Business

เปิดภาพอนาคตประเทศไทย 4 ระยะ หลัง COVID-19 แนะ 5 ยุทธศาสตร์ฟื้นฟู

สอวช. ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดทำข้อมูลประเทศไทย 4 ระยะ หลังสถานการณ์ COVID-19 แนะ 5 ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและรับมือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา จัดทำข้อมูลประเทศไทย 4 ระยะภายหลังโควิด-19 พร้อมเสนอร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนประเทศหลังสถานการณ์คลี่คลาย

ภาพประเทศไทย 4 ระยะภายหลัง COVID-19 โดยแบ่งออกเป็น


สอวช 2

  • ระยะที่ 1 หรือ Restriction (เดือนที่ 1-6) ระยะพยายามควบคุมการแพร่ระบาดของโลก ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในระยะนี้ และกำลังจะเข้าสู่ระยะที่ 2
  • ระยะที่ 2 หรือ Reopening (เดือนที่ 7-12) ระยะผ่อนคลายการควบคุมและเริ่มกลับสู่การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
  • ระยะที่ 3 หรือ Recovery (เดือนที่ 13-18) ระยะการฟื้นตัวและปรับตัวภายหลังจากสถานการณ์คลี่คลาย
  • ระยะที่ 4 หรือ Restructuring (เดือนที่ 19-อนาคต 5 ปีข้างหน้า)

4 สถานการณ์ที่เป็นไปได้ หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19


สอวช 3

สถานการณ์ที่ 1 ควบคุมโรคได้เบ็ดเสร็จ และเศรษฐกิจฟื้นตัวแบบ V-Shape

สอวช 4

สถานการณ์ที่ 2 การระบาดกลับมารุนแรงจนควบคุมไม่ได้ เศรษฐกิจ สังคม Lock down ทั่วโลก

สอวช 5 1

สอวช 5 2

สถานการณ์ที่ 3 ควบคุมการระบาดได้ แต่ไม่สมบูรณ์ ผ่อนปรนมาตรการ Lock down เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างช้าๆ

สอวช 6

แนะ 5 ยุทธศาสตร์รับมืออนาคตหลัง COVID-19


TSNBg3wSBdng7ijM8G6qrKymotMNBIgynwPpEJKUkbF
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์

ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. เปิดเผยว่า จากการหารือกับผู้ทรงคุณวุฒิทุกสัปดาห์เพื่อเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูประเทศหลังวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 สอวช. และมูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา รวบรวมข้อมูล และข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อร่างประเด็นเชิงยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับประเทศในการฟื้นฟูและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

สอวช 7

ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ 


สอวช 8

1. Put Human Security First


สอวช 9

ปรับเปลี่ยน จาก ‘เศรษฐกิจ’ เป็นตัวตั้งไปสู่ ‘ความมั่นคงมนุษย์’ เป็นตัวตั้ง ผ่านการสร้างความมั่นคง 4 ด้าน คือ ความมั่นคงทางด้านอาหาร รับประกันการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ กระจายอย่างทั่วถึง และราคาที่เหมาะสมตั้งแต่ระดับครัวเรือนชุมชนถึงระดับประเทศ ความมั่นคงทางสุขภาพ ยกระดับและเพิ่มศักยภาพของระบบสาธารณสุขและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งส่งเสริมทักษะสุขภาพให้กับประชาชน ความมั่นคงทางพลังงาน จัดหาพลังงานให้มีอย่างเพียงพอ มุ่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริโภคพลังงาน และ ความมั่นคงทางอาชีพ เสริมสร้างทักษะให้คนวัยทำงาน ลงทุนสร้างตำแหน่งงานใหม่รองรับอนาคต และออกแบบระบบตาข่ายทางสังคมใหม่ให้รองรับแรงงานอิสระและนอกระบบ

2. Moving Beyond GDP


สอวช 10

สอวช 11

ปรับเปลี่ยน จากมุ่งเน้นการเติบโตของ ‘GDP’ ไปสู่ ‘Balanced Growth’ กล่าวคือ สร้างและพัฒนาชุดตัวชี้วัดใหม่ให้กับประเทศที่คำนึงถึงการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น SDGs ตลอดจนผลักดัน การขับเคลื่อนนโยบาย BCG Economy (Bio-Circular-Green Economy) พัฒนาระบบนิเวศเพื่อเข้าสู่การค้าทางดิจิทัลและสังคมไร้เงินสด ในด้านอุตสาหกรรมมุ่งเน้นเรื่อง High Value, High Production, Job Creation และ Smart & Appropriate Technology มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจท้องถิ่น และพัฒนาเครื่องยนต์ที่จะมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอนาคต

3. Reinventing in Education and Human Capital


สอวช 12

ยกระดับ คุณภาพการศึกษา และ ทุนมนุษย์ โดยการเพิ่มคุณภาพการศึกษา กระจายทั่วถึง ปรับโมเดลการเรียนรู้รองรับอนาคต สร้างความเข้มแข็งให้มหาวิทยาลัย การเรียนการสอนผสมออนไลน์ ออฟไลน์ และฝึกงาน การวิจัยและพัฒนา และการพัฒนาปัญญาให้ประเทศและชุมชน มุ่งให้เกิดการลงทุน Reskill, Upskill วัยทำงานให้ ตอบโจทย์อนาคต รวมถึงขับเคลื่อนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. Leaving No One Behind


สอวช 13

แก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำทุกมิติ ทั้งเรื่อง การแก้ไขความยากจนรายบุคคล สร้างศักยภาพให้คนยากจน เปลี่ยนคนด้อยโอกาสเป็นคนได้โอกาส ปรับระบบสวัสดิการใหม่ให้ครอบคลุม ใช้ Big Data ปรับใช้ UBI (Universal Basic Income) และ Targeting Welfare ตามความเหมาะสม โดยบัตรประชาชนใบเดียวควรตรวจสอบได้ทุกสิทธิ ตลอดจนมีการพัฒนาระบบช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉิน

5. Create Open & Resilient Society


สอวช14

สร้างสังคมเปิดและยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ผ่านการมีระบบข้อมูลเปิดและรัฐบาลที่โปร่งใส เปิดโอกาสให้ใช้พลังภูมิปัญญาทั้งสังคมพัฒนาชาติผ่าน Open Collaboration Platform สร้างความเข้มแข็งให้ PPP รวมถึง Social enterprise, Civil Society, จิตอาสา รวมถึงเตรียมระบบบริหารจัดการวิกฤตที่มีประสิทธิภาพ

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight