Telecommunications

เริ่มแล้ว!!2ค่ายชิงประมูลคลื่น1800 MHz

a

วันนี้ (19 ส.ค.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) จัดประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) โดยมีผู้ประกอบการ 2 ราย เข้าร่วมประมูล ได้แก่ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด (DTN) และบริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวิร์ค จำกัด (AWN) บริษัทในเครือเอไอเอส โดยการประมูลเริ่มเคาะราคารอบแรก 10.00 น.

สำหรับหลักเกณฑ์การประมูลคลื่น 1800 MHz วันนี้รวม 45 MHz แบ่งเป็น 9 ใบอนุญาต ใบละ 5 MHz ผู้เข้าร่วมประมูลสูงสุดรายละ 4 ใบอนุญาต หรือรวม 20 MHz

b

ขั้นตอนผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเคาะครั้งแรก ซึ่งเป็นราคาขั้นต่ำใบอนุญาตที่ 12,486 ล้านบาท และเคาะราคาเพิ่มขึ้นครั้งละ 25 ล้านบาท หากผู้เข้าร่วมประมูลไม่มีการเคาะราคาจะถูกยึดหลักประกันตามหลักเกณฑ์ประมูล 2,500 ล้านบาท

การชำระเงินประมูลคลื่นฯ 1800 MHz แบ่งเป็น 3 งวด งวดแรกชำระ 50% ของราคาประมูลสูงสุด งวดที่ 2 ชำระ 25% ของราคาประมูลสูงสุด และงวดที่ 3 ชำระ 25% ของราคาประมูลสูงสุด กรณีผู้ชนะการประมูลไม่ชำระเงินค่าประมูลภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเป็นผู้ชนะการประมูล สำนักงาน กสทช. จะริบหลักประกันการประมูลจำนวน 2,500 ล้านบาท และผู้ชนะการประมูลต้องชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 1,875 ล้านบาทต่อหนึ่งใบอนุญาตที่ชนะการประมูล

ทั้งนี้ หลังการประมูลเสร็จ จะมีการประกาศผลประมูลภายใน 7 วัน โดย กสทช. จะออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นฯ 1800 MHz และใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ให้แก่ผู้เข้าร่วมประมูล ภายหลังผู้เข้าร่วมประมูลได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการดำเนินการก่อนรับใบอนุญาต ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งผลการประมูล

d 1

ประมูลคลื่นฯ 1800 หนุนไทยสู่ 5จี ปี63

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. กล่าวว่าการประมูลคลื่นฯ 1800 MHz วันนี้ เป็นการประมูลคลื่นฯ ก่อนสิ้นสุดสัมปทานในวันที่ 15 กันยายน 2561 เพื่อเตรียมความพร้อมการใช้คลื่นความถี่ของประเทศไทยสู่ยุค 5จี ในปี 2563 ซึ่งจะมีการใช้คลื่นความถี่จำนวนมาก ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้คลื่นความถี่จำนวน 420 MHz ขณะที่มาตรฐานการใช้คลื่นฯ 5 จี ในต่างประเทศอยู่ที่ 720 MHz ดังนั้นประเทศไทยต้องเตรียมความพร้อมการประมูลคลื่นฯ ต่างๆ เพื่อเข้าสู่ 5จี

การเข้าสู่ 5 จี จะมีการส่งข้อมูล(ดาต้า)จำนวนมากอย่างรวดเร็ว นอกจากจะมีการใช้งานของบุคคลแล้ว ในยุค 5 จี ยังมีการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน ไอโอที (IoT) ในยุคสมาร์ทซิตี้และสมาร์ทโฮม ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดย กสทช.จะสนับสนุนให้มีการใช้ อินฟราสตรัคเจอร์ แชริ่ง ร่วมกันเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ การประมูลคลื่น 1800 MHz ที่สัญญาสิ้นสุด 15 กันยายน 2561 ซึ่งเป็นคลื่นฯของดีแทค นอกจากนำเงินประมูลส่งเป็นรายได้รัฐ แล้วการประมูลคลื่นฯ 1800 MHz จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจหลัก “แสนล้านบาท” ขณะเดียวกันมีการประเมินว่าหากประเทศไทยไม่มีการใช้ 5 จี จะสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจหลักแสนล้านบาทในปี 2563 และปี 2573 จะสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2.3 ล้านล้านบาท ดังนั้นการประมูลคลื่นฯ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

“ในยุค 3จี ไทยมาช้า 12 ปี ส่วนยุค 4 จี ช้าไป 7 ปี แต่การเข้าสู่ 5 จี ไทยจะตามมาตรฐานเทคโนโลยีการใช้งานระดับโลก” นายฐากร กล่าว

e

Avatar photo