COVID-19

‘ศบค.’ ย้ำช่วยกันดูแล 1-2 เดือนก็จะปลอดโควิด-19 ส่งสัญญาณรถไฟฟ้าเพิ่มความถี่

เฮ! วันนี้ (5 พ.ค.) “ศบค.” แถลงพบผู้ป่วยโควิด-19 ใหม่แค่ 1 ราย แนะช่วยกันดูแล 1-2 เดือนก็จะปลอดโรค แนะรถไฟฟ้าเพิ่มความถี่ลดแออัด ด้านมาตรการคลายล็อกพบกิจการ 4% ยังทำผิดมาตรฐาน โดยเจ้าหน้าที่จะเริ่มจากการตักเตือน แต่ยังไม่สั่งปิด พร้อมสั่งเพิ่มคุณภาพแล็บตรวจโควิด-19 สร้างความมั่นใจให้ประชาชน จากตอนนี้ถึงสิ้นเดือนเตรียมขนคนไทยอีก 7 พันคนกลับบ้าน

report01 01 0

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยถึงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ประจำวันนี้ (5 พ.ค.) ว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย อยู่ในศูนย์กักกันที่ด่านสะเดา จังหวัดสงขลา รวมผู้ป่วยสะสม 2,988 ราย ผู้ป่วยหายกลับบ้านได้รายใหม่ 7 ราย รวมกลับบ้านได้สะสม 2,747 ราย เหลือผู้ป่วยในโรงพยาบาล 187 ราย ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มเติมและยอดเสียชีวิตสะสมรวม 54 รายเท่าเดิม

จำนวนผู้ป่วยยืนยันจำแนกตามพื้นที่รักษา ได้แก่ กรุงเทพฯ และนนทบุรี 1,697 ราย, ภาคเหนือ 94 ราย, ภาคกลาง 379 ราย, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 111 ราย และภาคใต้ 707 ราย

สำหรับผู้ป่วยใหม่ 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 45 ปี ชาวนราธิวาส พบมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน มีประวัติเสี่ยงจากการเดินทางไปศาสนสถาน มีประวัติสัมผัสครอบครัว ชุมชน และอยู่ระหว่างการหาประวัติเสี่ยงเพิ่มเติม โดยเมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมามีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ หายใจเหนื่อย มีอาการปอดอักเสบ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนราธิวาสและผลออกวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 พบติดเชื้อไวรัสโควิด-19

report03 01 0

สำหรับประชาชน 40 รายในจังหวัดยะลาที่ต้องมีการตรวจสอบผลไวรัสโควิด-19 เพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการเป็นครั้งที่ 3 นั้น ขอให้รอก่อน เพราะต้องเก็บตัวอย่างในจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งทบทวนกระบวนการทั้งหมด โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาณระสุขและรองนายกรัฐมนตรี ก็จะประชุมในบ่ายวันนี้ เพราะหากพบ 40 รายถือว่ามีจำนวนมากและจะคลายข้อสงสัยเรื่องการดูแลห้องปฏิบัติการต่างๆ ด้วย

“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องจะมาพูดคุยกัน เพราะมองว่าความเชื่อมั่นเป็นเรื่องสำคัญ แต่หน่วยงานระดับปฏิบัติก็ต้องเพิ่มจำนวนศูนย์ปฏิบัติการให้ได้ เพื่อลดประเด็นเรื่องการตรวจน้อยทำให้เจอน้อย การเพิ่มปริมาณอาจจะเพิ่มคุณภาพในช่วงนี้ไปด้วย แต่ต้องยอมรับว่าการปฏิบัติการต่างๆ ต้องเรียนรู้ให้เท่ากัน แล็บที่เพิ่งเปิดใหม่และบุคลากรที่เพิ่งเริ่มต้น อาจจะมีข้อจำกัด ทางกระทรวงสาธารณะสุขเห็นถึงความสำคัญ เพราะฉะนั้นศูนย์ใหม่ๆ อาจจะต้องมีการส่งตัวตรวจ 2 แล็บหรือ 3 แล็บเพื่อความมั่นใจ” นพ.ทวีศิลป์กล่าว

report02 01 0

จำนวนผู้ติดเชื้อยืนยัน จำแนกตามเพศ แบ่งเป็น หญิง 1,363 ราย และชาย 1,625 ราย หรือคิดเป็นอัตราส่วนหญิงต่อชาย 1:1.19 ผู้ติดเชื้ออายุน้อยที่สุด 1 เดือน อายุมากที่สุด 99 ปี อายุเฉลี่ยติดเชื้อ 39 ปี โดยพบสูงสุดในกลุ่มอายุ 20-29 ปี จำนวน 763 ราย

5 May Map NewCase 01

ทั้งนี้ จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยใน 28 วันที่ผ่านมา มีจำนวน 34 จังหวัด, จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 28 วันที่ผ่านมาจำนวน 34 จังหวัด และจังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาก่อนเลย 9 จังหวัด ส่วนจังหวัดที่มีผู้ป่วยใหม่ คือ นราธิวาสจำนวน 1 ราย

5 May map increase02 01

5 May map non infection02 01

จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงสุดจำแนกตามจังหวัด ได้แก่ 1.กรุงเทพฯ 1,526 ราย, 2.ภูเก็ต 220 ราย, 3.นนทบุรี 157 ราย, 4.ยะลา 118 ราย, 5.สมุทรปราการ 114 ราย, 6.ชลบุรี 87 ราย, 7. ปัตตานี 79 ราย, 8. สงขลา 44 ราย, 9. เชียงใหม่ 40 ราย และ 10.ปทุมธานี 39 ราย

จังหวัดที่ยังไม่พบผู้ติดเชื้อ 10 แห่ง ได้แก่ กำแพงเพชร, ชัยนาท, ตราด, น่าน, บึงกาฬ, พิจิตร, ระนอง, สิงห์บุรี,อ่างทอง และสตูล

โดยจำแนกผู้ป่วยตามปัจจัยเสี่ยงที่พบมาที่สุด คือ 1. ศูนย์กักกันสะสม 60 ราย, สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ 49 ราย, 3. การค้นหาเชิงรุก  31 ราย, 4.ผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศและอยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ 13 ราย และไปสถานที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด 8 ราย

5 May Map increase 01

สำหรับ 10 จังหวัดที่มีอัตราการป่วยสูงสุดต่อประชากรแสนคน ได้แก่ 1. ภูเก็ต 53.22, 2.กรุงเทพฯ 26.91, 3.ยะลา 22.08, 4.นนทบุรี 12.50, 5. ปัตตานี 10.95, 6.สมุทรปราการ 8.53, 7.ชลบุรี 5.62, 8.นราธิวาส 3.60, 9.ปทุมธานี 3.38 และ 10.สงขลา 3.07

สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางห้องปฏิบัติการจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ 7 เมษายนถึงปัจจบันมีการทดสอบ 50,741 รายและเจอผู้ป่วยยืนยัน 767 ราย ความสามารถในการค้นหาคิดเป็น 1.51% ห้องแล็บกระจายไปทั่วประเทศ เพื่อดึงผูป่วยที่มีอาการไม่มากเข้ามาตรวจ

รายงานผลการสำรวจการปฏิบัติการตามมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 โดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตลอเดือนเมษายน 2563 พบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถาม 99,865 ราย พบว่า

  • 8% เข้าใจว่าควรทำมาตรการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” อย่างไร
  • 8% คิดว่ามาตรการ “หยุดบ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ช่วยลดการระบาดของโรคได้
  • พฤติกรรมป้องกันตัวเอง ได้แก่ 91.2% ใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าเพิ่มขึ้นเป็น 91.2%, ล้างเมือด้วยสบู่ 87.2% และกินร้อนช้อนตัวเอง 86.1% แต่ที่น้อยคือ รักษาระยะห่าง 65.3% และไม่เอามือลูบหน้าจมูกปาก 62.9%
  • สถานที่ที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าควรเปิดคือ 69.9% ได้แก่ ตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้าและ 45.7% ร้านตัดผม คลินิกเสริมความงาม นวดแผนโบราณ สปา
  • สถานที่ที่ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่ควรเปิดคือ 90.5% สนามมวย สนามกีฬา สนามแข่งขัน สนามม้า และ89.9% ผับ สถานบริการ สถานที่แสดงมหรสพ สถานประกอบการอาบอบนวด
  • ความกังวลของประชาชนในการยินยอมให้รัฐจัดสถานที่ควบคุมเพื่อสังเกตอาการเริ่มป่วย (Stage Quarantine) ในชุมชน พบว่า 80% ยินยอมและไม่ยินยอม 20%

ComeBack 01

สำหรับวันนี้กระทรวงต่างประเทศไทยแจ้งว่า จะมีเที่ยวบิน 2 เที่ยวนำคนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ ประกอบด้วย ฝรั่งเศส 16 คน และอินเดีย 220 คน วันพรุ่งนี้ (6 เม.ย.) มี 3 เที่ยวบิน นำคนไทยกลับจากเมียนมา 65 คน, เยอรมนี 110 คน และปากีสถาน 122 คน โดยตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน-4 พฤษภาคม 2563 มีคนไทยเดินทางกลับมาแล้ว 4,401 คน จาก 26 ประเทศ/ดินแดน

000

ทั้งนี้ ในห้วงวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 มี 2 เที่ยวบินนำคนไทยกลับจากแอฟริกาใต้และเกาหลีใต้, วันที่ 8 พฤษภาคม 2563 มีจำนวน 2 เที่ยวบิน จากสหรัฐอารับเอมิเรตส์และอิยิปส์, วันที่ 9 พฤษภาคม 2563 จำนวน 4 เที่ยวบิน จากญี่ปุ่น 2 เที่ยวบิน, เนเธอแลนด์ และเวียดนาม และวันที่ 10 พฤษภาคม 2563 จำนวน 3 เที่ยวบิน ได้แก่ ไต้หวัน, สหรัฐ และญี่ปุ่น โดยตั้งแต่พรุ่งนี้ (6 พ.ค.) ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 มีแผนนำคนไทยเดินทางกลับอีกประมาณ 7,000 คน

ComeBack02 01

สำหรับสถิติคนไทยเดนิทางกลับเข้าประเทศผ่านจุดผ่านแดนทางบก แบ่งเป็น เมียนมา 26 คน, มาเลเซ๊ย 348 คน (ลงทะเบียน 275 คนและไม่ลงทะเบียน 73 คน), สปป.ลาว 10 คน และกัมพูชา 17 คน

สำหรับกรณีที่รัฐบาลมีมาตรการผ่อนปรน โดยมีการจัดชุดตรวจตาม ศบค. เมื่อวานนี้ (4 พ.ค.) ชุดตรวจร่วม 4 หน่ยงานราชการ 9,383 กิจการ/กิจกรรม พบปฏิบัติตามมาตรการ 9,032 แห่ง หรือ 96%และไม่ปฏิบัติตาม 351 แห่ง หรือ 4% โดยพบว่าร้านอาหาร/เครื่องดื่มไม่ปฏิบัติตามมาตรการมากที่สุด 6.7%

สำหรับกระแสข่าวการปิดกิจการไม่ปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ นั้น ตอนนี้เป็นช่วงการเปลี่ยนผ่าน โดยตอนนี้ยังไม่มีการสั่งปิดใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าปิดก็กลุ่มทำผิดกฎหมาย ถ้าทำถูกกฎหมาย ตอนนี้เป็นการให้คำชี้แนะนำและให้รู้ไปพร้อมกัน ถ้ารอบที่ 2 พบการกระทำผิด อาจถูกสั่งปิดหรือเพิ่มมาตรการใดๆ

สำหรับวันพรุ่งนี้ (6 พ.ค.) เป็นวันวิสาขบูชา มหาเถรสมาคมก็มีมติออกมาว่า งดจัดกิจกรรมให้ประชาชนมารวมกลุ่มกัน ยกเวเนการปฏิบัติกิจของสงฆ์ แนะนำให้เวียนเทียนที่บ้านเวลา 19.00 น. พร้อมกับการถ่ายทอดของหลายๆ วัด

นพ.ทวีศิลป์ทิ้งท้ายว่า การได้ตัวเลขผู้ป่วยใหม่แค่ 1 เพราะ 7 วันและ 14 วันที่ผ่านมา หลายวันนี้มีคนกังวลใจมาก และผมเองก็กังวลใจว่า อีก 7 หรือ 14 วันข้าหน้าจะเป็นอย่างไร วันนี้ท่านมีสติตลอดเวลา อย่างน้อยใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง หากท่านไปที่ร้านค้าก็แนะนำด้วยไมตรีจิตให้ปรับปรุง ช่วยกันเป็นหูเป็นตา ประชาชนเป็นชุดตรวจช่วยกันดูแล สังคมไทยก็จะรอด ผ่านพ้นไปได้ 1-2 เดือนนี้ ก็จะปลอดโรค

สำหรับเมื่อเช้ารถไฟฟ้าหลายสถานีคนแออัดกัน แต่ส่วนใหญ่สวมหน้ากากอนามัย ต้องให้ผู้ดำเนินกิจการ ปรับพื้นที่ให้ได้ ถ้าพื้นที่จำกัด ก็เพิ่มความถี่ ถ้าขึ้นรถช่วงเดียวกัน ถ้าตู้โดยสารน้อยไป ก็เพิ่มตู้โดยสารไปอีก ให้ผู้โดยสารช่วยกันคิด พร้อมขอให้ผู้โดยสารเหลื่อมเวลาทำงานรือทำงานในบ้านหากเป็นไปได้

Avatar photo