Business

แนวโน้มสินเชื่อบ้านปี61โต 6%กว่า 3.6ล้านล้าน

home loan2

สมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัย เผยแนวโน้มภาพรวมตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยปี 2561 คาดว่าจะยังคงเติบโตแต่เป็นอัตราการเติบโตในกรอบที่จำกัด โดยคาดว่าจะเติบโตประมาณ 6-7%  คาดการณ์ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของสถาบันการเงินในปี 2561 ไว้ที่ 3.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากยอด 3.4 ล้านล้านบาทในปี่ 2560 ซึ่งยอดรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวเพียง 6% ในขณะที่ปี 2559 ภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยขยายตัวที่ 7.6%  โดยเป็นการชะลอตัวทางธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิ จ (SFIs)

ภาพรวมสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 2560 ที่ชะลอตัวลง มีสาเหตุมาจากการชะลอตัวของกำลังซื้อ ซึ่งเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น จำนวนที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ยังอยู่ในภาวะที่ซบเซา แต่สวนทางกับสินเชื่อรายย่อยในภาพรวมที่ฟื้นตัวขึ้นได้เล็กน้อย ดังจะเห็นได้ว่าเงินให้กู้ยืมแห่งภาคครัวเรือน เร่งขึ้นจาก 3.4% ในปี 2559 มาที่ 4% ในปี 2560 เป็นไปตามแรงส่งสำคัญจากสินเชื่อเช่าซื้อ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการรถคันแรกที่ทยอยหมดอายุลง ทำให้มีการเปลี่ยนมือรถและความต้องการถใหม่เพิ่มขึ้น

ประเด็นการเปลี่ยนแปลงของตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยในปี 2560 จากข้อมูลศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปประเด็นสาระสำคัญดังนี้

*ผู้บริโภคชะลอการซื้อที่ดินเปล่าสำหรับไว้สร้างบ้าน หันไปนิยมการซื้อบ้านจัดสรรทำเลชานเมือง ทำให้ตลาดบ้านจัดสรรชานเมืองเติบโตขึ้นมาเล็กน้อย
*ความต้องการซื้อคอนโดมิเนียม ห้องชุด เริ่มชะลอตัวลง จากที่เคยขยายตัวสูงถึง 32.8% ในปี 2559 มาอยู่ที่ 12.1% ในปี 2560  ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายอาคารชุด ที่ให้ภาพอัตราการเติบโตจจากปีก่อนที่ชะลอตัวลงทั้งในเชิงจำนวนหน่วยและมูลค่า
*ความนิยมในอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวเพื่ออยู่อาศัยค่อนข้างทรงตัว ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อเพื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้ในปี 2560 ยังหดตัวจากปีก่อน
*พอร์ตสินเชื่อเส่วนใหญ่ หรือ 42.2% ยังอยู่ในช่วงวงเงิน 1-3 ล้านบาท ในปี 2560 ขณะท่หากถอยไปเปรียบเทียบกับสิ้นปี 2558 จะพบว่าสัดส่วนสินเชื่อวงเงินสูงในช่วง 3-5 ล้านบาท และสูงกว่า 5 ล้านบาท ขยับเพิ่มขึ้น สวนทางกับวงเงินต่ำกว่า 1 ล้านบาท ที่มียอดลดลง สอดคล้องกับทิศทางอุปทานอังหาริทรัพย์ที่เข้าสู่ตลาด ซึ่งในปี 2560 ที่ผ่านมาจะเน้นไปที่กลุ่มระดับปานกลางที่เป็นฐานกำลังซื้อใหญ่
*ธนาคารพาณิชย์ยังคงความสามารถในการแข่งขันที่ดีในสนามธุรกิจสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยสามารถเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในปี 2560 ขึ้นมาเป็น 60.4% จาก 59.1% ในปี 2555 ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดการเงินเฉพาะกิจ กลับลดลงจาก 40.7% ในปี 2555 มาเป็น 39.6% ในปี 2560

aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL21uLzAvdWQvNzcvMzg3MTg5L21vbmV5aHViMjcwNTU5LmpwZw

ในปี 2561 คาดว่า สถาบันการเงินจะยังคงระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ โดยเฉพาะระวังกับประเด็นปัญหาคุณภาพหนี้

เนื่องจากปี 2560 สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเป็นสินเชื่อกลุ่มเดียวของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ที่ยังปรากฎสัญญาณการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อเกิดรายได้ (NPL) แม้ว่าจะมีการบริหารจัดการหนี้เสีย ด้วยการทยอยตัดขายไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ในช่วงระหว่างปีแล้วก็ตาม โดยสัดส่วน NPL ที่เพิ่มขึ้นในปี 2560 มีแนวโน้มไปทางกลุ่มวงเงินสินเชื่อสูงตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไปมากว่าที่อยู่กับผู้กู้ที่เป็นผู้ประกอบการที่กำลังเผชิญปัญหาสภาพคล่องทางการธุรกิจ ดังจะเห็นได้จาก NPL ของสินเชื่อเอสเอ็มอี ที่อยู่ในช่วงขาขึ้นเช่นกันในช่วง ไตรมาส 4/2560 อยู่ที่ 4.37% ต่อสินเชื่อรวม เทียบกับ 4.35% ณ สิ้นปี 2559

ดังนั้นแม้ว่าปี 2561 เศรษฐกิจไทยยังมีแนวดน้มเติบโตจากปี 2560 แต่คาดว่าการฟื้นตัวอย่างทั่วถึงอาจยังต้องให้เวลา เช่นเดียวกับการฟื้นตัวของอำนาจซื้อในภาพรวมของประเทศ ที่ยังเผชิญแรงกดดันจากราคาสินค้าเกษตรหลักที่ผันผวน และมีโอกาสอ่อนตัวลงจากอุปสรค์ในประเทศที่ยังจำกัดและปริมาณผลผลิตที่เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ดังนั้นสถาบันการเงินจะยังคงนโยบายการปล่อยสินเชื่อในลักษณะที่ระมัดระวังต่อเนื่อง เพื่อประครองระดับ NPL ของพอร์ตสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยให้อยู่ในเป้าหมาย ทางกลางการแข่งขีนที่ยังรุนแรง

 

Avatar photo