Business

‘โควิด’ เปลี่ยนพฤติกรรมคนไทย กลัวตกงาน ดิ้นรนหารายได้ ออมเงินเพิ่ม

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลผ่อนปรนความเข้มงวดในการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ธุรกิจ ร้านค้า และกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มกลับมาเปิดดำเนินการ ขณะที่มาตรการเยียวยาของภาครัฐใกล้สิ้นสุดลง

cori
Pneumonia coronavirus

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงได้สำรวจสภาวะการครองชีพของครัวเรือนไทย ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ระหว่าง 21-28 พ.ค. 2563 พบว่า มีผู้ว่างงานคิดเป็น 9.6% ของครัวเรือนที่สำรวจ โดย 61.4% ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ ที่ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ และอีก 38.6% มาจากสาเหตุอื่นๆ

เมื่อสอบถามถึงสภาวะการมีงานทำของครัวเรือน พบว่า 6.4% มองว่า บริษัทที่ตนเองทำงานอยู่มีโอกาสสูงที่จะปิดตัวลงในไม่ช้าจากผลกระทบของโควิด-19 ขณะที่ 17.4% มองว่า มีโอกาสสูงที่บริษัทจะปรับลดพนักงานและตนเองจะถูกเลิกจ้าง

สำหรับครัวเรือนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ มักเป็นผู้มีรายได้ต่ากว่า 20,000 บาทต่อเดือน และทำงานอยู่ในกลุ่มธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง

กสิกร

หลังเผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ครัวเรือนไทยส่วนใหญ่ ตระหนักถึงความสำคัญของเงินออม และการสร้างรายได้หลายช่องทางมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการผ่อนปรนให้ธุรกิจส่วนใหญ่กลับมาดำเนินการได้ แต่ครัวเรือนส่วนใหญ่ 95.5% ยังคงได้รับผลกระทบจากมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม ในลักษณะที่แตกต่างกัน โดย 52.5% มีรายได้และผลประกอบการลดลง

ทั้งนี้ ครัวเรือนส่วนใหญ่ 25.4% อยากให้รัฐบาลเร่งออกมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังจากมาตรการเยียวยาช่วงก่อนหน้าสิ้นสุดลง

กสิกร1

ผลการสำรวจดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานและการใช้จ่ายของครัวเรือนไทยในระยะข้างหน้า โดยวิถีปกติใหม่ (New normal) ที่สะท้อนจากผลการสำรวจ แสดงให้เห็นถึงความสาคัญของภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) ในการดูดซับแรงงานซึ่งเข้ามาแทนที่ภาคเกษตรกรรม ที่แต่เดิมช่วยดูดซับแรงงานส่วนเกินจากภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ

ขณะที่รูปแบบการใช้จ่ายของครัวเรือนเปลี่ยนไปในทิศทางที่ระมัดระวัง และเร่งสร้างวินัยทางการเงินของตนเองเพิ่มขึ้น จึงเป็นโจทย์สำหรับภาครัฐ ในเรื่องของการออกมาตรการเศรษฐกิจที่ช่วยสร้างงาน และรองรับจำนวนผู้ว่างงานใหม่หลังมาตรการเยียวยาสิ้นสุดลง และการออกมาตรการส่งเสริมการออมที่เอื้อต่อแรงงานหลายกลุ่ม เช่น แรงงานในระบบ นอกระบบ หรือแรงงานที่มีรายได้น้อย เป็นต้น

 

Avatar photo