Business

รีดภาษีอี-เซอร์วิส ปีละไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้าน เช็คด่วน ใครโดนบ้าง

รีดภาษีอี-เซอร์วิส ตั้งเป้าปีละ 3,000 ล้านบาท บทพิสูจน์ฝีมือ กรมสรรพสามิต กับการใช้ช่องโหว่กฏหมายของผู้ประกอบการ แพลตฟอร์มออนไลน์

หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่..) พ.ศ. …. (การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-Service)) ตามที่ กระทรวงการคลัง เสนอ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การ รีดภาษีอี-เซอร์วิส จากแพลตฟอร์มออนไลน์ ที่เป็นบริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ

รีดภาษีอี-เซอร์วิส

คำว่า “บริการอิเล็กทรอนิกส์” ในนิยามของ กระทรวงการคลัง หมายถึง บริการที่ส่งมอบโดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ เครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใด และ “อิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม หมายถึง ตลาด ช่องทาง หรือกระบวนการอื่นใด ที่ผู้ให้บริการหลายรายใช้ ในการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้รับบริการ

ปัจจุบัน ในประเทศไทย มีการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศมากขึ้น โดยผ่านอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง การพิจารณาจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงหมายรวมทั้ง บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ และ แพลตฟอร์มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลาง

สำหรับ บริการอี-เซอร์วิส ที่เข้าข่ายต่องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่

1. ผู้ประกอบการที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ แก่ผู้ใช้ซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนในประเทศ และมีการใช้บริการนั้นในประเทศ โดยมีรายได้จากการให้บริการดังกล่าวเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยคำนวณจากภาษีขายโดยไม่ให้หักภาษีซื้อ

tax office 4007106 1280

 

2. ผู้ประกอบการต่างประเทศ ที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ แก่ผู้รับบริการในประเทศไทย ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ กำหนดให้รายได้ที่ได้รับจากการให้บริการนั้น เป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มของ ดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ หากดิจิทัลแพลตฟอร์มต่างประเทศ มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

3. ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศออกใบกำกับภาษี

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ระหว่างวันที่ 14-29 มกราคม 2563 แล้ว และมีการเผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็น พร้อมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ให้ประชาชนได้รับทราบ และผ่านการตรวจพิจารณาจาก สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เรียบร้อยแล้ว

สำหรับขั้นตอนต่อไปคือ การส่งร่างพระราชบัญญัติให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา และประกาศในราชกิจจานุเบกษา พร้อมทั้ง กรมสรรพากรจะดำเนินการจัดทำคู่มือการใช้กฎหมาย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แก่ผู้ที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย รวมถึงให้ข้อมูลตัวอย่างฐานภาษีของอิเล็กทรอนิกส์แต่ละลักษณะ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติตามกฎหมาย

โซเชียลมีเดีย

ทั้งนี้ เมื่อร่างพระราชบัญญัติ อี-เซอร์วิส มีผลบังคับใช้ ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างประเทศต่างๆ ที่ให้บริการและมีรายได้ในไทย ต้องมาจดทะเบียนเสียภาษีกับกรมสรรพากร เพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการ และสามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐ ขณะที่กระทรวงการคลังคาดว่า จะสามารถ จัดเก็บภาษี ได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท

 

ที่ผ่านมา มีหลายประเทศ เริ่มใช้กฏหมายลักษณะเดียวกันนี้แล้ว เช่น ออสเตรเลีย นอร์เวย์ ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย ไต้หวัน และ เกาหลี พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งจากการสร้างรายได้เข้ารัฐ และการสร้างความเป็นธรรม ให้แก่ผู้ประกอบการในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากธุรกิจออนไลน์

โดยสรุปคือ พ.ร.บ. อี-เซอร์วิส จะช่วยให้รัฐบาลไทย สามารถ จัดเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มได้ จากผู้ให้บริการต่างชาติที่ขายสินค้าดิจิทัล เช่น การดาวน์โหลดเกม เพลง ภาพยนตร์ หรือ ดิจิทัลคอนเทนต์ อื่นๆ ที่เป็นบริการทางอิเล็กทรอนิกส์บนออนไลน์ทั้งหมด ที่มียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า การพิจารณาจัดเก็บภาษีจากธุรกิจ อี-เซอร์วิส ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ไลน์ กูเกิล ยูทูบ เน็ตฟลิกซ์ และ อื่นๆ ทำได้ไม่ง่าย เพราะผู้ให้บริการเหล่านี้ ถือเป็นบริษัทข้ามชาติ ที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ทำให้การจ่ายเงินให้กับผู้ให้บริการเหล่านี้ เป็นการจ่ายเงินไปยังต่างประเทศ

bookkeeping 615384 1280

อีกทั้งส่วนใหญ่จะเลือกประเทศปลายทางที่มีการจัดเก็บอัตราภาษีที่ต่ำ เช่น ไอร์แลนด์ หรือสิงคโปร์ ทำให้แม้ว่า จะใช้บริการในเมืองไทย แต่เม็ดเงินกลับไหลไปที่อื่นแทน

ล่าสุด ประเทศอินโดนีเซีย เพิ่งประสบความสำเร็จ ในการตกลงเรื่องภาษีกับ กูเกิล ส่งผลให้สร้างรายได้เข้ารัฐนับหมื่นล้านบาท รวมภาษีย้อนหลัง ซึ่งหากไทยทำได้ ก็เชื่อว่าจะเป็นภาษีที่เต็มเม็ดเต็มหน่วยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ต้องสร้างความชัดเจนว่า กลุ่มที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตาม พ.ร.บ.อี-เซอร์วิสดังกล่าว เป็นผู้ประกอบการรายใดบ้าง และมีการตรวจสอบอย่างจริงจัง ว่าปัจจุบัน ผู้ประกอบการเหล่านี้ มีรายได้ปีละเท่าไร ที่ผ่านมา เสียภาษีไปที่ไหนบ้าง และนำเข้ามาในระบบฐานภาษีของประเทศไทย เพื่อให้การ จัดเก็บภาษี เกิดความเท่าเทียมกัน โดยไม่ปล่อยให้ใครใช้ช่องโหว่ทางกฏหมาย หลบเลี่ยงภาษีได้

เรื่องนี้จะเป็นบทพิสูจน์ฝีมือของกรมสรรพากร ในการติดตามรายได้ เพื่อนำมาคิดภาษี และ จัดเก็บภาษี เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ เมื่อมีพ.ร.บ.อี-เซอร์วิสมาเป็นอาวุธพร้อมแล้ว ส่วนจะทำได้มากหรือน้อย และปิดสกัดช่องโหว่กฏหมายได้อย่างไรบ้าง ต้องจับตาดูกันต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo