิดเมือง ความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้เริ่มกลับมา ทำให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงินเริ่มทยอยปรับตัวสูงขึ้นในบางสินทรัพย์ เงินทุนเคลื่อนย้ายที่ไหลออกจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เริ่มมีการไหลกลับเข้ามาบ้าง ในบางประเทศ

4. หนี้ภาคเอกชนและภาครัฐเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ในระยะข้างหน้า โอกาสถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจากความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (default risks) ปรับสูงขึ้น

แรงงานสหรัฐ

 

การดำเนิน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขนาดใหญ่ของภาครัฐ ได้ก่อให้เกิด การขาดดุลทางการคลัง และหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น ในหลายประเทศ ซึ่งหากยังปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง อาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ ผ่าน 3 ช่องทาง คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว อาจลดลง การดำเนินนโยบายการเงิน มาตรการทางการคลัง อาจมีข้อจำกัดมากขึ้น และความยั่งยืนของหนี้ภาครัฐ อาจปรับแย่ลง

สำหรับระยะต่อไป ต้องจับตามอง ความเสี่ยง จากการเกิดโรคระบาดรอบสอง ซึ่งจะกระทบต่อ ความสามารถในการชำระหนี้ ของภาคเอกชน อีกทั้งความตึงเครียดด้านการค้า ระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่อาจกลับมาปะทุอีกครั้ง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo