COVID-19

‘สูงวัย’ ยังเสี่ยงสูง เสียชีวิตจากโควิด-19 แนะออกกำลังกายง่ายๆ 4 แบบที่บ้าน เสริมสุขภาพ

ยังต้องระวัง “ผู้สูงอายุ” เหตุกลุ่มเสี่ยง “เสียชีวิต” ช่วงวัย 60-69 ปี เสี่ยงสูงสุด  ยะลา-ภูเก็ต-ปัตตานี คนสูงวัยป่วยสูง ปัจจัยเสี่ยงหลัก “เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา” แนะออกกำลังกาย 4 แบบ เสริมสุขภาพ-ลดภาวะซึมเศร้า จากการกักตัวอยู่บ้านwoman 208723 640

เป็นที่ทราบว่า ในบรรดาผู้ป่วยโควิดทั้งหมด คนหนุ่มสาววัยทำงาน 20-29 ปี เป็นกลุ่มที่ป่วยสูงสุด 704 ราย (ณ วันที่ 29 เม.ย.) แต่ผู้เสียชีวิตสูงสุด ไปตกอยู่กับ “กลุ่มคนสูงอายุ”  โดยสถิติวันที่ 26 เมษายน มีผู้ป่วยช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป ป่วย 328 ราย เสียชีวิตถึง 21 ราย จากผู้เสียชีวิต 54 ราย (ณ วันที่ 29 เม.ย.)  เป็นชาวไทย 86% และต่างชาติ 14%

  • ช่วงอายุ 60-69 ปี สัดส่วน 66%
  • ช่วงอายุ 70-79 ปี สัดส่วน 26%
  • ช่วงอายุ 80-89 ปี สัดส่วน 7%
  • ช่วงอายุ 90-99 ปี สัดส่วน 1%

ปัจจัยเสี่ยง คือ

  • การเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา 79 ราย
  • เกี่ยวข้องกับมวย และผู้สัมผัส 78 ราย
  • สัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้า 58 ราย
  • ชาวต่างชาติเดินทางจากต่างประเทศ 31 ราย
  • อาชีพเสี่ยง และไปสถานบันเทิง 23 ราย
  • ชาวไทยเดินทางจากต่างประเทศ 22 ราย
  • อื่นๆ 35 ราย

โดย 3 จังหวัดที่มีผู้สูงอายุป่วยสูงสุด คือ ยะลา สัดส่วน 54.3% ภูเก็ต 33.7% ปัตตานี 22.3%  สำหรับ ยะลา และปัตตานีเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบพิธีทางศาสนาต่างประเทศ

28Apr สถานการณ์ผู้ป่วย60ปี 1

อย่างไรก็ตาม สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ แนะวิธีออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ ให้สุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยงจากโรคโควิด-19 และคลายเครียด ลดภาวะซึมเศร้าจากการกักตัวอยู๋บ้าน โดยให้ออกกำลังกายภายในบ้านง่ายๆ 4 แบบ ดังนี้

1. กิจวัตรประจำวันต่างๆ เช่น งานบ้าน กวาดถูบ้าน รดน้ำต้นไม้ กวาดใบไม้

2. กิจกรรมสันทนาการหรืองานอดิเรก เช่น การร้องเพลง เต้นรำ วาดภาพ ถ่ายรูป ปลูกต้นไม้

3. การออกกำลังกายง่ายๆ เช่น การเดินย้ำเท้าอยู่กับที่ เดินแกว่งแขนไปมา เล่นโยคะ การเต้นรำ

4. ใช้ social media ติดต่อกับเพื่อนหรือญาติ พี่ น้อง โดยไม่ต้องอยู่ใกล้ชิดกัน

วิธีออกกำลังกาย สำหรับผู้สูงอายุช่วงกักต

นพ.สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยสถาบันฯ แนะนำเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด โรคข้อเข่าเสื่อม ควรได้รับคำแนะนำหรืออยู่ในการดูแลของแพทย์

ทั้งนี้สถาบันฯแนะนำ ให้เริ่มด้วยการยืดเหยียด เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมและปรับตัว การออกกำลังต้องไม่หนักเกินไป โดยอาจสังเกตอาการ ที่บ่งบอกว่าออกกำลังกายหนักเกินไป เช่น เวียนศีรษะ ใจสั่น จุกเสียดแน่นหน้าอก ก่อนหยุดควรมีการเคลื่อนไหวเบาๆหลังการออกกำลังกาย

และต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 30 นาที เป็นประจำทุกวัน จะส่งผลดีต่อร่างกายหลายระบบ เช่น หัวใจ หลอดเลือด ฝึกการทรงตัวเพิ่มความแข็งของกล้ามเนื้อ ทำให้ลดความเสี่ยงการหกล้ม ลดการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรงลดโอกาสกระดูกหัก กระตุ้นการทำงานของลำไส้ลดอาการท้องอืดท้องผูก และยังทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขในช่วงกักตัวอยู่บ้านด้วย

 

Avatar photo