General

พ.ร.บ.ควบคุมโรค เพิ่ม 7 โรคใหม่ ให้เท่าทันมลพิษในภาวะปัจจุบัน

พ.ร.บ.ควบคุมโรค บัญญัติ 7 โรคจากสิ่งแวดล้อม เข้า พ.ร.บ.ควบคุมโรค ทั้งจากตะกั่ว, ซิลิกา, พีเอ็ม 2.5, ใยหิน และสารพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช

เพิ่ม 7 โรคใหม่ เข้า พ.ร.บ.ควบคุมโรค

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัด กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1/2563 มีมติเห็นชอบอนุบัญญัติ 4 ฉบับ ในพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 หรือ พ.ร.บ. ควบคุมโรค เพื่อให้กลไกการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ขึ้น ลดการเกิดโรค ลดความรุนแรง ลดความพิการ และลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

สำหรับอนุบัญญัติทั้ง 4 ฉบับ ที่เพิ่มเข้ามาใน พ.ร.บ. ควบคุมโรค ประกอบด้วย

  • ฉบับที่ 1 รายชื่อโรคจากการประกอบอาชีพ 5 โรค ได้แก่ โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว โรคจากฝุ่นซิลิกา โรคจากภาวะอับอากาศ โรคจากแอสเบสตอส (ใยหิน) หรือโรคมะเร็งจากแอสเบสตอส (ใยหิน) และโรคหรืออาการสำคัญของพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช
  • ฉบับที่ 2 รายชื่อโรคจากสิ่งแวดล้อม 2 โรค ได้แก่ โรคจากตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว และโรคที่เกี่ยวเนื่องอาการจากการรับสัมผัสฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 2.5 ไมครอน

pm 2.5

  • ฉบับที่ 3 หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคจากการหายใจ โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รวม 2,992 รายประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกจังหวัด และกรุงเทพมหานคร มีหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการสอบสวนเหตุสงสัยว่าเจ็บป่วยจากการทำงานหรือมลพิษสิ่งแวดล้อมอย่างน้อยจังหวัดละหนึ่งหน่วย
  • ฉบับที่ 4 บัตรพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายฉบับนี้

ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเพิ่มเติมว่า อนุบัญญัติทั้ง 4 ฉบับ จะทำให้กลไกการดำเนินงานภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมโรคครบถ้วนมากขึ้น หลังจากการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1 เมื่อเดือน ก.ย.2562 ได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ภายใต้คณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ซึ่งได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อ 5 มี.ค.2563

ใยหิน

นอกจากนั้น ในระดับจังหวัด ยังได้จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อมจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัด/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธาน นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด/ผู้อำนวยการสำนักอนามัย เป็นเลขานุการ โดยจัดตั้งแล้ว 74 จังหวัดทั่วประเทศ

“เมื่อมีการประกาศรายชื่อโรคและมีการแต่งตั้งหน่วยปฏิบัติการฯ จะสามารถเตรียมความพร้อมในการควบคุมโรคได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นต่อไป” นพ.สุวรรณชัย กล่าว

ขณะที่สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทำงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน พ.ศ.2557–2561 พบว่ามีจำนวนรวม 10,463 คน

สำหรับโรคที่พบบ่อย 5 ลำดับแรก ได้แก่ โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก โรคผิวหนังจากการทำงาน โรคจากสาเหตุทางกายภาพ โรคจากสารเคมี และโรคระบบทางเดินหายใจจากการทำงาน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขสถิตินี้ยังมีจำนวนน้อยกว่าที่ควรเป็นเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยง ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค จึงได้ผลักดันมาตรการทางกฎหมาย เพื่อสร้างระบบตรวจจับโรคที่ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ ผ่านพระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2562 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2562 เป็นต้นมา

Avatar photo