COVID-19

gig economy มาแรง หลังหมดยุค ‘โควิด-19’

gig economy มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นเศรษฐกิจสายหลักของโลก หลังจากที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มเบาบางลง เศรษฐกิจต่างๆ รวมถึง เศรษฐกิจสหรัฐ ก็กำลังกลับมาเปิดใหม่อีกครั้งหนึ่ง และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ก็ค่อยๆ ฟื้นคืนกลับมาอยู่บนร่องบนรอยอีกครั้ง แต่ทุกอย่างไม่ได้กลับสู่ภาวะปกติเหมือนเดิม

gig economy

อัตราว่างงานที่พุ่งสูงขึ้น และความจำเป็นที่จะต้องเว้นระยะห่างทางสังคม จะส่งผลกระทบอย่างงยาวนานต่อวิธีการ และสถานที่ในการทำงาน และมีความเป็นไปได้ที่ “เศรษฐกิจรูปแบบใหม่”  ซึ่งเป็นเรื่องที่คนพูดถึงกันมาเป็นเวลานาน กำลังจะกลายเป็นแนวทางใหม่ในอนาคต

ธุรกิจขนาดเล็กกำลังดิ้นรนที่จะอยู่รอดต่อไป ในขณะที่ผู้คนก็ต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ซึ่งบรรดาผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า หลังจากสิ้นสุดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว แนวโน้มเหล่านี้จะดำเนินต่อไป จากการที่โลกปรับเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่เรียกกันว่า “กิ๊ก อิโคโนมี” หรือ “gig economy” หรือ การทำงานอิสระไม่ยึดติดกับสิ่งใดรวมถึงการเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์ในการหารายได้ใหม่ๆ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจในรูปแบบที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น และต้องพึ่งพาอินเทอร์เน็ตอย่างหนัก

ผู้ชนะจากวิกฤติโควิด-19

ธุรกิจที่ถือว่าเป็นผู้ชนะในช่วงเวลาที่โลกเกิดวิกฤติโรคระบาด ปรากฎตัวออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ไล่ตั้งแต่ แอปพลิเคชันการแพทย์ทางไกล ไปจนถึงบริการส่งของถึงบ้าน ซึ่งล้วนแต่เป็นธุรกิจที่บริษัทในซิลิคอน วัลเลย์ อยากเข้าไปลงทุนด้วย

ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีบริษัทด้านการลงทุน 12 ราย ที่ประกาศจะลงทุนมากกว่า 30 ล้านดอลลาร์ ในธุรกิจต่างๆ ที่มีโครงการเกี่ยวกับไวรัสโควิด-19

“ประเด็นของนักลงทุนเหล่านี้ คือ การวางเดิมพันสำหรับอนาคต และก็มีบางอุตสาหกรรม ที่น่าสนใจ ที่จะเข้าลงทุนในช่วงการเกิดโรคระบาดอย่างชัดเจน” แดน หวัง รองศาสตราจารย์ ด้านบริหารจัดการ จากวิทยาลัยธุรกิจโคลัมเบีย กล่าว

อี คอมเมิร์ซ ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่หวังกล่าวถึง ซึ่งความคลั่งไคล้ในการช้อปออนไลน์ ครอบคลุมไปแทบทุกด้าน ไล่ตั้งแต่ชุดนอน ไปจนถึง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และของชำต่างๆ

เรื่องที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่ง คือ การใช้เวลาของผู้คนบนออนไลน์นั้น ไม่ใช่แค่การจับจ่ายใช้เงินเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย

gig economy

แม้กีฬาทุกประเภทจะโดนระงับไป เพราะการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ “อีสปอร์ต” ก็ยังเดินหน้าต่อไปอย่างไม่มีวันหยุด

บริษัทเกมบางราย รวมถึง อิเล็กทรอนิกส์ สปอร์ตส์ ลีก (ESL) ผู้จัดอีสปอร์ตรายใหญ่สุดของโลก เคยให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อเดือนมีนาคมว่า มองเห็นความสนใจอย่างต่อเนื่อง หรือเพิ่มมากขึ้น จากเหล่าผู้แพร่ภาพกระจายเสียง และนักโฆษณา

เมื่อเดือนเมษายน ในช่วงเวลาที่ธุรกิจของหลายบริษัทตกอยู่ในภาวะหยุดนิ่ง ESL ประกาศบรรลุข้อตกลงนาน 3 ปี กับ Twitch แพลตฟอร์มถ่ายทอดสดการเล่นเกม และการแข่งขันอีสปอร์ต ของ อเมซอน ในการให้สิทธิการถ่ายทอดสดการแข่งขันต่างๆ บนแพลตฟอร์มแต่เพียงรายเดียว

gig economy มาแน่

บรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์ด้วยว่า อัตราการว่างงานในระดับสูง จะทำให้เกิด “วิถีใหม่”  (New Normal) ของโลกคนทำงาน ที่จะหันหลังจากงานประจำ ไปหางานอิสระ หรือทำงานชั่วคราวหลายๆ งานกันมากขึ้น

“ธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมาก ที่ต่อให้ จะมีร้านค้าทางกายภาพแล้ว กำลังมองเห็นว่า ช่องทางดิจิทัล เป็นแหล่งที่ทำให้เกิดความยืดหยุ่น” อรุณ ซุนดาราราชัน ศาสตราจารย์ด้านบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก และผู้เขียนหนังสือ “The Sharing Economy”

deli

วิธีที่ผู้คนค้นพบ ในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ อาจจะเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจในอนาคตไปอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นช่างทำเล็บ ที่ส่งเล็บปลอมทางไปรษณีย์ไปให้กับลูกค้า หรือคนว่างงานบางคนก็หันไปหางานทำบนโลกออนไลน์ อย่าง การเป็นโค้ชเกมออนไลน์

ผลลัพธ์อย่างหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้น ก็คือ ต่อให้เราอาจต้องสูญเสียบุคลากรในภาคธุรกิจ ไปเป็นจำนวนมาก แต่เราก็อาจจะมีประสบการณ์ และธุรกิจที่แข็งแกร่งมากขึ้น ทั้งในออนไลน์ และออฟไลน์ หลังจากที่ผ่านพ้นวิกฤติโรคระบาดไปแล้ว” เจน เดสมอนด์ ศาสตราจารย์ด้านการศึกษามนุษยวิทยา เพศ และผู้หญิง จากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ กล่าว

ทำความรู้จักเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ 

กระแสการทำงานอิสระไม่ยึดติดกับสิ่งใด รวมถึงการเติบโตของแพลตฟอร์มออนไลน์ ในการหารายได้ใหม่ๆ ทำให้งานลักษณะนี้ถูกเรียกว่า Gig Economy โดยหมายถึงระบบเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยงานครั้งคราว หรืองานที่รับจ้างจบเป็นครั้งๆ ไป

ข้อมูลจากวารสารการเงินธนาคาร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า  ปัจจัยส่งเสริมให้เศรษฐกิจรูปแบบนี้เติบโตประกอบด้วย 3 ข้อ

  • สังคมออนไลน์ เป็นปัจจัยที่ทำให้ Gig economy เติบโตอย่างก้าวกระโดดเพราะเป็นตัวทำให้คนที่ต้องการว่าจ้างมาเจอกับคนที่ต้องการจ้างได้อย่างสะดวก ง่ายดายโดยมีแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นคนกลาง
  • แนวคิดเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing economy) เป็นการชวนให้เรานำของที่มีอยู่มาแบ่งให้คนอื่นใช้งานแนวคิดนี้ทำให้เกิดงานและช่องทางหารายได้ใหม่ๆ
  • ไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ ที่ต้องการมีอิสระได้ทำตามใจตัวเอง ทั้งในการตัดสินใจเรื่องงานและการบริหารเวลาในชีวิต และยังมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงไปอีกมาก

ในฝั่งตะวันตกให้ความสนใจกับเศรษฐกิจรูปแบบนี้กันอย่างมาก เป็นที่สนใจ และเป็นประเด็นทั้งงานวิจัยและงานเขียน แต่ก็มีการถกเถียงกันเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานที่แรงงานควรจะได้ ซึ่งในนิวยอร์กพัฒนาถึงขั้นการออกกฎหมาย Freelance isn’t free act เพื่อให้สิทธิกับแรงงานที่ประกอบอาชีพอิสระเหล่านี้

ส่วนในประเทศไทย กำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ เห็นได้จากการเปิดตัวของเว็บไซต์หางาน สำหรับชาวฟรีแลนซ์โดยเฉพาะ และแพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้ Gig worker ในไทย เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องหันกลับมาคำนึง ถึงเรื่องการปรับตัว ทั้งฝั่งของนายจ้าง และในส่วนของคนทำงาน ที่ปรับเปลี่ยนไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

Avatar photo