Business

อดีตดีดีแฉสาเหตุ ‘บินไทย’ ขาดทุน ถูกดึงธุรกิจสินค้าปลอดภาษี-เปิดท้องฟ้าเสรีอ้าซ่า

“กนก อภิรดี” อดีตดีดีร่ายยาวปัญหา “การบินไทย” ขาดทุนเหมือนกบต้ม มีหน้าที่สายการบินแห่งชาติ แต่ไร้สิทธิ ถูกฉกธุรกิจสินค้าปลอดภาษี รัฐเปิดเสรีการบินแบบอ้าซ่า ซ้ำฝ่ายบุคคลมีปัญหาหนัก ตำแหน่งซ้ำซ้อน ต่างคนต่างทำงาน

fig 15 08 2019 04 33 43

วานนี้ (9 พ.ค.) เพจเฟซบุ๊ก TG UNION ของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย โพสต์บทความชื่อ “การบินไทยอีกด้านของเหรียญ” ของนายกนก อภิรดี อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ระหว่างปี 2545-2549 มีเนื้อหาดังนี้

“ผมได้ดูคลิปคนนั้นคนนี้ออกมาพูดถึงต้นเหตุของการขาดทุนเเล้วหดหู่ เพราะ TG น่ะ อยู่ใน ICU จะเก่งวินิจฉัยยังไงก็ถูกเเหละ เเต่มันถูกเเค่เสี้ยวจี๊ดดดดเดียว เเถมไม่เห็นมีทางออกใหม่ๆ มาเสนอเลย ยกเว้นเมื่อเร็วนี้ที่ มี Sondhi Talk ที่ให้มุมมองใหม่ๆมาบ้าง

ทำไมไม่มีคนกล้าพูดว่า สิทธิของการเป็นสายการบินเเห่งชาติที่ต้องมีอีกหน้าที่นอกเหนือจากการสร้างกำไรตอบเเทนผู้ถีอหุ้นเเล้ว TG ยังมีความรับผิดชอบ “เพื่อชาติอีกหลายประการ” เช่น เอาเฉพาะวิกฤตเดียวก็พอ ดีไหม..ช่วงที่เกิด Tsunami ที่ภูเก็ต TG เร่งส่ง FAST Team เกือบ 30 คนลงภูเก็ตใน 24 ชม. เพื่อให้หมอ/พยาบาล คุยกับคนป่วย ฝรั่ง เเขก จีนให้รู้เรื่องว่าคนนอนพะงาบๆ ในโรงพยาบาลป่วยยังไง กินน้ำทะเลกับทรายเข้าท้องไปเท่าไหร่เจ็บป่วยยังไง..ต้องประสานตำรวจ ตม. เพื่ออำนวย “ความสะดวกพิเศษ” ให้ นทท. ที่ 90% Passport หาย.. สร้างระบบให้ นทท. บินออกก่อนจ่ายทีหลังได้เพียงเเค่บอกว่าบินมาสายการบินอะไรเเล้วลงชื่อ (เก็บเงินได้ไม่ได้ว่าทีหลัง..) ขอความอนุเคราะห์เก้าอี้ไทยน้ำทิพย์ส่งเก้าอี้มาช่วย 1,000 ตัว..ขนผ้าห่ม/หมอนมาลงให้ทั้งลำตั้งเเต่คืนเเรก

DD กับทีมสั่งการหมด..ตั้งเเต่เจรจา Win รถ 2 เเถวให้ช่วยระดมรถมาระบายคนจากสนามบินเป็นหลายๆพันคนโดยเร็วโดยไม่ให้ขึ้นราคา รวมถึงให้ขน นทท. ลงจากโรงเรียนเทคนิคที่ TG อพยพทุกคนให้ขึ้นไปอยูที่สูงตั้งเเต่นาทีเเรกที่คลื่นซัด ท่วม Runway เเล้ว เลยลงมาไม่ได้ ไม่เกี่ยงว่าเป็นลูกค้าสายการบินไหน เคลียร์เเม้กระทั่งทุกห้องทำงานที่สนามบินที่พอว่างให้จัดเป็นพื้นที่ให้ นทท. ได้นอน ประสานเทศบาลเมืองภูเก็ตส่งหน่วยพิเศษมาดูดส้วมเพราะส้วมเต็ม ตั้งศูนย์รับเเจ้งคนหาย สั่งผลิตเเซนด์วิช/เเฮมเบอร์เก้อร์ 24 ชั่วโมงเเจกฟรีเป็นเดือน ให้ศูนย์ผลิตน้ำของ Catering ที่ดอนเมืองผลิตน้ำขวดไม่ต้องหยุด ขนมาเเจกฟรี เลี้ยงนักท่องเที่ยวที่มีเเต่ตัวกับกางเกงขาสั้นขาดๆ DD เยี่ยม นทท.

ที่โรงพยาบาลทุกคืนตั้งเเต่คืนเเรก สั่งถุงใส่ศพมาเป็นพันถุงมาลงที่ Cargo เพราะพ้น 2-3 วัน ศพเริ่มอีดเต็มโรงเเต่ระบายไม่ออก..ประสานทุกสถานฑูตที่ขาดงบประมาณให้รับศพที่เน่าเเล้วกลับก่อน คิดเเค่ 50% จ่ายทีหลังได้ ตั้งศูนย์รักษาผู้บาดเจ็บเเบบเบาเพิ่มที่ดอนเมืองเพื่อระบายคนเจ็บน้อยจากภูเก็ตออกมาเพราะเกินกำลัง เพิ่มเปลบนเครื่องบินสำหรับ นทท. ที่บาดเจ็บเดินไม่ไหว ส่งทีม ปชส. TG เยี่ยมคนป่วยที่โรงพยาบาลทั้งในภูเก็ต/กทม.

นี่ยังไม่ได้ลงรายละเอียดปลีกย่อยนะ เเละนี่ยังไม่ได้พูดถึงการขอ SMED Bank ให้กู้เงินฟื้นฟูร้านหน้าหาดป่าตองทั้งถนน ที่ให้ Grace Period + ดอกเบี้ยพิเศษเพื่อล้างร่องรอยของร้านเดิมที่พังพินาศหมดโดยเร็ว ไม่นับรวมภาระที่ต้องสร้างโครงการดึง นทท. กลุ่มใหม่กลับภูเก็ตโดยเร็วเช่น Beach Boy Beach Girl Contest Program (ไม่อยากอธิบาย!) เพราะนทท. หนุ่มสาวไม่กลัวผี เเต่กลับรักผี Gasper ขนผู้สื่อข่าวต่างประเทศมาดูให้เห็นว่าภูเก็ตฟื้นเเล้ว 100% (Fam. Trip) ให้พนักงานทั่วโลกเอาดอกกุหลาบขาว พร้อมจดหมายแสดงความเสียใจ Condolescence Letter จาก DD (เขียนเอง)ไปหาทุกครอบครัวที่สูญเสียหรือบาดเจ็บ

ด้วยความรักเเละห่วงใยจาก TG เเนะนำให้จัดตั้ง สึนามิ club เพื่อดึงครอบครัวโดยเฉพาะกลุ่มสเเเกนดิเนเวียให้กลับมารายการรำลึก Tsunami ที่ภูเก็ต เป็นต้น นี่ TG ทำทั้งนั้น

ผมถามกลับว่าใครรับภาระเหล่านี้ถ้าไม่ใช่ TG เเละคนการบินไทย นี่ไม่นับรวมถึงวิกฤตอื่นๆ เช่น SARS Bird Flu เเต่ไม่เคยได้เเม้เเต่คำชื่นชมจากประธานหรือคณะกรรมการ ซ้ำร้ายรัฐบาลกลับเปิดเสรีด้านการบินเเบบอ้าซ่าที่ในโลกเขาไม่ทำกัน โดย TG ไม่เคยได้รับรู้ว่าให้ Licenses ไปกี่ใบ ใครจะบินเข้ามาบ้าง อาทิตย์ละกี่เที่ยว ทั้งๆที่สายการบินเเห่งชาติประเทศอื่นๆ ใครจะขอเส้นทางบินจะต้อง Consult National Airline ก่อนเสมอเพื่อรักษาสมดุลย์ระหว่างอุปสงค์เเละอุปทานระหว่างจำนวน นทท. กับจำนวนเครื่องบินและจำนวนเที่ยวบิน ให้สัมพันธ์กัน

ภาพประกอบข่าว TG127 2

“บินไทย” ถูกริบสิทธิสายการบินแห่งชาติ

สรุปคือรัฐบาลมอบเเต่หน้าที่ให้ TG เเต่เอาสิทธิของสายการบินเเห่งชาติกลับไปหมด รวมถึงสิทธิของการค้าขายสินค้าปลอดภาษี (Free Tax Privilege) ที่สนามบินที่ TG เคยได้รับอยู่คืนกลับไปให้สนามบินโดยที่ไม่ชดเชยอะไรให้เลย ถามว่าไอ้ที่ว่ารู้ว่าเหตุที่ TG มันเริ่มขาดทุนนั้นมันไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น มันเหมือนเอากบโยนใส่น้ำในหม้อเเล้วจุดไฟต้มมานานจนตอนนี้เริ่มร้อนฉ่า เเล้วไปโทษ DD สุเมธคนเดียว เเล้วไอ้พวกบริหารที่มันเคยอยู่มาก่อน 20-30 ปี ไม่เห็นกล้าพูดเรื่องที่รัฐบาลสั่งยกธุรกิจสินค้าปลอดภาษีไปให้สนามบินหรือการเปิด Open Sky Policy เเบบอ้าซ่า (นี่ก็อยากเเจก Licenses อีก2-3ใบเพิ่ม)

อยากรู้ว่า TG ถอยให้ขนาดนี้ยังไม่พออีกหรือ? ไม่เห็นไอ้พวกไหนออกมาพูดเลยว่า เลิกเรียก TG ว่า “สายการบินเห่งชาติ” ได้เเล้ว เพราะสิทธิที่ TG เคยมีถูกรัฐบาลในอดีตเอาไปแจกสนามบิน/สายการบินอื่นๆ หมดเเล้ว..เเล้วจะให้ TG เเบกเเต่ “หน้าที่ (ซึ่งมีต้นทุน)” เหล่านี้โดย กระทรวงไม่เคยเห็นเสนอทางออกดีๆ หรือให้ First Priority อะไรกลับมาให้ TG เลย มีเเต่ประเคนความสะดวกสายการบินที่มาทีหลัง ให้งวงรับผู้โดยสารดีๆไปก็เยอะ เเต่เครื่องบิน TG บ่อยๆ ครั้งให้มันไปจอดกลางลาน ให้ผู้โดยสารเดินเดิน..เดิน..ร้อนก็ร้อน ฝนก็พรำ ฝุ่นก็เยอะ เสียงก็ดัง (ลึกๆ อยากถามว่าอย่างนี้คือสิทธิของสายการบินเเห่งชาติเเบบไหนกันนะ?)

ทั้งที่เราจ่ายค่าบริการให้ปีละเกือบหมื่นล้านมาเป็นกี่ปี จ่ายสูงสุดกว่าทุกๆ สายการบินด้วย มีเเต่ทุกสายการบินทุ่มเทเพื่อป้อนกำไรให้ AOT เเต่ก็ยังเห็นการปล่อยให้ผู้โดยสารนั่งกับพื้น ห้องน้ำก็โกโรโกโส สกปรก/เเฉะ เก้าอี้นั่งรอไฟลท์เก่าจนทะลุขาดวิ่นเเล้วก็มีให้เห็น ทั้งๆ ที่สายการบินส่งกำไรให้มากมาย เเจกโบนัสกัน 5-6เดือน (ก็ยินดีด้วย!) ทั้งๆที่รายได้ของสนามบินเกิดจากความเหนื่อยยากของลูกค้าสายการบินทั้งสิ้น

ผมน่ะออกจาก TG มากว่า 10 ปีเเล้ว เห็นเเต่คนพูดเก่ง รู้เยอะ เเต่ไม่เห็นใครจะกล้าพูดเรื่องพวกนี้ ทั้งๆที่มันเป็น “ความจริง” กล้าๆหน่อยเพ่! หรือจะรอให้ TG คิดย้าย HUB ไปใช้สนามบินอื่นที่เขาให้ priority กับ TG อย่าง ที่ Qantas เคยทิ้งไทยไปในอดีต

อยากดูว่ากระทรวงไหนจะมาอ้างว่า TG เป็นสายการบินเเห่งชาติ จึงต้องตะบันใช้ AOT ต่อไป มันเป็นธรรมไหมพี่ท่าน ที่ทุกสายการบินทำงานกันแทบขาดใจ เพื่อขน นทท. มาให้ สนามบิน ร้าน Free Tax โรงเเรม/ร้านอาหาร/เเทกซี่ ลีมูซีนโคยที่รัฐบาลได้เเต่คุยอวดตัวเลข นทท. ไม่เห็นอวดเรื่องนโยบายดึง นทท. คุณภาพ เน้นเเต่ปริมาณอย่างเดียว

เเทนที่จะโฆษณาเรื่องเด่นๆ เเละการบริการหรูระดับ 5-6 ดาว อาหารหรู ห้างหรู โรงเเรมหรู สปาหรู โรงพยาบาลหรู รถทัวร์หรู คลับหรูๆ เเทนที่จะขายเป็นเเต่ถูก..ถูก..ถูกๆ อย่างเดียว เราก็ได้เเต่ นทท. ที่เน้นเเต่มุ่งของถูกๆ เเล้วผู้ประกอบการไทยจะมีกำไรที่ไหนไปต่อยอดสร้างคุณค่าเพิ่มเเข่งกับประเทศอื่นๆ ไหม ก็เหลือทางออกเดียวคือกำไรไม่คุ้มก็ขายๆ กิจการไป เเล้วเราก็ไปด่าคนจีนคนตะวันออกกลางว่ามาเเย่งกิจการคนไทย กล้าปฏิรูปทั้งระบบจริงหรือเปล่า ?

ถ้ากล้าจริงก็สร้างเวทีเสนอยกเครื่องกันทั้งระบบ/อุตสาหกรรมเลย เอาเเบบนอกกรอบกันนะ พวกคิดในกรอบไม่ต้องมานำเสนอ มัน Analogue ไปเเล้ว จะดีไหมครับครับ

การบินไทย

ปัญหาด้าน HR

– โครงสร้างองค์กรไม่กระชับ จำนวนผู้บริหารระดับสูง (EVP/VP) มีมาก บางตำแหน่งงานซ้ำซ้อนกัน narrow span of control (มี 1 -2 division ใน 1 department) ตำแหน่งงานที่สูงกว่า บางหน่วยอาจจะทำงานเท่ากับหรือน้อยกว่าตำแหน่งที่ต่ำกว่า (เช่น ตน. accounting officer 5 และ accounting officer 6 อยู่คนละกระบอกเงินเดือน แต่ทำงานเหมือนกัน ไม่ได้มีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น)

– Job description ไม่ชัดเจน บางตำแหน่งระดับสูง แต่มี job value ต่ำ หรือในตำแหน่งงานเท่ากัน job value ต่างกันมาก ในขณะที่ค่าตอบแทนเป็นตามกระบอกเงินเดือนของตำแหน่งนั้นๆ ชื่อตำแหน่งงาน กับภารกิจของงานไม่สอดคล้องกัน (เช่น ตำแหน่ง customer service แต่ทำงานธุรการล้วนๆ อยู่ back office)

– การวิเคราะห์อัตรากำลัง ไม่ได้วิเคราะห์ให้เป็นไปตามที่ process งานที่แท้จริง HR กลางมีหลักเกณฑ์ให้แต่ละหน่วยวิเคราะห์เอง หน่วยงานจะเขียน process เพื่อให้ได้จำนวน head count เพิ่ม หน่วยกลางที่ทำหน้าที่ตรวจสอบมีคนแค่ 3-4 คน ซึ่งไม่สามารถที่จะวิเคราะห์ได้ทั้งหมด โดยภาพรวมของบริษัท over staff แต่ในความเป็นจริง พนง. Back office มีจำนวนมากกกก ในขณะที่ front line คนไม่พอ

– HR strategy เป็นอะไรที่ขับเคลื่อนยาก ผู้บริหารคิดว่างานบริหารคนเป็นหน้าที่ของ HR กลาง เวลานำเสนอเครื่องมือใหม่ๆ ไปมักจะถูกต่อต้าน

– การประเมินผล เปลี่ยนใช้ระบบ performance management/KPI ตั้งตัววัดแบบไม่ท้าทาย ต้องการผลประเมินให้ได้ คะแนนสูงๆ เลยใช้ตัววัดที่ง่ายๆ ตัววัดที่สำคัญ/จำเป็นต่อการขับเคลื่อน ไม่เอามาวัด หรือว่าวัดด้วยการมให้น้ำหนักน้อยๆ

– ยังมีวัฒนธรรมการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งไม่โปร่งใส ไม่ได้เป็นไปตามความรู้ความสามารถ การขึ้นเงินเดือนหัวหน้าหน่วยพิจารณาเแงตามกรอบวงเงินที่บริษัทกำหนด พนง. บางคนคาดหวังว่า 2-3 ปี ต้องได้เลื่อนตำแหน่ง (แต่ทำงานเหมือนเดิม)

– มักจะโยกงานไปให้พนักงานที่มีความสามารถทำงานได้ แทนที่จะแต่งตั้งคนที่มีความรู้ความสามารถให้เหมาะกับงาน)

– ทำงานเป็น silo ต่างคนต่างทำ ไม่ค่อยเป็น cross function ดังนั้นถ้าขาดพนักงานไป งานนั้นจะสะดุด หาคนที่ทำการแทนยาก

– ไม่ค่อยมี job rotation ทำงานเป็นหน้าเดียว พนักงาน front line ต่างจังหวัด ทำงานได้หลายหน้ามากกว่า

– งานด้าน HRD พอขับเคลื่อนไปได้

– คน HR ควรจะปรับเปลี่ยนให้เป็น Strategic partner ไม่ใช่ยังคงเป็นเป็น personnel

Avatar photo