General

‘May Day’ 1 พฤษภาคม ‘วันแรงงาน’ มาจากไหน

วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี คือ วันที่ทุกคนรู้กันว่าเป็น “วันแรงงาน” แต่กว่าจะมาเป็นอย่างทุกวันนี้ ก็มีประวัติอันยาวนานอยู่เหมือนกัน

first 5060313 640

แต่เดิมนั้น ประเทศในแถบยุโรปจะนับว่า วันเมย์ เดย์ (May Day) คือวันแรกของเดือนพฤษภาคม เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ในหน้าเกษตรกรรม จึงได้จัดให้มีพิธีเฉลิมฉลองและทำการบวงสรวง เพื่อขอให้เทพเจ้าช่วยดลบันดาลให้การปลูกพืชเป็นไปด้วยดี อีกทั้งยังขอให้ประชาชนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบ มีความร่มเย็นเป็นสุข

ทางภาคเหนือของยุโรป ยังมีการจัดงานรอบกองไฟในวันเมย์ เดย์นี้ด้วย ซึ่งประเพณีนี้ในประเทศอังกฤษก็ยังคงปฏิบัติกันสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

ในตอนแรกนั้น วันเมย์ เดย์ ถือเป็นเพียงแค่วันหยุดพักผ่อนประจำปี แต่ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมในหลายๆ แห่งได้ถือว่าวันนี้เป็นวันหยุดตามประเพณี โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำประโยชน์ต่างๆ ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ความหมายของวันเมย์เดย์จึงเปลี่ยนไปจากเดิม จนเมื่อปี 2433 ได้มีการออกมาเรียกร้องในหลายประเทศทางแถบตะวันตกให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ทำให้ในหลายประเทศได้เริ่มมีการจัดงานเฉลิมฉลองวันแรงงานเป็นขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2433 และสืบทอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

วันแรงงานในไทย

การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ที่ทำให้อุตสาหกรรมต่างๆ ขยายตัวมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้แรงงานต่างก็มีปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งปัญหาแรงงานบางอย่าง ก็ซับซ้อนยากที่จะแก้ไขได้ ทำให้ในปี 2475  ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงาน โดยเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงาน ตลอดจนคุ้มครอง และดูแลสภาพการทำงานของแรงงาน เพื่อสร้างรากฐาน และส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างให้ดีขึ้น

วันที่ 20 เมษายน 2499 คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกแรงงานได้จัดประชุมขึ้น โดยมีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ให้เป็นวันที่ระลึกถึงแรงงานไทย จึงได้มีหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนี้ถึงนายกรัฐมนตรี ทำให้นับแต่นั้นมา วันที่ 1 พฤษภาคม จึงกลายเป็น วันกรรมกรแห่งชาติ ก่อนที่ในเวลาต่อมาจะเปลี่ยนชื่อเป็น วันแรงงานแห่งชาติ

ในปี 2500 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ที่กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิ์หยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติได้ แต่พระราชบัญญัติฉบับนี้มีอายุได้เพียง 18 เดือนก็ถูกยกเลิกไป โดยมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มาแทนที่ และให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน อีกทั้งยังกำหนดให้วันกรรมกรเป็นวันหยุดตามประเพณี

mmmm
แฟ้มภาพ

แต่เนื่องด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นมีความไม่แน่นอน จึงมีคำชี้แจงออกมาในแต่ละปีเพื่อเป็นการเตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม โดยในบางมีก็ได้มีการขอร้องไม่ให้มีการเฉลิมฉลองเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

จนกระทั่งมาถึงปี 2517 ได้เปิดโอกาสให้มีการเฉลิมฉลองตามสมควร โดยได้มอบหมายให้กรมแรงงาน ที่ขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดงานฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี ภายในงานได้มีการจัดให้ทำบุญตักบาตร มีนิทรรศการแแสดงความรู้ ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

วันแรงงานแห่งชาติ ไม่ถือว่าเป็นวันหยุดราชการ หน่วยงานราชการก็ยังคงเปิดทำงาน และให้บริการตามปกติ ส่วนที่มีการหยุดงานจะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนเท่านั้น

may

“เมย์ เดย์” หมายถึงวันแรงงาน หรืออะไรกันแน่ 

แม้ภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการจะระบุว่า วันแรงงาน คือ Labour Day  แต่ก็ไม่แปลกที่บางพื้นที่จะเรียกวันแรงงานว่า May Day  เพราะเป็นเดือนพฤษภาคม แต่ก็อาจสร้างความสับสนขึ้นมาได้สำหรับบางคน  เพราะคำว่า May Day ในทางสากลก็ยังหมายถึงการเรียกร้องขอความช่วยเหลือ แต่ก็ยังมีจุดสังเกตที่แตกต่างกันอยู่นิดนึง

ถ้าหากอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และมีคนตะโกนว่า may day may day may day  อย่าเพิ่งเข้าใจผิดเข้าใจผิดคิดว่ามใครมาตะโกนซ้ำๆ ว่าเป็นวันแรงงาน เนื่องจากคำว่า may day  ยังเป็นรหัสในการแจ้งเหตุร้าย ที่ใช้กันในระดับสากล ซึ่งมาจากคำว่า  M’aidez!  ในภาษาฝรั่งเศส ที่แปลว่า ช่วยฉันด้วย แต่เพี้ยนเป็น May day! ซึ่งในกรณีที่ต้องการจะใช้แจ้งเหตุนั้น จะต้องพูด may day  3 ครั้งด้วยกัน เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด และทำให้แตกต่างชัดเจนว่าต้องการความช่วยเหลือ

Avatar photo