Politics

คำต่อคำ! ผลประชุม ‘ศบค.’ ถกมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 ย้ำยึดป้องกันเข้ม

“นายกรัฐมนตรี” ประชุม “ศบค.” พิจารณาการผ่อนปรนระยะที่ 3 ขยายเวลาเคอร์ฟิว 23.00-03.00 น. ย้ำขอให้ยึดมาตรการป้องกันอย่างเข้มข้น

ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) นายกรัฐมนตรีขอบคุณคณะรัฐมนตรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ร่วมมือกันทำงานอย่างดีที่สุดในการป้องกันและควบคุมโรค ส่วนการพิจารณากำหนดมาตรการผ่อนคลายในระยะที่ 3 ขอให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบ และเมื่อประกาศมาตรการผ่อนคลายแล้วขอให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจวิธีคิด เหตุผลในการผ่อนคลายกิจการกิจกรรมใดๆ และมาตรการบริหารในพื้นที่ ตลอดจนตรวจติดตาม และเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด

ปลดล็อก295632

ในส่วนของการเตรียมการเปิดสถานศึกษา และเปิดการเรียนการสอน ต้องพิจารณา ความพร้อมในทุกด้าน บุคลากรครู และอุปกรณ์การเรียนการสอนให้พร้อม ส่วนระบบการเรียน online ก็จะเป็นการใช้วิกฤตินี้เป็นโอกาส พัฒนาการเรียน online สำหรับพื้นที่ห่างไกล จุดเปราะบาง ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างเมืองกับชนบท

“อยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจถึงเจตนาของการขยาย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน รัฐบาลทำเพื่อให้การบริหารสถานการณ์ในภาพรวมของ ศบค. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเอกภาพ หากสถานการณ์ดีขึ้นในระยะ 4 อาจจะมีการพิจารณายกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ อย่างไรก็ดี ยังมีความจำเป็นต้องคง พ.ร.ก. ไว้ เพื่อเตรียมพร้อมในการดำเนินมาตรการต่ออย่างราบรื่น เพื่อให้ควบคุมสถานการณ์ต่อไปได้ ดำเนินมาตรการรองรับในขั้นตอนต่อๆไปได้ เช่น การใช้ พ.ร.บ. โรคติดต่อ” นายกรัฐมนตรี กล่าว

จากนั้นที่ประชุมฯ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในส่วนต่างๆ ได้รายงานผลการดำเนินการ ดังนี้

unlock01 01 0

นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ ว่าจำนวนผู้ป่วยในไทยมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยตอนนี้มาจากต่างประเทศ ขณะที่การแพร่ระบาดในประเทศลดลง ส่วนสถานการณ์โลกยังคงน่าเป็นห่วงในหลายประเทศ เช่น บราซิล สหรัฐฯ รัสเซีย อินเดีย และชิลี

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้สำรวจพฤติกรรมการป้องกันของประชาชน พบว่าพฤติกรรมการป้องกันตนเองของประชาชนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ยกเว้นการใส่หน้ากากที่ประชาชนยังให้ความสำคัญ ประชาชนเดินทางข้ามจังหวัดมากขึ้น โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่ามีประชาชนเดินทางออกนอกจังหวัดถึง 26% และมีกิจกรรมในการพบปะรวมกลุ่มกันมากขึ้น ในสัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า มีคนไทย 11% ไปร่วมกิจกรรมทางสังคม

อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่จะยังคงเดินทางไปแค่สถานที่ซึ่งมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประชำวัน ได้แก่ ตลาดสด ซุเปอร์มาร์เก็ต ที่ทำงาน สถานพยาบาล ร้านอาหาร และร้านตัดผมและจากการสำรวจพบว่า การจัดมาตรการป้องกันของแต่ละสถานที่ยังทำได้ไม่ดี ควบคุมได้เพียง 57% โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานที่นันทนาการ และศาสนสถาน ทำได้น้อยกว่า 50% และประชาชนเชื่อมั่นว่า ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมการแพร่ระบาด แต่ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่มั่นใจการป้องกันการติดเชื้อด้วยตนเอง และประสิทธิภาพของการออกมาตรการของรัฐบาล

ส่วนสถานการณ์ความก้าวหน้าในการพัฒนาวัคซีน ขณะนี้ไทยกำลังทดลองในสัตว์ คาดว่าผลของการการทดสอบ 10 แบบ ใน 5 ประเทศ จะใช้เวลา 6-12 เดือน

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดการมาจากความร่วมมือของประชาชน และองค์กรส่วนท้องถิ่น แต่สถานการณ์ก็ยังวางใจไม่ได้ ต้องเตรียมพร้อมอยู่เหมือนเดิม เช่น เตรียมการดูแลผู้ป่วย สถานที่ เตียงผู้ป่วย ดำเนินการตามมาตรการคัดกรอง และยังคงต้องใช้มาตรการทางสังคมที่เห็นผลเป็นรูปธรรม ช่วยกันดูแล สอดส่อง และตักเตือน อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ดำเนินการเปรียบเทียบมาตรการกับประเทศอื่นๆ ที่มีสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ว่ามีการดำเนินการผ่อนคลายอย่างไร แต่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ไม่รีบร้อน

unlock02 01 1

ด้านพล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานการปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงว่าภาพรวมการตรวจ และการดำเนินการของชุดตรวจ พบว่าจับกุมผู้กระทำความผิด ฝ่าฝืน ได้น้อยลง ประชาชน ร้านค้า ให้ความร่วมมืออย่างดี มีกิจกรรมมั่วสุมลดลง

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้รายงานการปฏิบัติการของศูนย์ปฏิบัติการด้านมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนว่าได้ดูแลผู้ถูกกักตัวใน State Quarantine ที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถรองรับผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น และรายงานถึงกิจกรรมที่ยังไม่อนุญาตให้เปิดดำเนินการจำนวน 47,164 แห่ง อนุญาตให้เปิดกิจการ/ กิจกรรมได้ 291,394 แห่ง ทั้งนี้ จากการประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 2 มีผลปรากฎว่าประชาชนให้ความร่วมมือตามมาตรการป้องกันโรคเกิน 90%

นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รายงานภาพรวมการใช้งาน Platform “ไทยชนะ” ว่ามียอดสะสมร้านค้าใช้งาน 125,408 ร้าน จำนวนผู้ใช้งาน 15,592,611 คน ตั้งแต่ 17-28 พฤษภาคม 2563 ส่วนผลการประเมินกิจการ/กิจกรรม ตามมาตรการ ผลคะแนนเกิน 90% ในทุกประเภทธุรกิจ เช่น การถ่ายทำรายการโทรทัศน์ ธนาคาร คลินิกเสริมความงาม

สมศักดิ์225631 e1590655760722

จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอมาตรการผ่อนคลายระยะที่ 3 โดยพล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ รายงานว่าคณะอนุกรรมการพิจารณาถึงมาตรการคัดกรองป้องกันเป็นหลัก โดยประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาดำเนินการคือ

  1. มาตรการคัดกรองไข้ และอาการไอ หอบเหนื่อย จาม หรือเป็นหวัด สำหรับพนักงานบริการ และผู้ใช้บริการ และรายงานหน่วยงานรับผิดชอบ กรณีพบผู้ที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ตามแนวทางที่กำหนด
  2. ทุกกิจการและกิจกรรมจัดให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้า – ออกสถานที่ และเพิ่มมาตรการใช้แพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” หรือใช้มาตรการควบคุมด้วยการบันทึกข้อมูล และรายงานทดแทน
  3. ให้พิจารณาพัฒนานวัตกรรม เช่น การลงทะเบียนเข้า – ออกสถานที่ ระบบการเรียน การสอน การจองคิวแบบออนไลน์ เพื่อให้บริการรูปแบบใหม่ในระยะยาว นำไปสู่การป้องกันควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ

โดยในที่ประชุมได้พิจารณากำหนดกิจกรรมที่ให้ผ่อนคลายในระยะที่ 3 ได้แก่

  1. สำหรับกิจกรรมด้านเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต เช่น ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ (เปิดถึง 21.00 น.) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน ร้านเสริมสวย แต่งผม ตัดผม ไม่เกินรายละ 2 ชม. และไม่มีผู้นั่งรอในร้าน
  2. กิจกรรมด้านการออกกำลังกายดูแลสุขภาพหรือสันทนาการ เช่น คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ สปา และนวดแผนไทย สถานออกกำลังกาย ฟิตเนส โรงภาพยนตร์ สระน้ำหรือกิจกรรมทางน้ำ

ในส่วนของมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่ยังคงไว้ ได้แก่

  1. ยังคงมาตรการควบคุมการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ทั้งทางบก น้ำ อากาศ
  2. ปรับระยะเวลาเคอร์ฟิว เป็น 23.00 – 03.00 น.
  3. สามารถเดินทางข้ามจังหวัดภายใต้มาตรการตามที่ราชการกำหนด
  4. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ให้เปิดดำเนินการ ไม่เกินเวลา 21.00 น.

 

Avatar photo