Business

เปิด!! แนวทางข้อตกลง Travel Bubble ในการเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างจำกัด

แนวทางข้อตกลง Travel Bubble ที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วางเป็นแนวทางการเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวอย่างจำกัด หลังจากรัฐออกมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 4 เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว

แนวทางข้อตกลง Travel Bubble ที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา วางไว้ มีแนวคิด คือ การเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสองประเทศที่สามารถจัดการเรื่องโรค COVID-19 ได้ดี เท่าๆกัน โดยพิจารณาจากสถานการณ์การระบาดในประเทศนั้น มีการผ่อนคลาย และการควบคุมโรคแล้วหรือไม่ มีการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศอยู่หรือไม่ และคำนึงถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่มีต่อกัน

ทั้งนี้ ผู้เดินทางภายใต้ แนวทางข้อตกลง Travel Bubble สามารถเดินทางภายใน Bubble ดังกล่าว โดยไม่ต้องถูกกักตัว เหมือนบุคคลสัญชาติอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือความตกลงนี้ โดยทำเป็นข้อตกลงร่วมกันใน ลักษณะทวิภาคี (Bilateral Agreement) เพื่อกำหนดจำนวนคน ที่จะอนญุาตให้เดินทางแลกเปลี่ยนกัน ภายใต้ การจัดการพิเศษ (Special Protocols) ได้แก่ การขอวีซ่า การโดยสารเครื่องบิน (Flights) ที่พัก (Accommodations) การเยี่ยมเยือน (Visits) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบคุคล (Interaction) และผู้รับประกัน (Guarantor)

Travel Bubble จะทำได้หากประเทศคู่ตกลงไม่มีผู้ติดเชื้อแล้ว หรือมีจำนวนผู้ติดเชื้อในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน และมีการจัดการที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพเท่าๆกัน ดังนั้นทั้ง 2 ประเทศต้องมีความเชื่อมั่นในการจัดการเรื่อง COVID-19 ซึ่งกันและกัน ต้องมีมาตรการตรวจหาเชื้อ และป้องกันอย่างเข้มงวด โดยต้องมีการตรวจเชื้อโควิดก่อนเดินทางออกนอกประเทศต้นทาง และ ตรวจอีกครั้งเมื่อเดินทางเข้าไทย

ตัวอย่างประเทศที่ทำ Travel Bubble

  • สิงคโปร์ กับ จีน (บางเมือง)
  • อิสราเอล กับ กรีซ และ ไซปรัส
  • กลุ่มประเทศบอลติก กับ เอสโตเนีย, ลัตเวีย และ ลิธัวเนีย
  • ออสเตรเลีย กับ นิวซีแลนด์
  • จอร์เจีย กับ บางประเทศ

Travel Bubble

เปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว แบบ Travel Bubble โดยใช้ Georgia Model

  • สร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวในยุค COVID หรือ หลัง COVID ชูจุดแข็งของประเทศด้านสาธารณสุข และการฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งท่องเที่ยว หลังจากที่มีการล็อกดาวน์ (Lockdown) มาระยะหนึ่ง
  • เลือกนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย (เหมือนทำ Bilateral Agreement) โดยกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศว่าในแต่ละเดือน จะให้เข้ามาได้เท่าไร โดยมีกี่เทียวบิน มาจากเส้นทางใดบ้าง
  • กำหนดโชนท่องเที่ยวปลอดภัย (Safe Zone for Tourism) เมืองหลัก เมืองรอง ที่เต็มใจรับนักท่องเที่ยว เลือกแหล่งท่องเที่ยว
  • การ Check-in และ Check-out ก่อนมาตรวจรับรอง COVID-free มีใบรับรองแพทย์ให้เดินทางได้ (Fit to Fly) ต้องซื้อประกันสุขภาพที่รับรอง COVID-19 มาถึงมี การตรวจ Rapid Test
  • วางมาตรการ Safe Hospitality Service สำหรับ โรงแรม ร้านอาหาร และแหล่งท่องเที่ยว
  • มีระบบ Digital ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ในการติดตามตัว

แนวทางดำเนินการ 

1. เลือกเป้าหมายจากประเทศที่สามารถควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้ดี โดยพิจารณาจากเกณฑ์ข้อกำหนด และคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข

2. มีมาตรการตรวจหาเชื้อ และป้องกันอย่างเข้มงวด โดยต้องตรวจเชื้อโควิดก่อนเดินทางออกนอกประเทศต้นทาง และตรวจอีกครั้งเมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย และต้องซื้อประกัน COVID-19 เพื่อไม่ให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลหากเกิดการติดเชื้อ และต้องเข้ารักษาตัวระหว่างอยู่ในประเทศไทย

3. ไม่ต้องกักตัว แต่ต้องยินยอมให้มีการติดตามตัว (Track & Trace) ผ่าน Application มือถือที่จัดเตรียมไว้ ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในประเทศไทย และต้อง เข้า-ออก ประเทศไทยตามระยะเวลาที่แจ้งไว้อย่างเคร่งครัด โดยเป็นการรับผิดชอบของผู้รับประกัน (Guarantor)

Travel Bubble

Travel Bubble

4. กำหนดพื้นที่ปิด (Sealed Area) เป็น โชนท่องเที่ยวปลอดภัย (Safe Zone for Tourism) โดยพิจารณาจากแหล่งท่องเที่ยว ในพื้นที่เมืองหลัก และเมืองรองที่คนในชุมชนเต็มใจต้อนรับ นักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาพัก และท่องเที่ยว

5. วางมาตรการ Safe Hospitality Services ในห่วงโซ่อุปทาน เช่น แหล่งท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ต้องได้รับมาตรฐาน Safety & Health Administration(SHA) ที่รับรองโดยกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

6. พิจารณาผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศ โดยกลุ่มแรกจะเป็น นักธุรกิจและนักท่องเที่ยว ในกลุ่มเดินทางเพื่อการแพทย์ และสุขภาพ ไม่ใช่กรณีเข้ามาเพื่อรักษา COVID-19 ในประเทศไทย เมื่อดำเนินการสักระยะหนึ่ง และสามารถควบคุมสถานการณ์ การแพร่ระบาดได้ดี จึงจะพิจารณา ให้นักท่องเที่ยวทั่วไป ที่เดินทางมาเป็นคณะเข้ามาโดยเป็นกลุ่มขนาดเล็ก หลังจากนั้นจึงจะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระ (Free Individual Traveler – FIT)

7. ประเทศเป้าหมายในระยะแรกประกอบด้วย จีน (รวมฮ่องกง มาเก๊า) เวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในตะวันออกกลาง ทั้งนี้อาจเริ่มพร้อมกันหลายประเทศ ในลักษณะเป็น Group Bubble

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มนักธุรกิจ (Business Travelers)

  • เป็นผู้ที่มีศักยภาพทางการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป
  • สามารถตัดสินใจเดินทางได้ทันทีเป็นลำดับต้นๆ
  • เป็นการสร้างและขยายโอกาส จากนโยบายส่งเสริมการค้า และการลงทุน
  • มีหนังสือรับรองจากบริษัท

กลุ่มผู้รับบริการตรวจรักษาทางการแพทย์ (Medical Tourists)

  • เป็นผู้ที่มีศักยภาพทางการใช้จ่ายโดยเฉลี่ยสูงกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป
  • มีความจำเป็นในการเดินทางเป็นลำดับต้นๆ
  • มีฐานตลาดกลุ่มรักษาสุขภาพจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเมียนมาร์ กัมพูชา
  • มีหนังสือรับรองจากโรงพยาบาล

TravelNewNoemal

กลุ่มประเทศเป้าหมายในระยะแรก

จีน (รวมฮ่องกง มาเก๊า) – มีการหารือแล้วกับภาครัฐระดับเมืองของจีน และสำนักงานพาณิชย์ของฮ่องกง แสดงความประสงค์ที่จะหารือกับฝ่ายไทยต่อ เพื่อให้เกิด travel bubble ระหว่างกัน

เวียดนาม – มีการหารือแล้วกับ Vietnam National Administration of Tourism (VNAT) ซึ่งแสดงความสนใจ ที่จะหารือกับฝ่ายไทยต่อ

ประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สปป.ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา และ ตะวันออกกลาง – อยู่ระหว่างการหารือโดยสำนักงาน ททท. ในต่างประเทศ

กรอบแนวทางการเปิดประเทศเพี่อการท่องเที่ยวอย่างจำกัด (Travel Bubble) และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หารือร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุข แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงมหาดไทย

เมื่อได้ข้อสรุปเป็นข้อมูลทางการแพทย์ชัดเจน จะได้นำเสนอให้คณะกรรมการเฉพาะกิจ พิจารณาการผ่อนคลาย การบังคับใช้มาตรการในการป้องกัน และยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พิจารณาต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight