COVID-19

รฟท. จัดระเบียบทรัพย์สิน กางสัญญาเช่าพื้นที่ทั่วประเทศ เน้นเพิ่มรายได้

รฟท. จัดระเบียบทรัพย์สิน เร่งสร้างรายได้เพิ่ม ทั้งจาก สังหาริมทรัพย์ – อสังหาริมทรัพย์ จัดระเบียบหน่วยงานดูแลทรัพย์สิน ลดความซ้ำซ้อน

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง(ขร.) ในฐานะประธานคณะทำงานศึกษากำหนดยุทธศาสตร์การบริหารพื้นที่ และติดตามกำกับนโยบายการจัดการรายได้จากทรัพย์สิน ประเภท สังหาริมทรัพย์ – อสังหาริมทรัพย์ ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ได้วางทิศทางกำหนดกรอบ รฟท. จัดระเบียบทรัพย์สิน เพื่อสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้น

รฟท. จัดระเบียบทรัพย์สิน

ปัจจุบัน รฟท. มีสัญญาที่เอกชนเข้ามาเช่าพื้นที่ สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ ณ.วันที่ 30 เม.ย.63 ในพื้นที่ กว่า 32,000 ไร่ กับ สำนักบริหารทรัพย์สิน รฟท.กว่า 6,042 สัญญา แบ่งเป็นสัญญาเช่าอาคาร 3,106 สัญญา ,สัญญาเช่าที่ดิน 2,936 สัญญา ซึ่งจากสัญญาทั้งหมดที่มีทำให้ รฟท.มีรายได้เฉลี่ยต่อปีที่ 2,858 ล้านบาท/ปี

ดังนั้น เพื่อให้การบริหารทรัพย์สินของ รฟท. เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ทางคณะทำงานฯ จะเข้ามาดำเนินการจัดระเบียบ และกำหนดกรอบของการพัฒนาให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อสร้างรายได้ในส่วนนี้ ให้กับ รฟท. เพิ่มขึ้นอีกไม่ต่ำกว่าปีละ 10%

นอกจากนี้ ยังเตรียมจัดระเบียบ หน่วยงานที่จะทำหน้าที่ บริหารทรัพย์สิน ทั้งที่ดิน และ อสังหาริมทรัพย์ของ รฟท. ซึ่งปัจจุบันมีถึง 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักบริหารทรัพย์สิน, ฝ่ายการเดินรถ ซึ่งจะเป็นคนดูแลทรัพย์สินตามเขตทางรถไฟทั่วประเทศ และ ฝ่ายการช่างโยธา โดยมีแนวคิดที่จะรวมให้ศูนย์เดียว

ทั้งนี้ เพื่อให้รวบรวมสัญญาที่เอกชนทั้งรายย่อย และ รายใหญ่ ที่ทำสัญญากับ รฟท. อยู่ในที่เดียวกัน เพื่อให้มีการตรวจสอบสัญญา และรายได้ที่เข้ามาเกิดความชัดเจนมากขึ้น

S 11837475 e1591612319300

ขณะเดียวกัน รฟท. ยังมีข้อจำกัดของระเบียบ ข้อกฎหมาย ในวิธีการเช่าที่ดิน และ อสังหาริมทรัพย์ของกฎหมายของ รฟท. โดยเฉพาะ ฉบับ พ.ศ.2484 และ ฉบับ พ.ศ.2544 ที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายปัจจุบัน ซึ่งข้อจำกัดที่เห็นชัดคือ จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการที่ยาวนาน เช่น การเช่าที่ดินแบบไม่ต้องประมูล จะต้องใช้เวลาในการอนุมัติกว่า 101 วัน

สำหรับ ประเภทการเช่า แบบประมูล จะมีขั้นตอนระเบียบปฎิบัติการ 12 ขั้นตอน ใช้เวลาการอนุมัติกว่า 146 วัน ส่วนประเภทโครงการพัฒนา เชิญชวนประมูลโครงการ มีขั้นตอนกว่า 15 ขั้นตอน ใช้เวลาอนุมัติไม่น้อยกว่า 212 วัน ซึ่งจากข้อจำกัดต่าง ๆ นี้ ทำให้เห็นว่า กว่าจะอนุมัติ และมีรายได้กลับมาที่ รฟท. ต้องใช้ระยะเวลานาน

พร้อมกันนี้ ยังได้ให้ รฟท. ไปรวบรวมสัญญาของพื้นที่ บริเวณ อาร์ซีเอ โดยให้ทำแผนปฎิบัติการใช้พื้นที่บริเวณตลาดนัดจตุจักร 3 แปลง บริเวณ ตลาดขายปลา 5 ไร่ ตลาดศรีสมรักษ์ 5 ไร่ รวมถึงพื้นที่ตรงหัวมุม ตลาดเพื่อองค์การค้าเพื่อเกษตรกร (อตก.) 3ไร่ และพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา 277 ไร่ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวจะต้องเน่งดำเนินการเพื่อสร้างรายได้ รวมถึงพื้นที่บริเวณรัชดา 124 แปลง

นายสรพงศ์ กล่าวอีกว่า ได้มอบหมายให้ รฟท. ไปรวบรวมพื้นที่ และ สัญญาที่เกี่ยวข้องกับ แปลงอสังหาฯ ทั่วประเทศทั้งหมดว่า มีจำนวนแปลงที่ใช้ประโยชน์, สถานะของสัญญา, สถานะเวลาของการให้เช่า, การบุกรุกพื้นที่มีที่ไหนบ้าง รวมถึงสถานะที่มีการใช้ประโยชน์ โดยไม่มีการจ่ายค่าเช่าแก่ รฟท. อย่างไรบ้าง เพื่อสร้างมูลค่าที่มีการทำสัญญาที่มีอยู่ให้กับ รฟท. เพิ่มขึ้น

Avatar photo