Opinions

‘กลุ่มป่าแก่งกระจาน’ ความสมบูรณ์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์

Avatar photo
1868

พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นผืนป่าที่มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี รวมพื้นที่ประมาณ 2,914.70  ตารางกิโลเมตร หรือ 1,821,687.84 ไร่ เป็นกลุ่มป่าที่สำคัญของระบบนิเวศ ทั้งระบบนิเวศบก แหล่งน้ำ และเป็นแหล่งพันธุกรรมของพืชและสัตว์ป่าที่สำคัญแห่งภูมิภาคเอเชีย

S 126681135

 

ด้วยเหตุนี้ ไทยจึงเสนอชื่อพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ภายใต้เกณฑ์ข้อ 10 ซึ่งระบุไว้ในเอกสารเนวทาง การอนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention) ด้วยเหตุผลที่ว่า กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นถิ่นที่อาศัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการอนุรักษ์ในถิ่นของความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงพบชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่มีคุณค่ายิ่งด้านการอนุรักษ์และวิทยาศาสตร์

พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ในปี 2554

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไทยมีความพยายามในการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดยนำเสนอเอกสารนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าเก่งกระจานเป็นมรดกโลกฉบับสมบูรณ์ต่อคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาครั้งเรกในปี 2558 แต่ด้วยข้อติดขัดในประเด็นต่าง ๆ จึงยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

จนกระทั่ง ในปี 2562 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน –10 กรกฎาคม 2562  คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณาการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าเก่งกระจานเป็นมรดกโลกและมีมติให้ส่งกลับเอกสาร (Refers) เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลใน 3 ประเด็น คือ

  1. ปรับปรุงแนวขอบเขต. การเสนอแหล่งโดยอยู่บนพื้นฐานความตกลงระหว่าง ไทย และเมียนมา
  2. ให้นำเสนอข้อมูล และการศึกษาเปรียบเทียบที่แสดงให้เห็นว่า การลดขอบเขตพื้นที่ ยังคงคุณค่าภายใต้หลักเกณฑ์ข้อที่ 10 เรื่องความสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ในการขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
  3. แสดงให้เห็นว่า ข้อกังวลทั้งหมดได้รับการแก้ไขโดยการปรึกษาอย่างเต็มที่กับชุมชนท้องถิ่น

ดังนั้น เพื่อเป็นการผลักดันการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าเก่งกระจานให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จึงได้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลกขึ้น โดยมีรัฐมนตรีว่าการประทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติเละสิ่งแวดล้อม  เเละกรมอุทยานเห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  เป็นเลขานุการร่วม ภายใต้ความร่วมมือจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงการต่างประเทศ ในการดำเนินการจัดทำเอกสารข้อมูลเพิ่มเติมเละประสานการดำเนินการ เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุม ครั้งที่ 44 ต่อไป

S 126681138

จากการศึกษาของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์เละความหลากหลายทางชีวภาพ ของพื้นที่ภายหลังการปรับลดขนาดพื้นที่นำเสนอบนพื้นฐานข้อหารือระหว่างไทย และเมียนมา พบว่ายังคงมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ป่า และพันธุ์พืชที่สำคัญอยู่ ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างชัดเจน

ส่วนข้อกังวลเรื่องการทำความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้ดำเนินการชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเสนอมรดกโลก และการขอสนับสนุนการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก กับชุมชนที่อยู่ในเขต และนอกเขตอุทยานแห่งชาติ โดยการเข้าร่วมประชุมหมู่บ้าน และชี้แจงทำความเข้าใจ มาโดยตลอด ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน

อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่สำคัญมากแห่งหนึ่งของไทย และยังเป็นพื้นที่ที่สามารถพบสัตว์ป่าหายากหลายชนิด ทั้งสัตว์ผู้ล่าสำคัญอย่างสัตว์ในตระกูลแมวป่า เช่น เสือโคร่ง เสือดาว/เสือดำ เสือลายเมฆ เสือไฟ เสือกระต่าย แมวลายหินอ่อน(สัตว์ป่าสงวน) แมวดาว และเสือปลา

นอกจากนี้ ยังมีสัตว์ป่าอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย สมเสร็จ(สัตว์ป่าสงวน) เก้งหม้อ(สัตว์ป่าสงวน) ช้างป่า กระทิง กวางป่า  หมีควาย หมีหมา หมาใน หมาจิ้งจอก ชะมดแปลงลายแถบ และยังมีนกกับแมลงที่สำคัญของผืนป่าแก่งกระจาน คือ นกกะลิงเขียดหางหนาม นกพญาปากกว้าง ที่ในประเทศไทยมีทั้งหมด 6 ชนิด โดยสามารถพบได้ที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานทั้งหมด

ตระกูลนกเงือกที่พบในประเทศไทยพบ 13 ชนิด ซึ่งสามารถพบได้ที่ป่าแก่งกระจาน 6 ชนิด คือ นกกก/นกกาฮัง นกเงือกสีน้ำตาล นกแก็ก นกเงือกหัวหงอก นกเงือกรามช้างปากเรียบ นกเงือกกรามช้าง และผีเสื้อที่อยู่ในรายชื่อแมลงคุ้มครองภายใต้ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 คือ ผีเสื้อหางติ่งสะพายเขียว และผีเสื้อรักแร้ขาว

4A443138 04C5 4576 A8E3 28C73F48BAD3

ปัจจุบันทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้มีการร่วมดำเนินการในการสำรวจสัตว์ป่าที่เป็นทั้งสัตว์ผู้ล่าและเหยื่อ กับทางสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย, กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย (WWF Thailand) ได้สนับสนุนระบบการตั้งกล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติในพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งอาศัยของเสือโคร่ง และสัตว์ป่าอื่นๆ ในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน รวมถึง สภาพปัญหาที่คุกคามเสือโคร่ง และสัตว์ป่าชนิดสำคัญอื่นๆ ในปัจจุบัน

การที่ป่าแก่งกระจานนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ทั้งในแง่ของพื้นที่ป่าไม้ สัตว์ผู้ล่าและเหยื่อของสัตว์ในตระกูลแมวป่าขนาดใหญ่ แก่งกระจานจึงเป็นพื้นที่ในอันดับต้นๆ ที่มีศักยภาพในการฟื้นฟูประชากรของสัตว์ป่าที่สำคัญของไทย การสำรวจและติดตามประชากรสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์อย่างเป็นระบบช่วยให้อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานมีข้อมูลพื้นฐานที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเป็นประโยชน์ต่อการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างแท้จริง

นับตั้งแต่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมมาตลอด ปัญหาชุมชนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติปัจจุบัน โดยเฉพาะชนชาติกะเหรี่ยงบ้านโป่งลึก-บ้านบางกลอย ก็ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต จากหน่วยราชการต่างๆ จนทำให้เกิดรายได้ของชุมชนจากการค้าสินค้าเกษตร จัดการท่องเที่ยวและบริการได้มากขึ้น  ทำให้หมู่บ้านได้รับการพัฒนามากขึ้น

คนที่อยู่ได้รับการจัดสรรที่ดินที่ทำกิน ตาม พระราชบัญญัติแห่งชาติพ.ศ. 2562 คนที่ไม่มีที่ดินทำกินสามารถปรับไปมีอาชีพ รายได้จากการท่องเที่ยวและบริการ  เป็นลูกจ้างของรัฐ ทำให้เกิดรายได้มีความมั่นคงมากขึ้น

ข้อมูล : อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน. กรมอุทยานแห่งชาติฯ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม