General

ยาไอบูโพรเฟน จะใช้ต้องระวัง สาวแพ้หนักเข้าไอซียู 7 คืน

ยาไอบูโพรเฟน เป็นเหตุ  สาวเล่าประสบการณ์ต้องเข้าไอซียู และอยู่โรงพยาบาล 14 วัน เหตุปวดฟันคุดแล้วซื้อไอบูโพรเฟนมากินเอง เกิดอาการแพ้หนัก ผิวหนังไหม้ทั้งตัว

ยาไอบูโพรเฟน

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Aum Aim” เล่าประสบการณ์เฉียดตายของตัวเอง จากการซื้อ ยาไอบูโพรเฟน มากินเอง โดยเล่าว่า มีอาการปวดฟันคุดอย่างมาก เลยไปซื้อยาไอบูโพรเฟนมากินเอง ไม่ได้ปรึกษาหมอ

วันแรกซื้อมากินไป 2 เม็ด พอเช้ากินอีก 1 เม็ด เที่ยง 1 เม็ด หลังจากนั้นก็มีอาการปวดตา เจ็บปาก แสบคอ กินอะไรลงไปก็ไม่ได้ แสบร้อนไปหมด

กระทั่งเวลาประมาน 10 โมงเช้าของวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 เริ่มไม่ไหวแล้ว ผื่นขึ้นเต็มคอ ให้แฟนพามาหาหมอที่โรงพยาบาลมาบตาพุด

ยาไอบูโพรเฟน

หมอได้ส่งตัวมารักษาตามสิทธิ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ และเข้าห้องฉุกเฉิน เดินเรื่องนอนไอซียู 7 คืน รวมแล้วรักษาตัว 14 วัน

สรุปแล้วแพ้ยาตัวนี้ ส่วนผิวหนังที่ไหม้ได้ลอกหมดแล้ว อยู่ระหว่างฟื้นฟูร่างกายตัวเอง

101037195 2528096227290722 8219294350467661824 n

ยาไอบูโพรเฟน คือยาอะไร 

ไอบูโพรเฟน เป็นยาแก้อักเสบปราศจากสเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือเอ็นเซด (NSAID) ซึ่งใช้รักษาอาการปวด ไข้ และการอักเสบ รวมถึงอาการปวดระดู และข้ออักเสบรูมาติก ซึ่งโดยปรกติแล้ว ร้อยละ 60 ของผู้ได้รับเอ็นเซด จะมีอาการดีขึ้น แต่ถ้าเอ็นเซดประเภทหนึ่งไม่ได้ผล ก็อาจใช้อีกประเภทได้

ยาไอบูโพรเฟนยังอาจใช้ระงับอาการ “ดักตัส อาร์เทอริโอซัส ยังคงอยู่” ในทารกคลอดก่อนกำหนด และอาจบริโภคทางปากหรือหลอดเลือด โดยไอบูโพรเฟนมักออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง

อย่างไรก็ดีไอบูโพรเฟนมักก่อผลข้างเคียง เป็นอาการแสบร้อนกลางอก และผื่น แต่เมื่อเทียบกับเอ็นเซดประเภทอื่น ๆ ไอบูโพรเฟนอาจมีผลข้างเคียง อย่างอาการเลือดออกในทางเดินอาหารน้อยกว่า

แต่ถ้าใช้ในปริมาณมาก และเป็นเวลานาน ไอบูโพรเฟนจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหัวใจล้มเหลว ไตล้มเหลว และตับล้มเหลว ถ้าใช้น้อยและไม่นาน ก็ไม่ปรากฏว่าเพิ่มความเสี่ยง ให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายขาดเลือด แต่ถ้าใช้มาก และนานก็ไม่แน่

นอกจากนี้ ไอบูโพรเฟนอาจทำให้โรคหืดแย่ลงได้ และแม้ยังไม่แน่ชัดว่า ไอบูพรอเฟนเป็นอันตรายต่อครรภ์ในระยะแรกเริ่มหรือไม่ แต่ปรากฏว่า มีอันตรายต่อครรภ์ในระยะท้าย

ยาชนิดนี้ ค้นพบโดยสจวร์ต อดัมส์  ในปี 2504 “บรูเฟน”  ภายหลังมียี่ห้ออื่น ๆ อีก เช่น “แอดวิล” (Advil), “มอตริน” (Motrin), และ “นูโรเฟน” (Nurofen) โดยไอบูโพรเฟนเริ่มตีตลาดในสหราชอาณาจักรเมื่อ 2512 และในสหรัฐเมื่อปี 2517

ไอบูโพรเฟนยังได้รับการบรรจุในทะเบียนต้นแบบยาสำคัญขององค์การอนามัยโลก (WHO)  ซึ่งมีรายการยาที่สำคัญอย่างยิ่งยวด และจำเป็นต่อระบบสุขภาพขั้นพื้นฐาน

101322526 2528096440624034 4140728573654728704 n

คำเตือนการใช้ ยาไอบูโพรเฟน

  • การใช้ยาไอบูโพรเฟนในปริมาณสูงติดต่อกันเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวายได้ ผู้ป่วยโรคหัวใจควรหลีกเลี่ยงยาประเภทนี้
  • อาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกในช่องท้องและลำไส้ได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ การใช้ยาดังกล่าวโดยไม่ระมัดระวังอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • อาจส่งผลเสียต่อลำไส้และกระเพาะอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาขณะท้องว่าง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาไอบูโพรเฟนหากมีอาการแพ้ยา หรือเคยมีอาการหอบหืดเฉียบพลัน หลังจากใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs และแอสไพริน
  • สตรีมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาดังกล่าวได้เป็นดีที่สุด โดยเฉพาะขณะมีอายุครรภ์เข้าสู่ไตรมาสที่ 3 (7-9 เดือน)
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคลิ่มเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน คอเลสเตอรอลสูง โรคตับ โรคไต หรือโรคหอบหืดควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
  • ผู้ที่เคยมีประวัติเลือดออกในกระเพาะอาหารควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
  • ห้ามใช้ยาไอบูโพรเฟนกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์

ทั้งนี้ ยาไอบูโพรเฟนเป็นยาที่สามารถส่งผลเสียต่อกระเพาะและลำไส้ได้ ควรรับประทานยาหลังอาหาร และใช้ไม่เกินครั้งละ 400 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ไม่ควรใช้ยาไอบูโพรเฟนร่วมกับยาแอสไพรินโดยเด็ดขาด และควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะใช้ยา เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร หากไม่แน่ใจในเรื่องการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ชัด

painkillers 2525089 640

ผลข้างเคียงการใช้ยา

ยาไอบูโพรเฟนเป็นยาที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก จึงควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์หากพบอาการผิดปกติ โดยอาการข้างเคียงที่มักพบจากการใช้ยาดังกล่าวได้แก่

  • อาการปวดท้อง แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย
  • มีกรดในกระเพาะอาหาร
  • เรอ มีลมภายในท้องหรือลำไส้ ผายลมบ่อย
  • ท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูก
  • มีปัญหาเรื่องปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง
  • แสบร้อนกลางอก
  • คันตามผิวหนัง
  • ปวดหรือรู้สึกไม่สบายบริเวณหน้าอก ท้องส่วนบน หรือลำคอ
  • ผิวซีดลง
  • คลื่นไส้
  • หายใจเร็ว หายใจเสียงดัง หายใจถี่ หายใจลำบาก
  • มีผื่นเป็นปื้น ๆ บริเวณผิวหนัง
  • มีอาการบวมบริเวณใบหน้า นิ้วมือ มือ เท้า เข่า และขาส่วนล่าง
  • เลือดออกผิดปกติ
  • เหนื่อยง่าย
  • อาเจียน
  • น้ำหนักขึ้นผิดปกติ

ผู้ที่ใช้ยาบางรายอาจมีอาการผลข้างเคียงที่ผิดปกติร่วมด้วย เช่น รู้สึกกระวนกระวาย มึนงง เลือดออกตามไรฟัน ผิวลอก สายตาผิดปกติ ท้องผูก ไอ เสียงแหบ หนาวสั่น กลืนลำบาก ปากแห้ง วิงเวียนศีรษะ หลอดเลือดที่คอโป่งพอง อ่อนเพลียอย่างรุนแรง การเต้นของหัวใจผิดปกติ เป็นไข้ ปัสสาวะถี่ ผมร่วง ลมพิษ ความดันโลหิตสูง ท้องไส้ปั่นป่วน อาเจียนเป็นเลือด หรือตาเหลือง ตัวเหลือง

ถ้าหากเกิดอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะหากทิ้งไว้อาจส่งผลร้ายให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะโคม่าได้

ขอบคุณข้อมูล :  พบแพทย์

Avatar photo