Business

60 ปีการบินไทยจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ

เส้นทางเดิน 60 ปี บริษัทการบินไทย ในฐานะสายการบินแห่งชาติ มาวันนี้อาจจะทำให้ผู้คนจำนวนมาก คิดไม่ถึงมา การบินไทย มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร จุดที่ต้อง เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูภายใต้ศาลล้มละลาย อย่างเหลือเชื่อกับภาระหนี้สินล้นพ้นตัว เชื่อว่าน่าจะหนทางที่นำพาการบินไทยไปสู่จุดมุ่งหมายที่ดีในอนาคต สมดั่งกับสายการบินที่ได้ชื่อว่า “รักคุณเท่าฟ้า”

เดินอากาศไทย 4
ภาพเฟซบุ๊ก Thai Airways

จากข้อมูลวิกิพีเดีย ระบุว่าจุดก่อกำเนิด บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)  24 สิงหาคม พ.ศ. 2502 รัฐบาลไทยดำเนินการให้ บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด (บดท.) หรือ Thai Airways Company Limited; TAC  กับ สายการบินสแกนดิเนเวียน (Scandinavian Airlines System : SAS) ทำสัญญาร่วมทุนระหว่างกัน เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม2502

 29 มีนาคม 2503 บริษัท การบินไทย จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นด้วยทุนประเดิม 2 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินระหว่างประเทศ โดย มีเที่ยวบินปฐมฤกษ์ไปยังฮ่องกง เมื่อ 1 พฤษภาคม ปีเดียวกัน

การบินไทย192
ภาพเฟซบุ๊ก Thai Airways

30 มีนาคม 2520 เอสเอเอสคืนหุ้นให้เดินอากาศไทย หลังจากครบระยะเวลาตามสัญญาร่วมทุน แล้วโอนให้แก่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ตามมติคณะรัฐมนตรี พนักงานคนแรกได้แก่ กัปตัน พร้อม ณ ถลาง เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของการบินไทยในปี 2522 – 2523 อีกด้วย

ควบรวมกิจการกับเดินอากาศไทยปี2531

1 เมษายน 2531 เดินอากาศไทยซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบินภายในประเทศ รวมกิจการเข้ากับการบินไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติ เป็นหนึ่งเดียว ตามมติคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ

19 กรกฎาคม  2534 การบินไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามมติคณะรัฐมนตรี และจดทะเบียนแปลงสภาพเป็นบริษัทจำกัด มหาชน เมื่อปี 2537

ก่อตั้งพันธมิตรการบิน-ขยายเส้นทางบินปี 2540 

การบินไทย19
ภาพเฟซบุ๊ก Thai Airways

14 พฤษภาคม 2540 การบินไทยร่วมกับสายการบินลุฟต์ฮันซา, แอร์แคนาดา, เอสเอเอส, และ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ก่อตั้งพันธมิตรการบินแห่งแรก ใหญ่ที่สุด                  สตาร์อัลไลแอนซ์ขึ้น จากนั้นจึงเริ่มขยายที่หมายการบินใหม่ไปยัง เฉิงตู, ปูซาน, เชนไน, เซียะเหมิน, มิลาน, มอสโก, อิสลามาบาด, ไฮเดอราบัด และ ออสโล

29 ตุลาคม 2545 การบินไทยเปิดเส้นทางบินใหม่กรุงเทพ แวะกรุงเอเธนส์ ไปกรุงเจนีวา

ปี 2548 การบินไทยได้เปิดเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพ -นิวยอร์ก ด้วยเครื่องบินแบบ แอร์บัส เอ 340-500 ถือเป็นเที่ยวบินตรงเส้นทางแรกสู่สหรัฐอเมริกา ต่อมาได้เปลี่ยนเที่ยวบินตรงไปยังลอสแอนเจลิสแทน แต่เนื่องด้วยเครื่องบินรุ่นนี้ใช้น้ำมันมากจึงได้ ระงับไปในปี 2551 แม้จะมีผู้โดยสารจองที่นั่งกว่า80% ก็ตาม

ปี 2549 การบินไทยได้ย้ายฐานการปฏิบัติการ ไปยังสนามบินใหม่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ     การบินไทยได้ปรับภาพลักษณ์ของสายการบินใหม่ ตั้งแต่นำเครื่องบินรุ่นใหม่มาปฏิบัติการบิน ปรับปรุงที่นั่งรุ่นเก่าให้เป็นรุ่นใหม่ รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนการให้บริการภาคพื้น และบนเครื่องบินอีกด้วย เปิดเส้นทางใหม่ไป โจฮันเนสเบิร์ก วันที่ 31 ตุลาคม 2549

ปรับฝูงบิน ครบรอบ 50 ปีการบินไทย

ปี 2553 การบินไทยเพื่อฉลองครบรอบ 50 ปี  ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ผู้อำนวยการใหญ่ ขณะนั้น ได้ตั้งเป้าหมายอนาคตการบินไทย โดยสร้างแผนงานในการนำฝูงบินใหม่ มาทดแทนฝูงบินเก่า และปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น โดยวางแผนซื้อเครื่องบินแบบ โบอิงค์ 787 และ แอร์บัส เอ350 รวมไปถึงการนำเครื่องบินแบบ โบอิงค์ 747 และ 777 มาปรับปรุงห้องโดยสารใหม่อีกด้วย

 3 กุมภาพันธ์ 2554 การบินไทยจัดเที่ยวบินพิเศษ TG 8830 จาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปกลับท่าอากาศยานนานาชาติไคโร

การบินไทย กลับมาบินสู่ ลอสแอนเจลิส อีกครั้งในวันที่ 1 พฤษภาคม  2555 โดยแวะพักที่โซล ด้วยเครื่องบินแบบ แอร์บัส เอ 340-600 และปัจจุบันถูกแทนที่ด้วยโบอิง 777-200ER สำหรับเส้นทาง กรุงเทพ -โซล -ลอสแอนเจลิส

ยกเลิกเครื่องบิน ยกเลิกเที่ยวบิน ครบรอบ 55 ปี

 1 มกราคม 2558 การบินไทยและการบินไทยสมายล์มีเครื่องบินที่ทำการบินรวมกันมากถึง 102 ลำ มากที่สุดในประวัติศาสตร์

15 มกราคม 2558 การบินไทยบินเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโออาร์ แทมโบมา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเที่ยวบิน TG991 เป็นเที่ยวบินสุดท้าย

11 กุมภาพันธ์ 2558 การบินไทยบินเที่ยวบินขนส่งสินค้าโดยเครื่องบิน 747-400BCF เที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติอัมสเตอร์ดัม สคิปโฮลมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเที่ยวบิน TG899 เป็นเที่ยวบินสุดท้าย

การบินไทย1

27 มีนาคม 2558 การบินไทยบินเที่ยวบินขนส่งสินค้าโดยเครื่องบิน 747- 400BCF เที่ยวสุดท้าย ในเที่ยวบิน TG897 แฟรงเฟิร์ต-กรุงเทพ ก่อนปลดประจำการเครื่องบินรุ่นดังกล่าวและปลดเครื่องบินแบบ A340-600 ลำสุดท้าย เมื่อ 28 มีนาคม ให้บริการเที่ยวบินสุดท้ายในเที่ยวบิน TG923 แฟรงก์เฟิร์ตมากรุงเทพ

27 มีนาคม 2558 การบินไทยบินเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโวมาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  เป็นเที่ยวสุดท้าย ในเที่ยวบิน TG975 และกลับมาบินอีกครั้ง 15 ธันวาคม 2559  วันที่ 5 กันยายน 2558 ในเที่ยวบิน TG949 บริการเส้นทางไปท่าอากาศยานนานาชาติมาดริดบาราคัส มา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เที่ยวบินสุดท้ายก่อนยกเลิก และบริการเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส มาท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อนมา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  เที่ยวสุดท้าย ในวันที่ 25 ตุลาคม 2558 เที่ยวบิน TG693

การบินไทย เปิดโฆษณา ปลายทางคือคุณ เป็นเพลงฉลองครบรอบ 55 ปี และจัดโปรโมชั่นให้ผู้โดยสาร และจัดงาน TG Online Market Fair ครั้งที่ 1 ในวันที่ 28-29 เมษายน 2558

ปี 2560 การบินไทยบริการเที่ยวบินไปกลับระหว่าง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  ไปอัลมะดีนะฮ์ และ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปเจดดาห์ เป็นครั้งแรก เพื่อบริการผู้โดยสารที่ไปทำพิธีฮัจญ์

โควิด-19 เล่นงานหนักปี 2563

การบินไทย193
ภาพเฟซบุ๊ก Thai Airways

 23 เมษายน 2563 สำนักข่าวนิกเกอิ รายงานว่า การบินไทยอาจเป็นสายการบินแห่งชาติรายแรกของโลกที่ล้มละลาย ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากปัญหาขาดสภาพคล่องซึ่งสะสมมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติ โดยบริษัทเตรียมขอเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลัง 70,000 ล้านบาท[11] ทั้งนี้ผลดำเนินงานของบริษัทย้อนหลัง 3 ปีพบขาดทุนต่อเนื่อง

โดยปี 2562 ขาดทุน 12,017 ล้านบาท ปี 2561 ขาดทุน 11,569 ล้านบาท และปี 2560 ขาดทุน 2,072 ล้านบาท ด้านสำนักบริหารหนี้สาธารณะรายงานว่า ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 บริษัทมีหนี้สะสม 1.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ในประเทศ 101,511 ล้านบาท และหนี้ต่างประเทศ 47,209 ล้านบาท 

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight