Economics

เปิดสนามชิง Duty Free สุวรรณภูมิ ลุ้นกติกาประมูลธุรกิจหมื่นล้าน (1)

 S 8454180

สุวรรณภูมิ” สนามบินนานาชาติอันดับ 1 ของไทย ถูกออกแบบให้รองรับผู้โดยสารในระดับ 45 ล้านคนต่อปี แต่ขณะนี้จำนวนผู้เดินทางกลับพุ่งสูงถึง 62 ล้านคนต่อปีและยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความแออัดของสุวรรณภูมิในตอนนี้จึงเข้าขั้น “สนามบินแตก” และอาจส่งผลให้ความสะดวกสบายในการเดินทางลดลง

แต่อีกมุมหนึ่ง ปริมาณผู้โดยสารที่พุ่งกระฉูดกลับเป็นขุมทรัพย์ชั้นดี สำหรับธุรกิจค้าปลีกภายในสนามบิน โดยเฉพาะ “กิจการร้านค้าปลอดภาษีและอากร หรือ Duty Free”  ที่มีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาทต่อปี

การที่ “กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์” ได้สัมปทาน Duty Free ในสนามบินสุวรรณภูมิเพียงรายเดียว ตลอดระยะเวลา 11 ปีที่ผ่านมา จึงเปรียบเสมือนมีขุมทรัพย์ชั้นดีอยู่ในมือ แต่ตอนนี้ขุมทรัพย์ดังกล่าวกำลังนับถอยหลัง รอวันหมดอายุ เปิดโอกาสให้เกิดสนามแข่งขัน ชิงทำเลทองแห่งนี้อีกครั้ง

1200px Suvarnabhumi Airport tug of war art

 

14 ปีในมือ “คิง เพาเวอร์”

28 ก.ย. 2549 สนามบินสุวรรณภูมิเริ่มเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ โดยรัฐบาลตัดสินใจปิดสนามบินดอนเมือง แล้วย้ายสายการบินทั้งหมดไปที่สุวรรณภูมิ เพื่อให้เป็นสนามบินหลักเพียงแห่งเดียว

ด้านสัมปทานพื้นที่ Duty Free ในสนามบินสุวรรณภูมิ ถูกผูกเข้ากับสนามบินภูเก็ต เชียงใหม่ และหาดใหญ่ เป็นสัญญาเดียว มีอายุ 10 ปี โดยกลุ่ม คิง เพาเวอร์ เป็นผู้คว้าสัมปทาน Duty Free ฉบับนี้ไป   แต่ต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่

การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนv2 01

ก่อนหน้านี้  “นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.” ให้สัมภาษณ์ว่า กลุ่มคิง เพาเวอร์ ต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนรัฐอย่างต่ำ 15ต่อปีและได้ปฏิบัติตามตามเงื่อนไขอย่างเคร่งครัด

การจ่ายผลตอบแทนปีที่ 1-5 อยู่ที่ 15ของยอดขาย เริ่มจาก 1,200-1,600 ล้านบาทต่อปี  

การจ่ายผลตอบแทนปีที่ 6-10 ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 16%, 17%, 18%, 19%  และ 20% ของยอดขาย เริ่มจาก 1,800 – 2,500 ล้านบาทต่อปี

ต่อมาสัญญาฉบับนี้ได้รับการต่ออายุ 2 ครั้ง

  •  ครั้งแรกระหว่างปี 2560-2561 จากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ และกลุ่มพันธมิตรฯ ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ
  •  ครั้งที่ 2 ระหว่าง ปี 2562-2563 ด้วยเหตุผลเรื่องเศรษฐกิจโลกตกต่ำ รวมแล้วสัญญาอยู่ในมือกลุ่ม คิง เพาเวอร์ เป็นเวลาทั้งสิ้น 14 ปี

ไม่สวยหรู!! รายได้หมื่นล้านแต่กำไรแค่พันล้าน

สัมปทาน  Duty Free ในสนามบินของ ทอท. รวม 5 แห่ง ประกอบด้วย  สนามบินสุวรรณภูมิเชียงใหม่ภูเก็ต, หาดใหญ่ รวมถึงสนามบินดอนเมือง ที่แยกเป็นสัญญาอีกฉบับ สร้างรายได้ให้ กลุ่ม คิง เพาเวอร์ หลักหมื่นล้านต่อปี แต่กำไรมีเพียงหลักพันล้านบาทต่อปี

รายได้บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี 5 สนามบ

ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยผลประกอบการ 3 ปีย้อนหลังของ  “บริษัท คิง เพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี จำกัด”  หรือ “KPS”  บริษัทในเครือ คิง เพาเวอร์ กรุ๊ป ซึ่งดำเนินธุรกิจ Duty Free ในสนามบินทั้ง 5 แห่งข้างต้น

  • ปี 2558 รายได้รวม 33,034 ล้านบาท กำไรสุทธิ 2,984 ล้านบาท
  • ปี 2559 รายได้รวม 32,680 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,636 ล้านบาท
  • ปี 2560 รายได้รวม 35,633 ล้านบาท กำไรสุทธิ 1,838 ล้านบาท

ยังไม่นับรวมธุรกิจอื่นในเครือ คิง เพาเวอร์ ที่ได้รับประโยชน์จากสัมปทาน Duty Free ด้วย เช่น ธุรกิจร้านค้าจำหน่ายของฝาก ของที่ระลึก สินค้าปลอดภาษี

แต่ สัมปทาน Duty Free ในสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินภูมิภาคอีก 3 แห่ง กำลังจะหมดอายุลงในอีก 2 ปีข้างหน้า วันที่ 27 กันยายน 2563 เท่ากับเป็น การเปิดสนาม ให้ผู้ประกอบการเข้ามาชิงเค้กราคาหมื่นล้านชิ้นนี้อีกครั้ง ซึ่งบรรยากาศการแข่งขันก็ร้อนแรง ตั้งแต่การกำหนดกติกา

kingpowergroup svb 0

 

สารพัดข้อเสนอกติกาประมูลรอบใหม่ 

ช่วงที่ผ่านมา หลายฝ่ายได้ระดมเสนอความคิดเห็นเรื่องเงื่อนไขการประมูล (TOR) ผ่านสื่อมวลชน ความกดดันจึงตกไปอยู่ที่ทอท. ซึ่งต้องร่างทีโออาร์ ท่ามกลางสายตาของผู้เข้าแข่งขัน และผู้ชมบนสแตนด์ที่กำลังจับจ้องว่า กติกาที่คลอดออกมา จะเอื้อให้กับแชมป์เก่าหรือไม่

ประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงคือ การประมูล Duty Free รอบนี้จะแบ่งเป็นกี่สัญญา จะใช้โมเดลเดิมที่มีผู้รับสัมปทานรายใหญ่เพียงรายเดียว (Master Concession) หรือถูกแบ่งเป็นหลายสัญญา โดยบางฝ่ายเสนอให้แบ่งสัญญาสัมปทานตามพื้นที่ หรือหมวดหมู่สินค้า (Concession by Category) เช่น เครื่องสำอาง สินค้าแฟชั่น ฯลฯ เพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น

kingpower12

ต่อมาคือ เงื่อนไขการให้บริการส่งมอบสินค้าปลอดอากร (Pick Up Counter) ในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ  ซึ่งถูกจับตามองว่า จะแบ่งสัญญาอย่างไร  และมีเงื่อนไขการให้บริการเป็นอย่างไร  เนื่องจาก Pick Up Counter ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจ Duty Free ในตัวเมือง ที่มีมูลค่ามหาศาลไม่แพ้กัน

ที่ผ่านมา กลุ่ม คิง เพาเวอร์ ได้ใช้พื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิเป็น Pick Up Counter เพื่อส่งมอบสินค้าจากร้าน Duty Free ในตัวเมืองแต่เพียงรายเดียว โดย คิง เพาเวอร์ มีรายได้จากการทำธุรกิจ Duty Free ในตัวเมืองและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง มากกว่า 5 หมื่นล้านบาทต่อปี กำไรเกือบ 4 พันล้านบาทต่อปี สูงกว่าผลประกอบการ Duty Free ในสนามบินด้วยซ้ำ

นักลงทุนรายอื่นจึงเรียกร้องให้ ทอท. เปิดกว้าง ให้ Duty Free รายอื่นเข้าไปใช้ Pick Up Counter ในสนามบินสุวรรณภูมิด้วย และบางรายเห็นว่า ทอท. ควรบริหาร Pick Up Counter ด้วยตัวเองเพื่อความเป็นธรรม

King Power Lounge 01 1

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเด็น ที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นข้อเสนอเช่นกัน ได้แก่ อายุของสัญญาสัมปทานที่ควรลดลงจาก 10 ปี  การเพิ่มอัตราแบ่งรายได้เข้ารัฐ และแน่นอนว่า ต้องมีเรื่องเกณฑ์การให้คะแนนผู้แข่งขันด้วยเช่นกัน

ลุ้นเสนอทีโออาร์เข้าบอร์ดทอท.

ร่างทีโออาร์ที่อยู่ในมือ ทอท. จึงถูกสกรีนแล้ว สกรีนอีก และมีการแก้ไขหลายครั้ง โดยก่อนหน้านี้  “นิตินัย ศิริสมรรถการ” ให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมรับฟังความเห็นทุกฝ่ายและจะเร่งเปิดประมูลเพื่อให้ได้ตัวผู้ชนะภายในปีนี้

แต่ล่าสุด ทอท. ยังไม่มีความชัดเจนว่าะเสนอกติกาให้คณะกรรมการ (บอร์ด) พิจารณาเห็นชอบได้เมื่อใด

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight