Politics

‘หมอยง’ ให้ข้อมูล ‘โควิด-19’กับการตรวจภูมิต้านทาน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “โควิด 19 การตรวจภูมิต้านทาน” มีเนื้อหาดังนี้

โควิด 19 การตรวจภูมิต้านทาน

1. องค์การอนามัยโลกรายงานว่า การตรวจพบภูมิต้านทานไม่ได้เป็นเครื่องยืนยัน หรือเป็นใบเบิกทาง ถึงการป้องกันโรคที่จะไม่ให้เป็นซ้ำได้อีก

2. ภูมิต้านทานที่ตรวจ มีทั้ง IgG และ IgM กว่าจะขึ้นให้ตรวจพบได้ ต้องใช้เวลา 1-2 อาทิตย์หลังมีอาการ ระบบภูมิต้านทาน ไม่ใช่มีเพียงแค่ antibody ยังมีระบบอื่นร่วมด้วย ตามทฤษฎีของภูมิคุ้มกันวิทยาที่เป็นแบบแอนติบอดี้และอาศัยเซลล์

3. องค์การอนามัยโลกได้ทบทวนการสร้างภูมิคุ้มกัน บางคนสร้างได้สูง บางคนสร้างได้ต่ำ

safe image

4. จากการศึกษาในปัจจุบัน 24 april ยังไม่มีรายงานใดที่จะบอกได้ว่าการมีภูมิต้านทานจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำได้อีก

5. การตรวจภูมิต้านทานที่อยู่ในท้องตลาด จำนวนมากเป็น rapid test หรือตรวจได้อย่างรวดเร็ว จะต้องคำนึงถึง ความถูกต้องของการตรวจ มีทั้งผลบวก ปลอม และผล ลบปลอม ซึ่งจะสร้างความสับสนในการแปลผล

6. การตรวจภูมิต้านทาน ไม่สามารถเอามาใช้ในการวินิจฉัย การติดเชื้อของผู้ป่วยในระยะเริ่มแรกได้ ต้อง 1-2 อาทิตย์ไปแล้ว

7. การตรวจได้ผลลบ ไม่ได้บอกว่าผู้นั้นไม่มีการติดเชื้อ การตรวจหาเชื้อที่หลังโพรงจมูกยังเป็นวิธีมาตรฐาน ผู้ป่วยอาจจะติดเชื้อมีเชื้ออยู่แล้วแต่ภูมิต้านทานยังไม่ขึ้น ผู้ป่วยสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ในระยะนี้

8. การตรวจได้ผลบวก ก็ยังมีผลบวกปลอม เพราะยังมี coronavirus ตัวอื่นๆ อาจจะให้ผลบวกปลอม

หมอยง2

9. ในการระบาด ที่ นิวยอร์กพบว่าครึ่งหนึ่งเป็นแบบไม่มีอาการ และการตรวจเชื้อ จะพบได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการเมื่อติดตามแล้วมีจำนวนเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่มีอาการ และยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ (NEJM; April 24, 2020)

10. การตรวจกรองหาผู้ติดเชื้อ จึงควรใช้วิธีการตรวจหาเชื้อ มากกว่าที่จะใช้วิธีการตรวจหาภูมิต้านทาน

ขณะนี้มีการนำเอาการตรวจหาภูมิต้านทานไปตรวจตามโรงงาน เพื่อหาการติดเชื้อ จะไม่มีประโยชน์ในการค้นหาผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ เพื่อการควบคุมการแพร่กระจายของโรค โดยเฉพาะโรงงานหรือแหล่งชุมชน

11. การตรวจเกมรุกเพื่อหาผู้ติดเชื้อ และลดการแพร่กระจายเชื้อ จำเป็นจะต้องใช้วิธีตรวจหาเชื้อด้วยกระบวนการ PCR ถ้าบริหารจัดการให้ดี ในอนาคต ค่าตรวจควรจะลดลงได้มากกว่านี้มาก ประเทศไทยสามารถพัฒนาชุดตรวจได้เอง อย่างที่กรมวิทย์ทำ และ แทนที่จะตรวจ 2 gene ถ้าตรวจเกมรุกเป็นการตรวจกรอง อาจจะตรวจ gene เดียวก็พอ ถ้าให้ผลบวก แล้วจึงค่อยตรวจยืนยันอีกครั้งเหมือนการตรวจไวรัสตัวอื่นๆที่รู้จักดี เราก็ตรวจยีนส์เดียว โควิด 19 ปัจจุบันเป็นโรคที่รู้จักดีแล้วในการตรวจ

12. ข้อมูลรายละเอียด อ่านเพิ่มเติมได้จาก NEJM 24 April และ https://www.who.int/…/immunity-passports-in-the-context-of-…

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight