Business

เปิดเหตุผล ประเทศไทยเสี่ยงสูงเข้าสู่ภาวะเงินฝืด หลังเงินเฟ้อติดลบรุนแรง

ประเทศไทยเสี่ยงเข้าสู่ ภาวะเงินฝืด หลังเงินเฟ้อติดลบ 3.44% ต่ำสุดในรอบเกือบ 11 ปี แบงก์ชาติยัน ยังไม่เข้าเงื่อนไขเงินฝืด แต่มีความเสี่ยงสูง

มาทำความรู้จักกับภาวะเงินฝืด เพื่อตรียมพร้อมรับมือกัน

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ ภาวะเงินฝืด

นิยามของ ภาวะเงินฝืด นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในการดำเนินนโยบายการเงิน ธปท. อิงนิยามภาวะเงินฝืดของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อ ดังนี้

1. อัตราเงินเฟ้อ ติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period)

2. อัตราเงินเฟ้อ ติดลบกระจายในหลาย ๆ หมวดสินค้าและบริการ

3. การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (ปรกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัย

4. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ และอัตราว่างงาน มีแนวโน้มสูงขึ้น

เงินบาท252622

ดังนั้น หากพิจารณาตามเงื่อนไขดังกล่าว พบว่าอัตราเงินเฟ้อไทย ติดลบมาเพียงสามเดือน แม้ประมาณการล่าสุดของ แบงก์ชาติ จะให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ ติดลบ แต่ยังมองว่าปีหน้าจะกลับเป็นบวกได้ อีกทั้งเป็นการติดลบจากราคาพลังงานเป็นสำคัญ

ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อระยะ 5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี ถือว่าใกล้เคียงกับกึ่งกลางของช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อ ของแบงก์ชาติ ที่ร้อยละ 1-3 ต่อปี จึงยังไม่เข้าข่ายเงินฝืด ตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน
.
อย่างไรก็ดี ยอมรับว่า เศรษฐกิจไทย ยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ หากเศรษฐกิจไทยหดตัวลึก หรือ ฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินมาก โดยแบงก์ชาติจะติดตามพัฒนาการ ของเศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด

ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่ข้อมูล ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “ธนาคารแห่งประเทศไทย – Bank of Thailand” ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะเงินฝืด ไว้ดังนี้

เงินฝืด 1

“เงินฝืด คืออะไร”

ภาวะเงินฝืด เป็นภาวะที่ราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงเรื่อยๆ เนื่องจากปริมาณสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่ผลิตออกมามีมากกว่าความต้องการซื้อสินค้าของคนในประเทศ

ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องลดราคาสินค้าเพื่อที่จะทำให้ขายได้ และลดการผลิตลง เพราะถ้าผลิตออกมาเท่าเดิมก็ขายได้ไม่หมด

ผลที่ตามมาคือ การจ้างงานและการซื้อวัตถุดิบเพื่อการผลิตก็จะลดลงตามไปด้วย ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัว

แล้วในระยะข้างหน้า จะมีโอกาสเกิดภาวะเงินฝืดหรือไม่?

ต้องบอกว่า เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยง เข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ หากเศรษฐกิจไทยหดตัวลึก หรือ ฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินมาก ซึ่งแบงก์ชาติมีการดูแลเสถียรภาพราคา และติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด

ลดราคาใน ภาวะเงินฝืด

ขณะที่ เว็บไซต์  moneyhub ได้แนะนำถึง โอกาสในภาวะเงินฝืด ว่า ทุกคนนั้นล้วนถูกสอนให้รู้จักกับคำว่าออมเงิน การออมเงินเหล่านี้นั้นมักจะสอนวินัยต่างๆให้เราและทำให้เรามีเงินเก็บที่มากขึ้นเราก็สามารถซื้อสิ่งต่างๆได้มากขึ้นเช่นกัน

ภาวะเงินฝืดนั้น ทำให้สินค้าต่าง ๆ ภายนอกราคาลดลง เพื่อที่จะดึงดูดให้ผู้คน มาซื้อสินค้าต่าง ๆ มาใช้บริการต่าง ๆ ในยามที่เศรษฐกิจปกติ เงินสามสิบบาทของเรา เราสามารถซื้อข้าวได้หนึ่งจาน แต่พอเกิดภาวะเงินฝืด เงินสามสิบของเราอาจจะได้ข้าวหนึ่งจาน พร้อมเงินทอนจำนวนหนึ่ง

ภาวะเงินฝืดยังทำให้ร้านค้าต่าง ๆ เปิดโปรโมชั่น ลดราคากันอย่างมากมาย เพื่อเพิ่มยอดขาย จังหวะนี้นับเป็นโอกาสทอง ที่เราจะจับจ่ายใช้สอยเงินที่เราเก็บมา ภาวะเงินฝืดจึงไม่ได้เลวร้ายเสมอไป สำหรับคนที่เตรียมตัวรับมือ

ภาวะเงินฝืด จะเหมาะกับการลงทุนมากขึ้น

ภาวะเงินฝืด  เหมาะกับการลงทุนต่าง ๆ มากมาย เพราะสินค้าสิ่งของต่าง ๆ ลดราคาลง มีแรงงานที่ว่างงานมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญนั้นเงินที่เรามีอยู่จะมีมูลค่าที่มากมายเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจปกติหรือภาวะเงินเฟ้อ และที่สำคัญนั้นเมื่อเกิดการลงทุนต่างๆ ก็จะมีเงินไหลเวียนในประเทศที่มากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ในการลงทุน ก็ต้องระวังเรื่องของกำลังซื้อ โดยควรลงทุนเมื่อเห็นว่าใกล้สู่ภาวะเหตการณ์ปกติ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo