General

จ่อลงนาม ‘สนามบินอู่ตะเภา-เมืองการบิน มิ.ย.นี้ นายกฯย้ำ ต้องเชื่อมโยงให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บอร์ดอีอีซี เร่งลุยเมืองการบิน เล็งชงครม. หวังลงนามบีบีเอส เดือนมิถุนายนนี้ เพื่อเดินหน้าโครงการให้แล้วเสร็จปี 2566 นายกฯสั่งการเชื่อมโยง เมืองการบิน-รถไฟเร็วสูงเชื่อมสนามบินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ยันการบินไทยเข้าแผนฟื้นฟู ไม่กระทบศูนย์ซ่อมเครื่องบิน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2563 ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. โดยที่ประชุมรับทราบโครงการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก ในพื้นที่ 6,500 ไร่ บริเวณสนามบินอู่ตะเภา

อีอีซี.2

สำหรับโครงการพัฒนาเมืองการบิน จะประกอบด้วย 6 โครงการสำคัญได้แก่ 1. อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 2. ศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งภาคพื้นดิน 3. ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน 4. เขตประกอบการค้าเสรี และเขตธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 5. ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ และ 6. ศูนย์ฝึกอบรมการบิน งบลงทุนรวม 2.9 แสนล้านบาท คาดเกิดการจ้างงานปีละ 1.56 หมื่นตำแหน่งต่อปี ในระยะ 5 ปีแรก และเมื่อสิ้นสุดสัญญาทรัพย์สินทั้งหมดตกเป็นของรัฐ

ทั้งนี้ เมืองการบินภาคตะวันออก จะทำหน้าที่สำคัญ 3 ด้าน คือ เป็นสนามบินกรุงเทพฯ แห่งที่ 3 เชื่อมสนามบินดอนเมือง และสุวรรณภูมิ ด้วยรถไฟความเร็วสูง เป็นศูนย์กลางการพัฒนา “ศูนย์กลางอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และ Logistics & Aviation” ของ อีอีซี รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของ “มหานครการบินภาคตะวันออก” เชื่อมโยงเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปทางตะวันออกด้วยทางบก ทางราง และทางอากาศ

สนามบินอู่ตะเภา322

ด้าน นายคณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำในที่ประชุม โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะต้องเดินหน้าสอดคล้องเชื่อมโยงกัน เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดต่อตัวโครงการและการพัฒนาประเทศด้วย.

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการ กพอ. ได้อนุมัติร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก หลังจากบรรลุข้อตกลงการเจรจากับเอกชนร่วมลงทุนกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส โดยจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)โดยเร็ว เพื่อลงนามภายในต้นเดือนมิถุนายนนี้ และจะเร่งส่งมอบพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างให้เสร็จภายในปี 2566

รถไฟเร็วสูง 1

ส่วนกรณีที่บริษัท แอร์บัส ถอนการลงทุนในศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานเพราะปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นายคณิศ ยืนยันว่า ขณะนี้มีเอกชน 4-5 รายที่สนใจจะเข้ามาลงทุน ซึ่งจะต้องพิจารณารูปแบบการลงทุนอีกครั้ง โดยจะเป็นการลงทุนร่วมกับ บมจ. การบินไทย (THAI) ซึ่งแม้ว่า THAI จะเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการก็จะไม่กระทบต่อแผนการลงทุน เพราะจากผลการศึกษา THAI ลงทุนในศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานจะเป็นประโยชน์และสร้างผลกำไรในอนาคต

พล.ร.ต. เกริกชัย วจนาภรณ์ เลขานุการและคณะกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก กล่าวว่า การคัดเลือกเอกชน คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาอย่างละเอียด ใช้เวลาการเจรจาสัญญาเสร็จสิ้น 1 ปี 6 เดือน มีการเจรจาสัญญาทั้งหมด 19 ครั้ง ใช้เวลา 3 เดือน ขณะที่การเจรจาของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ใช้เวลาเจรจา 10 เดือน และการลงทุนในเมืองการบิน เอกชนเป็นผู้ลงทุน

ทั้งนี้ รัฐบาลได้ประเมินรายได้จากสนามบินอยู่ที่ 305,555 ล้านบาท เมื่อหักจากคืนเงินงบประมาณที่นำมาลงทุนสร้างรางรถไฟความเร็วสูงก่อนหน้านี้ จะมีรายได้เหลือ 188,328 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินลงทุนในอนาคต

Avatar photo